วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2568

วิเคราะห์ สุขสูตร

         ช่วยเขียนบทความทางวิชาการ เรื่อง "วิเคราะห์ สุขสูตร    ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่  17  ขุททกนิกาย   อิติวุตตกะ ติกนิบาต ๓. ตติยวรรค  ที่ประกอบด้วย 

 ๗. สุขสูตร

             [๒๕๔] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้

มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า ดูกร

ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตปรารถนาสุข ๓ ประการนี้ พึงรักษาศีล ๓ ประการเป็นไฉน

คือ บัณฑิตปรารถนาอยู่ว่า ขอความสรรเสริญจงมาถึงแก่เรา ๑ ขอโภคสมบัติ

จงเกิดขึ้นแก่เรา ๑ เมื่อตายไป เราจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๑ พึงรักษาศีล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตปรารถนาสุข ๓ ประการนี้แล พึงรักษาศีล ฯ

             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระ

ภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

                          นักปราชญ์ปรารถนาสุข ๓ ประการ คือ ความสรรเสริญ ๑

                          การได้โภคทรัพย์เครื่องปลื้มใจ ๑ ความบันเทิงในสวรรค์ใน

                          โลกหน้า ๑ พึงรักษาศีล ถ้าว่าบุคคลแม้ไม่กระทำความชั่ว

                          แต่เข้าไปเสพบุคคลผู้กระทำความชั่วอยู่ไซร้ บุคคลนั้น เป็น

                          ผู้อันบุคคลพึงรังเกียจในเพราะความชั่ว และโทษของบุคคล

                          ผู้เสพคนชั่วนี้ ย่อมงอกงาม บุคคลย่อมกระทำบุคคลเช่นใด

                          ให้เป็นมิตร และย่อมเข้าไปเสพบุคคลเช่นใดบุคคลนั้นแล

                          เป็นผู้เช่นกับด้วยบุคคลนั้น เพราะว่าการอยู่ร่วมกันเป็น

                          เช่นนั้น คนชั่วซ่องเสพบุคคลอื่นผู้บริสุทธิ์โดยปรกติอยู่

                          ย่อมทำบุคคลอื่นผู้บริสุทธิ์โดยปรกติที่ซ่องเสพตน ให้ติด

                          เปื้อนด้วยความชั่ว เหมือนลูกศรที่แช่ยาพิษ ถูกยาพิษติด

                          เปื้อนแล้ว ย่อมทำแล่งลูกศรซึ่งไม่ติดเปื้อนแล้วให้ติด

                          เปื้อนด้วยยาพิษฉะนั้น นักปราชญ์ไม่พึงเป็นผู้มีคนชั่วเป็น

                          เพื่อนเลย เพราะความกลัวแต่การเข้าไปติดเปื้อน คนใด

                          ห่อปลาเน่าไว้ด้วยใบหญ้าคา แม้หญ้าคาของคนนั้นย่อมมีกลิ่น

                          เหม็นฟุ้งไปการเข้าไป ซ่องเสพคนพาล ย่อมเป็นเหมือน

                          อย่างนั้น ส่วนคนใดห่อกฤษณาไว้ด้วยใบไม้ แม้ใบไม้ของ

                          คนนั้นย่อมมีกลิ่นหอมฟุ้งไป การเข้าไปซ่องเสพนักปราชญ์

                          ย่อมเป็นเหมือนอย่างนั้น เพราะเหตุนั้น บัณฑิตรู้ความ

                          สำเร็จผลแห่งตนดุจห่อใบไม้แล้ว ไม่พึงเข้าไปเสพอสัตบุรุษ

                          พึงเสพสัตบุรุษ เพราะว่าอสัตบุรุษย่อมนำไปสู่นรก สัตบุรุษ

                          ย่อมให้ถึงสุคติ ฯ

             เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว

ฉะนี้แล ฯ

ในปริบทพุทธสันติวิธี: หลักธรรม ประยุกต์ใช้" โดยใช้สาระสำคัญของ สุขสูตร  ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่  17  ขุททกนิกาย  อิติวุตตกะ  ติกนิบาต  ๓. ตติยวรรค

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ราหุลสูตร

       ช่วยเขียนบทความทางวิชาการ เรื่อง "วิเคราะห์   ราหุลสูตร   ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่  17  ขุททกนิกาย   อิติว...