ช่วยเขียนบทความทางวิชาการ เรื่อง "วิเคราะห์ สังฆาฏิสูตร ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 17 ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ติกนิบาต ๕. ปัญจมวรรค ที่ประกอบด้วย
๓. สังฆาฏิสูตร
[๒๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้ภิกษุจับที่ชายสังฆาฏิแล้วพึงเป็นผู้
ติดตามไปข้างหลังๆ เดินไปตามรอยเท้าของเราอยู่ไซร้ แต่ภิกษุนั้นเป็นผู้มีอภิชฌา
เป็นปรกติ มีความกำหนัดแรงกล้าในกามทั้งหลาย มีจิตพยาบาท มีความดำริ
แห่งใจชั่วร้าย มีสติหลงลืม ไม่รู้สึกตัว มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิด ไม่
สำรวมอินทรีย์ โดยที่แท้ ภิกษุนั้นอยู่ห่างไกลเราทีเดียว และเราก็อยู่ห่างไกล
ภิกษุนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้นย่อมไม่เห็นธรรม เมื่อไม่เห็นธรรม
ย่อมชื่อว่าไม่เห็นเรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้ภิกษุนั้นพึงอยู่ในที่ประมาณ ๑๐๐
โยชน์ไซร้ แต่ภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่มีอภิชฌา ไม่มีความกำหนัดอันแรงกล้าใน
กามทั้งหลาย ไม่มีจิตพยาบาท ไม่มีความดำริแห่งใจชั่วร้าย มีสติมั่น รู้สึกตัว
มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว สำรวมอินทรีย์ โดยที่แท้ ภิกษุนั้นอยู่
ใกล้ชิดเราทีเดียว และเราก็อยู่ใกล้ชิดภิกษุนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุ
นั้นย่อมเห็นธรรม เมื่อเห็นธรรมย่อมชื่อว่าเห็นเรา ฯ
บุคคลผู้มักมาก มีความคับแค้น ยังเป็นไปตามตัณหา ดับ
ความเร่าร้อนไม่ได้ แม้หากว่าพึงเป็นผู้ติดตามพระสัมมา
สัมพุทธเจ้าผู้หาความหวั่นไหวมิได้ ผู้ดับความเร่าร้อนได้
แล้วไซร้ บุคคลนั้นผู้กำหนัดยินดี ชื่อว่าพึงเห็นพระสัมมา-
สัมพุทธเจ้า ผู้ปราศจากความกำหนัดยินดี เพียงในที่ไกล
เท่านั้น ส่วนบุคคลใดเป็นบัณฑิต รู้ธรรมด้วยปัญญาเป็น
เครื่องรู้ธรรมอันยิ่ง เป็นผู้หาความหวั่นไหวมิได้ สงบ
ระงับ เปรียบเหมือนห้วงน้ำที่ไม่มีลมฉะนั้น บุคคลนั้นผู้หา
ความหวั่นไหวมิได้ ทั้งดับความเร่าร้อนได้แล้ว ผู้ไม่กำหนัด
ยินดี ชื่อว่าพึงเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้หาความหวั่นไหว
มิได้ ทั้งดับความเร่าร้อนได้แล้ว ปราศจากความกำหนัด
ยินดี ในที่ใกล้แท้ ฯ
ในปริบทพุทธสันติวิธี: หลักธรรม ประยุกต์ใช้" โดยใช้สาระสำคัญของ สังฆาฏิสูตร ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 17 ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ติกนิบาต ๕. ปัญจมวรรค
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น