ช่วยเขียนบทความทางวิชาการ เรื่อง "วิเคราะห์ พราหมณสูตร ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 17 ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ จตุกกนิบาต ที่ประกอบด้วย
อิติวุตตกะ จตุกกนิบาต
๑. พราหมณสูตร
[๒๘๐] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้มี
พระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเป็นพราหมณ์ผู้ควรด้วยการขอ มีมืออันล้างแล้วทุกเมื่อ ทรง
ไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด เป็นหมอผ่าตัดกิเลส เธอทั้งหลายเป็นบุตรผู้เนื่องใน
อกเรา เกิดแต่ปาก เกิดแต่ธรรม อันธรรมนิรมิตแล้ว เป็นทายาทแห่งธรรม ไม่
เป็นทายาทแห่งอามิส ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทาน ๒ อย่างนี้ คือ อามิสทาน ๑
ธรรมทาน ๑ บรรดาทาน ๒ อย่างนี้ ธรรมทานเป็นเลิศ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
การแจกจ่าย ๒ อย่างนี้ คือ การแจกจ่ายอามิส ๑ การแจกจ่ายธรรม ๑ บรรดา
การแจกจ่าย ๒ อย่างนี้ การแจกจ่ายธรรมเป็นเลิศ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การ
อนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้ คือ การอนุเคราะห์ด้วยอามิส ๑ การอนุเคราะห์ด้วย
ธรรม ๑ บรรดาการอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้ การอนุเคราะห์ด้วยธรรมเป็นเลิศ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบูชา ๒ อย่างนี้ คือ การบูชาด้วยอามิส ๑ การบูชา
ด้วยธรรม ๑ บรรดาการบูชา ๒ อย่างนี้ การบูชาด้วยธรรมเป็นเลิศ ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาค
ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
สัตว์ทั้งหลายย่อมนอบน้อมพระตถาคตผู้ได้บูชาธรรม ผู้ไม่มี
ความตระหนี่ ผู้มีปรกติอนุเคราะห์สัตว์ทุกหมู่เหล่า ผู้
ประเสริฐสุดในเทวดาและมนุษย์ ผู้ถึงฝั่งแห่งภพเช่นนั้น ฯ
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว
ฉะนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๑
ในปริบทพุทธสันติวิธี: หลักธรรม ประยุกต์ใช้" โดยใช้สาระสำคัญของ พราหมณสูตร ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 17 ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ จตุกกนิบาต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น