วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2568

วิเคราะห์ สัททสูตร

 ช่วยเขียนบทความทางวิชาการ เรื่อง "วิเคราะห์   สัททสูตร   ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่  17  ขุททกนิกาย   อิติวุตตกะ ติกนิบาต  ๔. จตุตถวรรค  ที่ประกอบด้วย 

 ๓. สัททสูตร

             [๒๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เสียง  (ที่เกิดขึ้นเพราะปีติ) ของเทวดา

๓ อย่างนี้ ย่อมเปล่งออกไปในเหล่าเทวดาเพราะอาศัยสมัยแต่สมัย ๓ อย่าง

เป็นไฉน

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยใด พระอริยสาวกย่อมคิดเพื่อจะปลงผม

และหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิต ในสมัยนั้น เสียงของ

เทวดาย่อมเปล่งออกไปในเหล่าเทวดาว่า พระอริยสาวกนี้ย่อมคิดเพื่อทำสงคราม

กับมาร ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเสียงของเทวดาข้อที่ ๑ ย่อมเปล่งออกไปใน

เหล่าเทวดาเพราะอาศัยสมัยแต่สมัย ฯ

             อีกประการหนึ่ง ในสมัยใด พระอริยสาวกประกอบความเพียรในการ

เจริญโพธิปักขิยธรรม ๗ ประการ ในสมัยนั้น เสียงของเทวดาย่อมเปล่งออกไป

ในเหล่าเทวดาว่า พระอริยสาวกนั้นทำสงครามกับมาร ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น

เสียงของเทวดา ข้อที่ ๒ ย่อมเปล่งออกไปในเหล่าเทวดาเพราะอาศัยสมัยแต่สมัย

             อีกประการหนึ่ง ในสมัยใด พระอริยสาวกกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ

ปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง

ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ในสมัยนั้น เสียงของเทวดาย่อมเปล่งออกไปในเหล่าเทวดา

ว่า พระอริยสาวกนี้พิชิตสงคราม ชนะแดนแห่งสงครามนั้นแล้วครอบครองอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเสียงของเทวดาข้อที่ ๓ ย่อมเปล่งออกไปในเหล่าเทวดา

เพราะอาศัยสมัยแต่สมัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เสียงของเทวดา ๓ ประการนี้แล

ย่อมเปล่งออกไปในเหล่าเทวดาเพราะอาศัยสมัยแต่สมัย ฯ

                          แม้เทวดาทั้งหลาย เห็นสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

                          ผู้ชนะสงครามแล้ว เป็นผู้ใหญ่ ปราศจากความครั่นคร้าม

                          ย่อมนอบน้อมด้วยคำว่า ข้าแต่ท่านบุรุษอาชาไนย ขอ

                          นอบน้อมแด่ท่านผู้ครอบงำกิเลสที่เอาชนะได้ยาก ชนะเสนา

                          แห่งมัจจุ ผู้กางกั้นไว้มิได้ด้วยวิโมกข์เทวดาทั้งหลาย ย่อม

                          นอบน้อมพระขีณาสพผู้มีอรหัตผลอันบรรลุแล้วนี้ ด้วย

                          ประการฉะนี้ เพราะเทวดาทั้งหลายไม่เห็นเหตุแม้มีประมาณ

                          น้อย ของพระขีณาสพผู้เป็นบุรุษอาชาไนยนั้นอันเป็นเหตุ

                          ให้ท่านเข้าถึงอำนาจของมัจจุได้ ฉะนั้น จึงพากันนอบน้อม

                          พระขีณาสพนั้น ฯ


ในปริบทพุทธสันติวิธี: หลักธรรม ประยุกต์ใช้" โดยใช้สาระสำคัญของ  สัททสูตร ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่  17  ขุททกนิกาย  อิติวุตตกะ  ติกนิบาต   ๔. จตุตถวรรค



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ราหุลสูตร

       ช่วยเขียนบทความทางวิชาการ เรื่อง "วิเคราะห์   ราหุลสูตร   ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่  17  ขุททกนิกาย   อิติว...