ช่วยเขียนบทความทางวิชาการ เรื่อง "วิเคราะห์ สูจิโลมสูตร ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 17 ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ สุตตนิบาต ๒. จูฬวรรค ที่ประกอบด้วย
สูจิโลมสูตรที่ ๕
[๓๑๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่บน (แท่นหิน) เตียงมีแม่แคร่
ในที่อยู่ของสูจิโลมยักษ์ ใกล้ (เท่า) บ้านคยา ก็สมัยนั้นแล ขรยักษ์และ
สูจิโลมยักษ์เดินผ่านไปในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ลำดับนั้น ขรยักษ์ได้กล่าว
กะสูจิโลมยักษ์ว่า นั่นสมณะ สูจิโลมยักษ์ได้กล่าวกะขรยักษ์ว่า นั่นไม่ใช่สมณะ
นั่นเป็นสมณะเทียม เราทราบชัดว่าสมณะหรือสมณะเทียมเพียงไร ลำดับนั้น
สูจิโลมยักษ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วน้อมกายของตนเข้าไป
ใกล้พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคทรงเบนกาย (ของสูจิโลมยักษ์) ออกไป
สูจิโลมยักษ์ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ท่านกลัวข้าพเจ้าหรือสมณะ พระผู้มี-
*พระภาคตรัสว่า เราไม่กลัวท่านดอกผู้มีอายุ แต่สัมผัสของท่านลามก ฯ
สู. ดูกรสมณะ ข้าพเจ้าจักถามปัญหากะท่าน ถ้าท่านไม่พยากรณ์ไซร้
ข้าพเจ้าจักควักดวงจิตของท่านออกโยนทิ้งเสียหรือจักฉีกหทัยของท่านเสีย หรือจัก
จับที่เท้าทั้งสองแล้วขว้างไป ในแม่น้ำคงคาฝั่งโน้น ฯ
พ. เราไม่เห็นบุคคลในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ใน
หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ผู้ซึ่งจะควักดวงจิตของเราออก
โยนทิ้ง หรือจะฉีกหทัยของเราเสีย หรือจะจับที่เท้าทั้งสองแล้วขว้างไปในแม่น้ำ
คงคาฝั่งโน้น ผู้มีอายุ ก็แลท่านปรารถนาจะถามปัญหาข้อใด ก็จงถามเถิด ฯ
ลำดับนั้นแล สูจิโลมยักษ์ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
[๓๒๐] ราคะและโทสะมีอะไรเป็นเหตุเกิด ความไม่ยินดี ความ
ยินดี ขนลุกขนพอง เกิดแต่อะไร วิตกทั้งหลายเกิดแต่อะไร
แล้วจึงปล่อยลงไปหาใจที่เป็นกุศล เหมือนพวกเด็กน้อยเอา
ด้ายผูกตีนกาแล้วปล่อยลงไป ฉะนั้น ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบด้วยพระคาถาว่า
ราคะและโทสะมีอัตภาพเป็นเหตุเกิด ความไม่ยินดี ความ
ยินดี ขนลุกขนพอง เกิดแต่อัตภาพนี้ วิตกทั้งหลายเกิดแต่
อัตภาพนี้แล้วปล่อยลงไปหาใจที่เป็นกุศล เหมือนพวกเด็ก
น้อยเอาด้ายผูกตีนกาแล้วปล่อยลงไป ฉะนั้นกิเลสทั้งหลาย
มีราคะเป็นต้น เกิดแต่ความเยื่อใย เกิดในตน เหมือน
ย่านไทรเกิดแต่ต้นไทร ฉะนั้น กิเลสเป็นอันมาก ซ่านไป
แล้วในกามทั้งหลาย เหมือนเถาย่านทรายรึงรัดไปแล้วในป่า
สัตว์เหล่าใด ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่กิเลสนั้นว่ามีกิเลสใดเป็นเหตุ
สัตว์เหล่านั้นย่อมบรรเทาซึ่งหมู่กิเลสนั้นได้ ท่านจงฟังเถิด
ยักษ์ สัตว์เหล่าใดย่อมบรรเทาซึ่งหมู่กิเลสได้ สัตว์เหล่านั้น
ย่อมข้ามพ้นซึ่งโอฆะอันข้ามได้โดยยาก ที่ยังไม่เคยข้ามแล้ว
เพื่อความไม่เกิดอีก ฯ
ในปริบทพุทธสันติวิธี: หลักธรรม ประยุกต์ใช้" โดยใช้สาระสำคัญของ สูจิโลมสูตร ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 17 ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ สุตตนิบาต ๒. จูฬวรรค
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น