ช่วยเขียนบทความทางวิชาการ เรื่อง "วิเคราะห์ กัลยาณสูตร ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 17 ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ติกนิบาต ๕. ปัญจมวรรค ที่ประกอบด้วย
๘. กัลยาณสูตร
[๒๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีศีลงาม มีธรรมงาม มีปัญญางาม
เรากล่าวว่า เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นบุรุษผู้สูงสุดใน
ธรรมวินัยนี้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศีลงามอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้
มีศีล สำรวมแล้วด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร
มีปรกติเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศีลงามอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีศีลงามด้วยประการ
ดังนี้ ฯ
ภิกษุเป็นผู้มีธรรมงามอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ประกอบด้วย
ความเพียรในการเจริญโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการเนืองๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเป็นผู้มีธรรมงามอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีศีลงาม มีธรรมงาม ด้วยประการ
ดังนี้ ฯ
ภิกษุเป็นผู้มีปัญญางามอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้กระทำให้แจ้งซึ่งเจโต-
*วิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญา
อันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีปัญญางาม
อย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีศีลงาม มีธรรมงาม มีปัญญางาม ด้วยประการดังนี้ เรา
กล่าวว่า เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นบุรุษสูงสุดในธรรม
วินัยนี้ ฯ
ภิกษุใดไม่มีการทำชั่วด้วยกาย วาจา ใจ พระอริยเจ้า
ทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น กล่าวภิกษุผู้มีหิรินั้นแลว่า ผู้
มีศีลงาม ภิกษุใดเจริญดีแล้ว ซึ่งธรรมทั้งหลายอันให้ถึง
อริยมรรคญาณเป็นเครื่องตรัสรู้ดีที่ตนได้บรรลุแล้ว พระอริย-
เจ้าทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นกล่าวภิกษุผู้ไม่มีกิเลสเครื่อง
ฟูขึ้นนั้นแลว่า ผู้มีธรรมอันงาม ภิกษุใดรู้ชัดซึ่งความสิ้นไป
แห่งทุกข์ของตนในอัตภาพนี้แล พระอริยเจ้าทั้งหลายมี
พระพุทธเจ้าเป็นต้น กล่าวภิกษุผู้ไม่มีอาสวะ สมบูรณ์ด้วย
ธรรมเหล่านั้น ผู้ไม่มีทุกข์ ตัดความสงสัยได้แล้ว ไม่อาศัย
ละกิเลสทั้งหมดในโลกทั้งปวงว่า ผู้มีปัญญางาม ฯ
ในปริบทพุทธสันติวิธี: หลักธรรม ประยุกต์ใช้" โดยใช้สาระสำคัญของ กัลยาณสูตร ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 17 ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ติกนิบาต ๕. ปัญจมวรรค
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น