วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2568

วิเคราะห์ เทวทัตตสูตร

         ช่วยเขียนบทความทางวิชาการ เรื่อง "วิเคราะห์   เทวทัตตสูตร  ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่  17  ขุททกนิกาย   อิติวุตตกะ ติกนิบาต  ๔. จตุตถวรรค  ที่ประกอบด้วย 

 ๑๐. เทวทัตตสูตร

             [๒๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระเทวทัตต์ผู้อันอสัทธรรม ๓ ประการ

ครอบงำย่ำยีจิตแล้ว เป็นผู้เกิดในอบาย เกิดในนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป เยียวยา

ไม่ได้อสัทธรรม ๓ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระเทวทัตต์ผู้อันความ

เป็นผู้มีความปรารถนาลามกครอบงำย่ำยีจิตแล้ว เป็นผู้เกิดในอบาย เกิดในนรก

ตั้งอยู่ตลอดกัป เยียวยาไม่ได้ พระเทวทัตต์ผู้อันความเป็นผู้มีมิตรชั่วครอบงำย่ำยี

จิตแล้ว เป็นผู้เกิดในอบาย เกิดในนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป เยียวยาไม่ได้ ก็เมื่อ

มรรคและผลที่ควรกระทำให้ยิ่งมีอยู่ พระเทวทัตต์ถึงความพินาศเสียในระหว่าง

เพราะการบรรลุคุณวิเศษมีประมาณเล็กน้อย ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระเทวทัตต์ผู้

อันอสัทธรรม ๓ ประการนี้แล ครอบงำย่ำยีจิตแล้ว เป็นผู้เกิดในอบาย เกิด

ในนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป เยียวยาไม่ได้ ฯ

                          ใครๆ ผู้มีความปรารถนาลามก จงอย่าอุบัติในสัตว์โลก

                          เลย คติของบุคคลผู้มีความปรารถนาลามกเช่นไร ท่าน

                          ทั้งหลายจงรู้คติเช่นนั้นด้วยเหตุแม้นี้ เราได้สดับมาแล้วว่า

                          พระเทวทัตต์โลกรู้กันว่า เป็นบัณฑิต ยกย่องกันว่า มี

                          ตนอันอบรมแล้ว ดุจรุ่งเรืองอยู่ด้วยยศ ดำรงอยู่แล้ว

                          พระเทวทัตต์นั้นประพฤติตามความประมาท เบียดเบียน

                          พระตถาคตพระองค์นั้น ถึงอเวจีนรกอันมีประตู ๔ น่าพึงกลัว

                          ก็ผู้ใดพึงประทุษร้ายต่อบุคคลผู้ไม่ประทุษร้ายผู้ไม่กระทำกรรม

                          อันลามก ผลอันลามกย่อมถูกต้องผู้นั้นแล ผู้มีจิตประทุษร้ายผู้

                          ไม่เอื้อเฟื้อ ผู้ใดพึงสำคัญเพื่อจะประทุษร้ายสมุทรด้วยหม้อ

                          ยาพิษผู้นั้นพึงประทุษร้ายด้วยหม้อยาพิษนั้นไม่ได้ เพราะว่า

                          สมุทรใหญ่มาก ผู้ใดย่อมเบียดเบียนพระตถาคตผู้ดำเนินไป

                          โดยชอบมีจิตสงบระงับ ด้วยความประทุษร้ายอย่างนี้ ความ

                          ประทุษร้ายย่อมไม่งอกงามในพระตถาคตพระองค์นั้น ภิกษุ

                          ผู้ดำเนินไปตามทางของพระพุทธเจ้า หรือของพระสาวก

                          ของพระพุทธเจ้าใด พึงถึงความสิ้นไปแห่งทุกข์ ภิกษุ

                          เป็นบัณฑิต พึงกระทำพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกของพระ

                          พุทธเจ้า ผู้เช่นนั้น ให้เป็นมิตร และพึงซ่องเสพพระพุทธ

                          เจ้าหรือพระสาวกของพระพุทธเจ้านั้น ฯ

             เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว

ฉะนี้แล ฯ

จบสูตรที่ ๑๐



ในปริบทพุทธสันติวิธี: หลักธรรม ประยุกต์ใช้" โดยใช้สาระสำคัญของ  เทวทัตตสูตร   ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่  17  ขุททกนิกาย  อิติวุตตกะ  ติกนิบาต   ๔. จตุตถวรรค


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ราหุลสูตร

       ช่วยเขียนบทความทางวิชาการ เรื่อง "วิเคราะห์   ราหุลสูตร   ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่  17  ขุททกนิกาย   อิติว...