ช่วยเขียนบทความทางวิชาการ เรื่อง "วิเคราะห์ ชีวิตสูตร ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 17 ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ติกนิบาต ๕. ปัญจมวรรค ที่ประกอบด้วย
๒. ชีวิตสูตร
[๒๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอยู่เพราะการแสวงหาก้อนข้าวนี้
เป็นกรรมที่ลามกของบุคคลผู้เป็นอยู่ทั้งหลาย บุคคลผู้ด่าย่อมด่าว่า ท่านผู้นี้มีบาตร
ในมือ ย่อมเที่ยวแสวงหาก้อนข้าวในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กุลบุตรทั้งหลาย
เป็นผู้เป็นไปในอำนาจแห่งเหตุ อาศัยอำนาจแห่งเหตุ ไม่ได้ถูกพระราชาทรงให้
นำไปจองจำไว้เลย ไม่ได้ถูกพวกโจรนำไปกักขังไว้ ไม่ได้เป็นหนี้ ไม่ได้ตกอยู่
ในภัย เป็นผู้มีความเป็นอยู่เป็นปรกติ ย่อมเข้าถึงความเป็นอยู่ด้วยการแสวงหา
ก้อนข้าวนั้น ด้วยคิดว่า ก็แม้พวกเราแล เป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว ถูกทุกข์ติดตามแล้ว ถูกทุกข์
ครอบงำแล้ว แม้ไฉน การกระทำซึ่งที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏ ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ก็กุลบุตรผู้บวชแล้วอย่างนี้ เป็นผู้มีอภิชฌามาก มีความกำหนัด
อันแรงกล้าในกามทั้งหลาย มีจิตพยาบาท มีความดำริแห่งใจชั่วร้าย มีสติ
หลงลืม ไม่รู้สึกตัว มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิด ไม่สำรวมอินทรีย์ เรา
กล่าวบุคคลนี้ว่า มีอุปมาเหมือนดุ้นฟืนในที่เผาผี ที่ไฟติดทั่วแล้วทั้งสองข้าง ตรง
กลาง เปื้อนคูถ จะใช้ประโยชน์เป็นฟืนในบ้าน ในป่า ก็ไม่สำเร็จฉะนั้น
บุคคลนี้เสื่อมแล้วจากโภคะแห่งคฤหัสถ์ และไม่ยังผลแห่งความเป็นสมณะให้
บริบูรณ์ได้ ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาค
ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
บุคคลผู้มีส่วนชั่ว เสื่อมแล้วจากโภคะแห่งคฤหัสถ์ ย่อม
ขจัดผลแห่งความเป็นสมณะให้กระจัดกระจายไป เหมือน
ดุ้นฟืนในที่เผาผีฉิบหายไปอยู่ ฉะนั้น ก้อนเหล็กร้อนเปรียบ
ด้วยเปลวไฟ อันบุคคลบริโภคแล้ว ยังจะดีกว่า บุคคลผู้
ทุศีล ผู้ไม่สำรวม พึงบริโภคก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้น
จะดีอะไร ฯ
ในปริบทพุทธสันติวิธี: หลักธรรม ประยุกต์ใช้" โดยใช้สาระสำคัญของ ชีวิตสูตร ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 17 ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ติกนิบาต ๕. ปัญจมวรรค
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น