ช่วยเขียนบทความทางวิชาการ เรื่อง "วิเคราะห์ พราหมณธรรมิกสูตร ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 17 ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ สุตตนิบาต ๒. จูฬวรรค ที่ประกอบด้วย
พราหมณธรรมิกสูตรที่ ๗
[๓๒๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พราหมณ์มหาศาลชาว
แคว้นโกศลเป็นอันมาก ผู้แก่เฒ่าเป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับ เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่าน
การปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วทูลถาม
พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บัดนี้ พวกพราหมณ์ย่อมปรากฏใน
พราหมณธรรมของพวกพราหมณ์เก่าหรือ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์
ทั้งหลาย บัดนี้ พวกพราหมณ์หาปรากฏในพราหมณธรรมของพวกพราหมณ์
เก่าไม่ ฯ
พ. ขอประทานพระวโรกาส ขอท่านพระโคดมโปรดตรัสพราหมณธรรม
ของพวกพราหมณ์เก่า แก่ข้าพระองค์ทั้งหลายเถิด ถ้าท่านพระโคดมไม่มีความหนัก
พระทัย ฯ
ภ. ดูกรพราหมณ์ทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลายจงตั้งใจ จงใส่ใจ
ให้ดี เราจักกล่าว ฯ
พราหมณ์มหาศาลเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาค
ได้ตรัสคาถาประพันธ์นี้ว่า
[๓๒๓] ฤาษีทั้งหลายมีในครั้งก่อน สำรวมตน มีตบะละเบญจกาม-
คุณแล้ว ได้ประพฤติประโยชน์ของตนๆ พวกพราหมณ์
แต่เก่าก่อนไม่มีสัตว์เลี้ยง ไม่มีเงิน ไม่มีสิ่งของต่างๆ
พราหมณ์เหล่านั้น มีทรัพย์และข้าวเปลือกอันเป็นส่วนแห่ง
การสาธยายมนต์ ได้รักษาขุมทรัพย์อันประเสริฐไว้ ภัตที่
ประตูเรือนทายกทั้งหลาย เริ่มทำตั้งไว้แล้วเพื่อพราหมณ์เหล่า
นั้น ทายกทั้งหลายได้สำคัญภัตนั้นว่า เป็นของที่ตนควรให้
แก่พราหมณ์เหล่านั้น ผู้แสวงหาภัตที่เริ่มทำไว้แล้วด้วย
ศรัทธา ชาวชนบท ชาวแว่นแคว้น ผู้มั่งคั่งด้วยผ้าที่ย้อม
ด้วยสีต่างๆ และด้วยที่นอนและที่อยู่ ได้นอบน้อมพราหมณ์
เหล่านั้น พราหมณ์ทั้งหลายผู้อันธรรมรักษาแล้ว ใครๆ ไม่
พึงฆ่า ไม่พึงชนะ ใครๆ ไม่ห้ามพราหมณ์เหล่านั้น ที่
ประตูแห่งสกุลทั้งหลาย โดยประการทั้งปวง พราหมณ์เหล่า
นั้นประพฤติพรหมจรรย์ตั้งแต่เป็นเด็กมาตลอดเวลาสี่สิบแปด
ปี ได้เที่ยวไปแสวงหาวิชชาและจรณะในกาลก่อน พราหมณ์
เหล่านั้นไม่ไปหาหญิงอื่น ทั้งไม่ซื้อภรรยา อยู่ร่วมกันเพราะ
ความรัก ชอบใจเสมอกันเท่านั้น พราหมณ์ผู้เป็นสามี ย่อม
ไม่ร่วมกับภรรยาผู้เว้นจากฤดู นอกจากสมัยที่ควรจะร่วม
พราหมณ์ย่อมไม่ร่วมเมถุนธรรมในระหว่างโดยแท้ พราหมณ์
ทั้งหลายสรรเสริญพรหมจรรย์ ศีล ความเป็นผู้ซื่อตรง ความ
อ่อนโยน ตบะความสงบเสงี่ยม และความไม่เบียดเบียน และ
แม้ความอดทน พราหมณ์ผู้เสมอด้วยพรหม ผู้มีความบาก
บั่นมั่นคง เป็นผู้สูงสุดกว่าพราหมณ์เหล่านั้น และพราหมณ์
นั้นย่อมไม่เสพเมถุนธรรมโดยที่สุดความฝัน พราหมณ์บาง
พวก ผู้มีชาติแห่งบุคคลผู้รู้แจ้งในโลกนี้ศึกษาตามวัตรของ
พราหมณ์ผู้เสมอด้วยพรหมนั้นอยู่ ได้สรรเสริญพรหมจรรย์
ศีลและแม้ขันติ พราหมณ์ทั้งหลายขอข้าวสาร ที่นอน ผ้า
เนยใสและน้ำมัน แล้วรวบรวมไว้โดยธรรม ได้กระทำยัญ คือ
ทานแต่วัตถุ มีข้าวสารเป็นต้นที่เขาให้แล้วนั้น ในยัญที่ตน
ตั้งไว้ พราหมณ์เหล่านั้นไม่ฆ่าแม่โคเลย มารดา บิดา พี่น้อง
ชายหรือญาติเหล่าอื่น มิตรผู้ยิ่งใหญ่ ไม่ฆ่าแม่โค ซึ่งเป็นที่เกิด
แห่งปัญจโครสอันเป็นยา ฉันใด แม่โคเหล่านี้ให้ข้าว ให้
กำลัง ให้วรรณะ และให้ความสุข พราหมณ์เหล่านั้น
ทราบอำนาจประโยชน์นี้แล้ว จึงไม่ฆ่าแม่โคเลย ฉันนั้น
พราหมณ์ทั้งหลายผู้ละเอียดอ่อน มีร่างกายใหญ่ มีวรรณะ
มียศ ขวนขวายในกิจน้อยใหญ่ โดยธรรมของตน ได้
ประพฤติแล้วด้วยข้อปฏิบัติอันเป็นเหตุให้หมู่สัตว์นี้ถึงความ
สุขในโลก ความวิปลาสได้มีแก่พราหมณ์เหล่านั้น เพราะ
ได้เห็นกามสุขอัน (ลามก) น้อย ที่เกิดขึ้นจากกามคุณ
อันเป็นของ (ลามก) น้อย พราหมณ์ทั้งหลายได้
ปรารถนาเพ่งเล็งสมบัติของพระราชา เหล่านารีที่ประดับ
ดีแล้ว รถเทียมด้วยม้าอาชาไนย ที่สร้างตกแต่งไว้เป็นอย่างดี
มีการขลิบอันวิจิตร พื้นที่เรือน เรือนที่สร้างกั้นเป็นห้องๆ
และโภคสมบัติซึ่งเป็นของมนุษย์อันโอฬาร เกลื่อนกล่นไป
ด้วยฝูงโค ประกอบไปด้วยหมู่นารีผู้ประเสริฐ พราหมณ์
เหล่านั้นผูกมนต์ในที่นั้นแล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระเจ้าโอกกาก-
ราชในกาลนั้นกราบทูลว่า พระองค์มีทรัพย์และข้าวเปลือก
มากมาย ขอเชิญพระองค์ทรงบูชายัญเถิด พระราชทรัพย์
เครื่องปลื้มใจของพระองค์มีมาก ลำดับนั้นแล พราหมณ์
ทั้งหลายยังพระราชาผู้ประเสริฐ ให้ทรงยินยอมบูชายัญ
อัสสเมธะ ปุริสเมธะ (สัมมาปาสะ) วาชเปยยะ นิรัคคฬะ
พระราชาทรงบูชายัญเหล่านี้แล้ว ได้พระราชาทานทรัพย์แก่
พราหมณ์ทั้งหลาย คือ แม่โค ที่นอน ผ้า เหล่านารีที่
ประดับดีแล้ว รถเทียมด้วยม้าอาชาไนย ที่สร้างตกแต่งไว้
เป็นอย่างดี มีการขลิบอันวิจิตร รับสั่งให้เอาธัญชาติต่างๆ
บรรจุเรือนที่น่ารื่นรมย์ อันกั้นไว้เป็นห้องๆ จนเต็มทุกห้อง
แล้วได้พระราชทานทรัพย์แก่พราหมณ์ทั้งหลาย ก็พราหมณ์
เหล่านั้นได้ทรัพย์ในที่นั้นแล้ว ชอบใจการสั่งสมเสมอ
ตัณหาย่อมเจริญยิ่งแก่พราหมณ์เหล่านั้น ผู้มีความปรารถนา
อันหยั่งลงแล้ว พราหมณ์เหล่านั้นผูกมนต์ในที่นั้นแล้ว ได้
เข้าเฝ้าพระเจ้าโอกกากราชอีก กราบทูลว่า แม่โคทั้งหลาย
เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์สำหรับรับใช้ในสรรพกิจของมนุษย์
เหมือนน้ำ แผ่นดิน เงิน ทรัพย์ และข้าวเหนียว ฉะนั้น
เพราะว่าน้ำเป็นต้นนั้นเป็นเครื่องใช้ของสัตว์ทั้งหลาย ขอ
พระองค์ทรงบูชายัญเถิด ราชสมบัติของพระองค์มีมาก ขอ
เชิญพระองค์ทรงบูชายัญเถิด พระราชทรัพย์ของพระองค์มี
มาก ลำดับนั้นแล พราหมณ์ทั้งหลายยังพระราชาผู้ประเสริฐ
ให้ทรงยินยอมบูชายัญแล้ว ในการบูชายัญ พระราชาทรง
รับสั่งให้ฆ่าแม่โคหลายแสนตัว แม่โคทั้งหลายเสมอด้วยแพะ
สงบเสงี่ยม ถูกเขารีดนมด้วยหม้อ ย่อมไม่เบียดเบียนด้วยเท้า
ด้วยเขา ด้วยอวัยวะอะไรๆ โดยแท้ พระราชารับสั่งให้
จับแม่โคเหล่านั้นที่เขาแล้วให้ฆ่าด้วยศาตรา ลำดับนั้น
เทวดา พระอินทร์ พระพรหม อสูรและผีเสื้อน้ำ ต่างเปล่ง
วาจาว่า มนุษย์ไม่มีธรรม แล่นไปเพราะศาตราตกลงที่แม่โค
โรคสามชนิด คือ ความปรารถนา ๑ อนสนัญชรา ๑
(ความแก่หง่อม) ๑ ความปรารภสัตว์ของเลี้ยง ๑ ได้มีในกาล
ก่อน ได้แพร่โรคออกเป็น ๙๘ ชนิด บรรดาอาชญาทั้งหลาย
อธรรมนี้เป็นของเก่า เป็นไปแล้ว แม่โคทั้งหลายผู้ไม่
ประทุษร้ายย่อมถูกฆ่า คนผู้บูชายัญทั้งหลายย่อมเสื่อมจาก
ธรรม ธรรมอันเลวทรามนี้เป็นของเก่า วิญญูชนติเตียนแล้ว
อย่างนี้ วิญญูชนเห็นธรรมอันเลวทรามเช่นนี้ในที่ใด ย่อม
ติเตียนคนผู้บูชายัญในที่นั้นเมื่อธรรมของพราหมณ์เก่าฉิบหาย
แล้วอย่างนี้ศูทรและแพศย์แตกกันแล้ว กษัตริย์เป็นอันมาก
แตกกันแล้ว ภรรยาดูหมิ่นสามี กษัตริย์พราหมณ์ผู้เป็นเผ่า
พันธุ์แห่งพรหม แพศย์และศูทรเหล่าอื่น ผู้อันโคตรรักษา
แล้วทำวาทะว่าชาติให้ฉิบหายแล้ว ได้ตกอยู่ในอำนาจแห่ง
กามทั้งหลาย ฯ
[๓๒๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์มหาศาลเหล่า
นั้นได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่ม
แจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรง
ประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของคว่ำ เปิดของที่ปิด
บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่าคนมีจักษุจักเห็นรูป
ฉะนั้นข้าพระองค์เหล่านี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ กับทั้งพระธรรมและพระภิกษุ
สงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระองค์เหล่านี้ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึง
สรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ
ในปริบทพุทธสันติวิธี: หลักธรรม ประยุกต์ใช้" โดยใช้สาระสำคัญของ พราหมณธรรมิกสูตร ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 17 ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ สุตตนิบาต ๒. จูฬวรรค
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น