ช่วยเขียนบทความทางวิชาการ เรื่อง "วิเคราะห์ สมณสูตร ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 17 ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ จตุกกนิบาต ที่ประกอบด้วย
๔. สมณสูตร
[๒๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อม
ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธ-
*คามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เราหายกย่องว่าเป็นสมณะในหมู่
สมณะหรือว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ไม่ และท่านเหล่านั้นหาได้ทำให้แจ้ง
ซึ่งผล คือ ความเป็นสมณะและผลคือความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองใน
ปัจจุบันเข้าถึงอยู่ไม่ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นแล เรายกย่องว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะและยก
ย่องว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ และท่านเหล่านั้นย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งผล
คือความเป็นสมณะ และผลคือความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งในปัจจุบัน
เข้าถึงอยู่ ฯ
สมณพราหมณ์เหล่าใด ไม่รู้ชัดซึ่งทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์
ธรรมชาติเป็นที่ดับทุกข์ ไม่มีส่วนเหลือโดยประการทั้งปวง
และไม่รู้ชัดซึ่งมรรคอันให้ถึงความสงบแห่งทุกข์ สมณ-
พราหมณ์เหล่านั้น เสื่อมแล้วจากเจโตวิมุติและจากปัญญาวิมุติ
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ สมณพราหมณ์เหล่านั้น
แล เป็นผู้เข้าถึงชาติและชรา ส่วนสมณพราหมณ์เหล่าใด
รู้ชัดซึ่งทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ธรรมชาติเป็นที่ดับแห่งทุกข์
ไม่มีส่วนเหลือโดยประการทั้งปวง และรู้ชัดซึ่งมรรคอันให้ถึง
ความสงบแห่งทุกข์ สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถึงพร้อมด้วย
เจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ เป็นผู้ควรเพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้ไม่เข้าถึงชาติและชรา ฯ
ในปริบทพุทธสันติวิธี: หลักธรรม ประยุกต์ใช้" โดยใช้สาระสำคัญของ สมณสูตรในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 17 ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ จตุกกนิบาต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น