วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2568

วิเคราะห์ โลกสูตร

         ช่วยเขียนบทความทางวิชาการ เรื่อง "วิเคราะห์  โลกสูตร   ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่  17  ขุททกนิกาย   อิติวุตตกะ ติกนิบาต  ๔. จตุตถวรรค  ที่ประกอบด้วย 

 ๕. โลกสูตร

             [๒๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ เมื่ออุบัติขึ้นในโลก

ย่อมอุบัติขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อ

อนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์

ทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกเป็นไฉน

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตเสด็จอุบัติขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์

ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก

เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์

ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม พระตถาคตพระองค์นั้นทรง

แสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์

พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล

ที่ ๑ นี้ เมื่ออุบัติขึ้นในโลก ย่อมอุบัติขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อ

ความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล

เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ

             อีกประการหนึ่ง พระสาวกของพระศาสดาพระองค์นั้นแหละเป็นพระ

อรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว

มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะ

รู้โดยชอบ สาวกนั้นแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด

ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ดูกรภิกษุ

ทั้งหลาย แม้บุคคลที่ ๒ นี้ เมื่ออุบัติขึ้นในโลกย่อมอุบัติขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่ชน

เป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์

เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ

             อีกประการหนึ่ง พระสาวกของพระศาสดาพระองค์นั้นแหละ ยังเป็นผู้

ศึกษาปฏิบัติอยู่ มีพระปริยัติธรรมสดับมามาก ประกอบด้วยศีลและวัตร แม้พระ

สาวกนั้นก็แสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศ

พรหมจรรย์พร้อมอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ดูกรภิกษุทั้งหลาย

บุคคลที่ ๓ นี้ เมื่ออุบัติขึ้นในโลก อุบัติขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อ

ความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล

เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้

แล เมื่ออุบัติขึ้นในโลก ย่อมอุบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุข

แก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความ

สุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ

                          พระศาสดาแล ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ เป็นบุคคลที่ ๑ ในโลก

                          พระสาวกผู้เกิดตามพระศาสดานั้น ผู้มีตนอันอบรมแล้ว

                          ต่อมาพระสาวกอื่นอีกแม้ยังศึกษาปฏิบัติอยู่ ได้สดับมามาก

                          ประกอบด้วยศีลและวัตร บุคคล ๓ จำพวกเหล่านั้น เป็นผู้

                          ประเสริฐสุดในเทวดาและมนุษย์ บุคคล ๓ จำพวกเหล่า

                          นั้น ส่องแสงสว่าง แสดงธรรมอยู่ ย่อมเปิดประตูแห่ง

                          อมตนิพพาน ย่อมช่วยปลดเปลื้องชนเป็นอันมากจากโยคะ

                          ชนทั้งหลายผู้ปฏิบัติตามอริยมรรคที่พระศาสดาผู้นำพวก ผู้

                          ยอดเยี่ยมทรงแสดงดีแล้ว เป็นผู้ไม่ประมาทในศาสนา

                          ของพระสุคต ย่อมกระทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ในอัตภาพนี้

                          ได้แท้ ฯ


ในปริบทพุทธสันติวิธี: หลักธรรม ประยุกต์ใช้" โดยใช้สาระสำคัญของโลกสูตร ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่  17  ขุททกนิกาย  อิติวุตตกะ  ติกนิบาต   ๔. จตุตถวรรค

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ราหุลสูตร

       ช่วยเขียนบทความทางวิชาการ เรื่อง "วิเคราะห์   ราหุลสูตร   ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่  17  ขุททกนิกาย   อิติว...