วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2562

'ทักษิณ'ยันนำหลักพุทธธรรมมาเป็นแนวทางในการใช้ชีวิต

 


เมื่อวันที่ 18 มีนาคม  นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้จัดรายการกู๊ด มันเดย์ (Good Monday) กับ ดร.ท้กษิณ ชินวัตร ซึ่งเป็นรายการที่จัดขึ้นทุกวันจันทร์ ตอนที่ 10 โดยครั้งนี้ใช้ชื่อหัวข้อ ถามตอบอนาคตประเทศไทย ตอนที่ 1 และ ตอนที่ 2 เป็นการตอบคำถามจากทางบ้านว่า ทำอย่างไรให้พัฒนาเศรษฐกิจดีขึ้นใน 1 ปี ด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ทุกภาคส่วน จัดการกระจายทรัพยากรใหม่ให้ทั่วถึง และบริหารจัดการเปิดเสรีภาพแบบยุคโลกาภิวัตน์

โดยช่วงท้ายของการจัดรายการครั้งนี้ นายทักษิณ ได้ตอบคำถามถึงแนวทางในการใช้ชีวิตและพัฒนาตัวเองเป็นยังไงบ้างว่า ผมเป็นคนพุทธ แต่จริงๆ แล้วหลักการทุกศาสนาเหมือนกันนะครับ สอนให้เป็นคนมีหลักมีเกณฑ์ เป็นคนดีนะครับ ก็ผมจะยึดหลักธรรมเยอะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนสมัยก่อนที่ผมจะเป็นนายกเนี่ย คณะลูกศิษย์พระพุทธทาสก็มาขอให้ผมไปพูดเรื่องพระพุทธทาสที่ข้าพเจ้ารู้จัก ตอนนั้นผมก็ได้ยินแต่ชื่อท่าน แต่ไม่รู้จักหลักธรรมที่ท่านสอน คณะลูกศิษย์ก็เลยเอาหนังสือพระพุทธทาสมาเป็นสิบๆ เล่มเลย ผมไปอยู่เมืองนอกช่วงนั้นก็ไปอ่าน ก็ต้องยอมรับว่าตอนแรกๆ อ่านยากไม่เข้าใจ ตอนหลังได้ความรู้เยอะมาก ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่มีปรัชญา ถ้าเราเข้าใจปรัชญา เราปรับใช้ในชีวิตได้เลย เพราะฉะนั้นหลักธรรมที่เป็นปรัชญาจะเป็นหัวใจสำคัญในการไกด์ใช้ชีวิตเราควบคุมชีวิตเรา ให้เรามีหลักมีเกณฑ์นะครับ

แล้วก็ผมเนี่ยเจอลีกวนยู ลีกวนยูมาเยี่ยมผมตอนผมเป็นนายก ผมก็ถามท่านว่าทำไมท่านถึงมีความรู้มากมายขนาดนี้ ท่านอ่านหนังสือเยอะเหรอ ท่านก็บอกว่าหนังสือก็อ่านอยู่หรอก แต่หนังสือมันเยอะเหลือเกิน อ่านไม่ทันหรอก มั้นต้องอาศัยว่าได้พบปะพูดคุยกับผู้คน ผู้คนแต่ละคนที่มาพบผมเนี่ยนะ ก็มีประสบการณ์ในชีวิตเป็นสิบๆ ปีมา บางทีบางครั้งเนี่ยมีประเด็นอะไรต่างๆ เราถามเขา ดูวิธีการที่เค้าตอบ เขารีแอคขึ้นมาเนี่ย มันทำให้เราเข้าใจอะไรเยอะขึ้น แล้วเราเรียนรู้จากคนอื่นที่เขามีประสบการณ์ทั้งชีวิตมาเนี่ย เป็นสิ่งที่ดีมาก เพราะฉะนั้น ผมก็หลักในการใช้ชีวิตผมก็คือ มีหลักปรัชญาตามคำสั่งสอนของศาสนาพุทธ ซึ่งศาสนาอื่นก็เหมือนกันนะครับมีปรัชญาหมดนะครับ แต่บังเอิญผมเป็นคนศาสนาพุทธผมก็เลยบอกว่าหลักปรัชญาศาสนาพุทธเนี่ยสำคัญ

เพราะฉะนั้นหลักของผมในชีวิตก็คือ 1.ยึดปรัชญาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า อันที่ 2.ก็คืออ่านหนังสือพูดคุยกับคน และอันที่ 3.ก็คือว่าเราจะต้องเข้าใจอดีต แต่ไม่อยู่กับอดีต อย่าหลงอดีต ถ้าคนหลงอดีตโตยาก  เพราะฉะนั้นเราจะต้องเข้าใจอดีตเพื่อเป็นบทเรียน

สุดท้ายคือผมต้องการมากที่สุดคือเวลามีคำถามอะไรต้องการคำตอบทางวิทยาศาสตร์ หรือ scientific answer ก็คือต้องมีการค้นคว้าหาข้อมูล มีการวิเคราะห์วิจัย ไม่ใช่ฟังเขามาเรื่อยเปื่อย หรือไม่ใช่เชื่อแบบนิยายปรัมปรา คือพระพุทธเจ้าก็สอนไว้ว่าหลักธรรม ท่านไม่ค่อยเล่นเรื่องของเครื่องรางของขลัง ท่านไม่ได้เล่น ท่านว่าแต่เรื่องของหลักธรรมเป็นปรัชญาอย่างเดียว ปรัชญาของท่านเป็นวิทยาศาสตร์ เพราะฉะนั้นก็หลักการการดำเนินชีวิตที่ดีก็คือ ยึดปรัชญาคำสั่งสอนของพระศาสดา ที่คุณนับถือ  แต่ไม่ใช่เป็นความงมงายลุ่มหลงสิ่งที่พิสูจน์ไม่ได้นะครับ แล้วก็ยึดหลักความสุขที่ถูกต้องก็คือให้คนรอบตัวเรามีความสุขกับเรานะครับ แล้วก็หมั่นเรียนรู้ เป็นโลกของ Lifelong Learning เพราะฉะนั้นก็หยุดเรียนรู้ไม่ได้ ถึงแม้จะจบปริญญาเอกมาก็ยังต้องอ่านหนังสือ หยุดเรียนรู้ไม่ได้ เป็นโลกของ Lifelong Learning ไม่งั้นก็ต้องขยันอ่าน ขยันพบกับผู้คน เพื่อที่แลกเปลี่ยนความรู้กัน ขยันไปดูนิทรรศการต่างๆ เพื่ออัพเดทตัวเอง แล้วเมื่อมีข้อสงสัยต้องหาคำตอบทางวิทยาศาสตร์ไม่ใช่จินตนาการนะครับ อันนี้ก็จะทำให้เราชีวิตเรามีความสุขได้ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ กิมพิลวรรค์ ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22

  วิเคราะห์ กิมพิลวรรค์ ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ปัญจมปัณณาสก์ บทคัดย่อ บทความนี้มุ่งเน้นว...