ช่วยเขียนบทความทางวิชาการ เรื่อง "วิเคราะห์ ปริหานสูตร ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 17 ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ติกนิบาต ๓. ตติยวรรค ที่ประกอบด้วย
๑๐. ปริหานสูตร
[๒๕๗] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้นข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ
๓ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เสขะในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มี
การงานเป็นที่มายินดี ยินดีในการงาน ขวนขวายในความเป็นผู้มีการงานเป็นที่มา
ยินดี ๑ เป็นผู้ชอบคุย ยินดีในการคุย ขวนขวายในความเป็นผู้ชอบคุย ๑
เป็นผู้ชอบหลับ ยินดีในการหลับ ขวนขวายในความเป็นผู้ชอบหลับ ๑ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อม
แก่ภิกษุผู้เสขะ ๓ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เสขะในธรรมวินัยนี้
ไม่เป็นผู้มีการงานเป็นที่มายินดี ไม่ยินดีในการงาน ไม่ขวนขวายในความเป็นผู้มี
การงานเป็นที่มายินดี ๑ ไม่ชอบคุย ไม่ยินดีในการคุย ไม่ขวนขวายในความเป็น
ผู้ชอบคุย ๑ ไม่ชอบหลับ ไม่ยินดีในการหลับ ไม่ขวนขวายในความเป็นผู้ชอบ
หลับ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อม
แก่ภิกษุผู้เสขะ ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาค
ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ภิกษุผู้มีการงานเป็นที่มายินดี ยินดีในการคุย ชอบหลับและ
ฟุ้งซ่าน ผู้เช่นนั้นไม่ควรเพื่อบรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด
เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุพึงเป็นผู้มีกิจน้อย เว้นจากความหลับ
ไม่ฟุ้งซ่าน ภิกษุผู้เช่นนั้นควรเพื่อบรรลุสัมโพธิญาณ
อันสูงสุด ฯ
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว
ฉะนี้แล ฯ
ในปริบทพุทธสันติวิธี: หลักธรรม ประยุกต์ใช้" โดยใช้สาระสำคัญของ ปริหานสูตร ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 17 ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ติกนิบาต ๓. ตติยวรรค
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น