วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2568

วิเคราะห์ ธรรมจริยสูตร ประพฤติธรรมพรหมจรรย์

         ช่วยเขียนบทความทางวิชาการ เรื่อง "วิเคราะห์    ธรรมจริยสูตร      ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่  17  ขุททกนิกาย   อิติวุตตกะ สุตตนิบาต  ๒. จูฬวรรค ที่ประกอบด้วย 

 ธรรมจริยสูตรที่ ๖

             [๓๒๑] พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวความประพฤติทั้งที่เป็นโลกิยและ

                          โลกุตระทั้งสองนี้ คือ ความประพฤติธรรม พรหมจรรย์

                          ว่าเป็น (แก้วอันสูงสุด) ธรรมเครื่องอยู่อันสูงสุด ถึงแม้

                          บุคคลออกบวชเป็นบรรพชิต ถ้าบุคคลนั้นเป็นชาติปากกล้า

                          ยินดีแล้วในความเบียดเบียนดุจเนื้อไซร้ ความเป็นอยู่ของ

                          บุคคลนั้นเลวทราม ย่อมยังกิเลสธุลีมีราคะเป็นต้นของตนให้

                          เจริญ ภิกษุผู้ยินดีแล้วในความทะเลาะ ถูกธรรมคือโมหะ

                          หุ้มห่อแล้ว ย่อมไม่รู้ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว แม้

                          อันเหล่าภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักบอกแล้ว ภิกษุผู้ถูกอวิชชา

                          หุ้มห่อแล้ว ทำตนที่อบรมแล้วให้ลำบากอยู่ ย่อมไม่รู้ความ

                          เศร้าหมอง ย่อมไม่รู้ทางอันให้ถึงนรก เมื่อไม่รู้ก็เข้าถึง

                          วินิบาต เข้าถึงครรภ์จากครรภ์ เข้าถึงที่มืดจากที่มืด ภิกษุผู้

                          เช่นนั้นแล ละไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความทุกข์ ก็บุคคลใดผู้

                          มีการงานเศร้าหมองเห็นปานนี้ตลอดกาลนาน พึงเป็นผู้เต็ม

                          แล้วด้วยบาป เหมือนหลุมคูถที่เต็มอยู่นานปี พึงเป็นหลุม

                          เต็มด้วยคูถ ฉะนั้น บุคคลนั้นเป็นผู้มีกิเลสเครื่องยียวน

                          หมดจดได้โดยยาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงรู้จัก

                          บุคคลผู้อาศัยเรือน ผู้มีความปรารถนาลามก ผู้มีความดำริ

                          ลามก ผู้มีอาจาระและโคจรลามกเห็นปานนี้ เธอทั้งปวงพึง

                          เป็นผู้พร้อมเพรียงกันเว้นบุคคลนั้นเสีย จงกำจัดบุคคลผู้เป็น

                          เพียงดังแกลบ จงคร่าบุคคลผู้เป็นเพียงดังหยากเยื่อออกเสีย

                          แต่นั้นจงขับบุคคลลีบผู้ไม่ใช่สมณะแต่มีความสำคัญว่าเป็น

                          สมณะไปเสีย ครั้นกำจัดบุคคลผู้มีความปรารถนาลามก มี

                          อาจาระและโคจรลามกออกไปแล้ว เธอทั้งหลายผู้บริสุทธิ์

                          แล้ว มีความเคารพกันและกัน จงสำเร็จการอยู่ร่วมด้วย

                          บุคคลผู้บริสุทธิ์ทั้งหลาย แต่นั้น เธอทั้งหลายผู้พร้อมเพรียง

                          กัน มีปัญญาเครื่องรักษาตน จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ฯ



ในปริบทพุทธสันติวิธี: หลักธรรม ประยุกต์ใช้" โดยใช้สาระสำคัญของ   ธรรมจริยสูตร  ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่  17  ขุททกนิกาย  อิติวุตตกะ    สุตตนิบาต   ๒. จูฬวรรค 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ราหุลสูตร

       ช่วยเขียนบทความทางวิชาการ เรื่อง "วิเคราะห์   ราหุลสูตร   ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่  17  ขุททกนิกาย   อิติว...