ช่วยเขียนบทความทางวิชาการ เรื่อง "วิเคราะห์ ปุริสสูตร ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 17 ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ จตุกกนิบาต ที่ประกอบด้วย
๑๐. ปุริสสูตร
[๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษพึงถูกกระแสแห่งแม่น้ำ
คือ ปิยรูปและสาตรูปพัดไป บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่ที่ฝั่งเห็นบุรุษนั้นแล้ว พึงกล่าว
อย่างนี้ว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ ท่านถูกกระแสแห่งแม่น้ำ คือ ปิยรูปและสาตรูปพัด
ไปแม้โดยแท้ แต่ท่านถึงห้วงน้ำที่มีอยู่ภายใต้แห่งแม่น้ำนี้ซึ่งมีคลื่น มีความวนเวียน
มีสัตว์ร้าย มีผีเสื้อน้ำ ย่อมเข้าถึงความตายหรือความทุกข์ปางตาย ลำดับนั้นแล
บุรุษนั้นได้ฟังเสียงของบุรุษนั้นแล้ว พึงพยายามว่ายทวนกระแสน้ำด้วยมือทั้ง ๒
และด้วยเท้าทั้ง ๒ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราแสดงข้ออุปมานี้แล เพื่อจะให้รู้แจ่ม
แจ้งซึ่งเนื้อความ ก็ในอุปมานี้มีเนื้อความดังต่อไปนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่า
กระแสแห่งแม่น้ำนี้แล เป็นชื่อแห่งตัณหา คำว่า ปิยรูปและสาตรูป เป็นชื่อ
อายตนะภายใน ๖ คำว่า ห้วงน้ำในภายใต้ เป็นชื่อแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
คำว่า มีคลื่น เป็นชื่อแห่งความโกรธและความแค้นใจ คำว่า มีความวนเวียน
เป็นชื่อแห่งกามคุณ ๕ คำว่า มีสัตว์ร้าย มีผีเสื้อน้ำ เป็นชื่อของมาตุคาม คำว่า
ทวนกระแสน้ำ เป็นชื่อของเนกขัมมะ คำว่า พยายามด้วยมือทั้งสองและด้วยเท้า
ทั้งสอง เป็นชื่อแห่งการปรารภความเพียร คำว่า บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่ที่ฝั่ง เป็นชื่อ
ของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ฯ
ภิกษุพึงละกามทั้งหลายแม้กับด้วยทุกข์ เมื่อปรารถนาซึ่งความ
เกษมจากโยคะต่อไป พึงเป็นผู้มีสัมปชัญญะ มีจิตหลุดพ้น
แล้วด้วยดี ถูกต้องวิมุตติในกาลเป็นที่บรรลุมรรคและผลนั้น
ภิกษุนั้นผู้ถึงเวท อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ถึงที่สุดแห่งโลก
เรากล่าวว่า เป็นผู้ถึงฝั่งแล้ว ฯ
ในปริบทพุทธสันติวิธี: หลักธรรม ประยุกต์ใช้" โดยใช้สาระสำคัญของ ปุริสสูตร ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 17 ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ จตุกกนิบาต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น