ช่วยเขียนบทความทางวิชาการ เรื่อง "วิเคราะห์ มงคลสูตร ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 17 ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ สุตตนิบาต ๒. จูฬวรรค ที่ประกอบด้วย
มงคลสูตรที่ ๔
[๓๑๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เทวดาตนหนึ่ง เมื่อ
ปฐมยามล่วงไปแล้ว มีรัศมีอันงดงามยิ่ง ทำพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง
ไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
[๓๑๘] เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก ผู้หวังความสวัสดีได้พากันคิด
มงคลทั้งหลาย ขอพระองค์ได้โปรดตรัสอุดมมงคล ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถาตอบว่า
การไม่คบคนพาล ๑ การคบบัณฑิต ๑ การบูชาบุคคลที่
ควรบูชา ๑ นี้เป็นอุดมมงคล การอยู่ในประเทศอันสม
ควร ๑ ความเป็นผู้มีบุญอันทำไว้แล้วในกาลก่อน ๑ การ
ตั้งตนไว้ชอบ ๑ นี้เป็นอุดมมงคล พาหุสัจจะ ๑ ศิลป ๑
วินัยที่ศึกษาดีแล้ว ๑ วาจาสุภาษิต ๑ นี้เป็นอุดมมงคล
การบำรุงมารดาบิดา ๑ การสงเคราะห์บุตรภรรยา ๑ การ-
งานอันไม่อากูล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล ทาน ๑ การ
ประพฤติธรรม ๑ การสงเคราะห์ญาติ ๑ กรรมอันไม่มี
โทษ ๑ นี้เป็นอุดมมงคล การงดเว้นจากบาป ๑ ความ
สำรวมจากการดื่มน้ำเมา ๑ ความไม่ประมาทในธรรมทั้ง
หลาย ๑ นี้เป็นอุดมมงคล ความเคารพ ๑ ความ
ประพฤติถ่อมตน ๑ ความสันโดษ ๑ ความกตัญญู ๑
การฟังธรรมโดยกาล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล ความอดทน ๑
ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑ การได้เห็นสมณะทั้งหลาย ๑ การ
สนทนาธรรมโดยกาล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล ความเพียร ๑
พรหมจรรย์ ๑ การเห็นอริยสัจ ๑ การกระทำนิพพาน
ให้แจ้ง ๑ นี้เป็นอุดมมงคล จิตของผู้ใดอันโลกธรรม
ทั้งหลายถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว ไม่เศร้าโศก
ปราศจากธุลี เป็นจิตเกษม นี้เป็นอุดมมงคล เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลายทำมงคลเช่นนี้แล้ว เป็นผู้ไม่ปราชัย
ในข้าศึกทุกหมู่เหล่า ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทุกสถาน
นี้เป็นอุดมมงคลของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น ฯ
ในปริบทพุทธสันติวิธี: หลักธรรม ประยุกต์ใช้" โดยใช้สาระสำคัญของ มงคลสูตร ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 17 ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ สุตตนิบาต ๒. จูฬวรรค
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น