ช่วยเขียนบทความทางวิชาการ เรื่อง "วิเคราะห์ ธาตุสูตร ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 17 ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ติกนิบาต ๓. ตติยวรรค ที่ประกอบด้วย
๙. ธาตุสูตร
[๒๕๖] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมเทียบเคียงกัน เสมอกันกับสัตว์ทั้งหลายโดย
ธาตุแล คือ สัตว์ผู้มีอัธยาศัยเลว ย่อมเทียบเคียงกัน เสมอกันกับสัตว์ผู้มีอัธยาศัย
เลว สัตว์ผู้มีอัธยาศัยดี ย่อมเทียบเคียงกัน เสมอกันกับสัตว์ผู้มีอัธยาศัยดี ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย แม้ในอดีตกาล ... แม้ในอนาคตกาล ... แม้ในปัจจุบันกาล สัตว์-
*ทั้งหลาย ย่อมเทียบเคียงกัน เสมอกันกับสัตว์ทั้งหลายโดยธาตุแล คือ สัตว์ผู้มี
อัธยาศัยเลว ย่อมเทียบเคียงกัน เสมอกันกับสัตว์ผู้มีอัธยาศัยเลว สัตว์ผู้มีอัธยาศัย
ดี ย่อมเทียบเคียงกัน เสมอกันกับสัตว์ผู้มีอัธยาศัยดี ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาค
ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
กิเลสเกิดเพราะความเกี่ยวข้อง บุคคลย่อมตัดเสียได้เพราะ
ความไม่เกี่ยวข้อง แม้บุคคลผู้มีความเป็นอยู่ดี แต่อาศัย
บุคคลผู้เกียจคร้านย่อมจมลงในสมุทร คือ สงสาร เปรียบ
เหมือนบุคคลขึ้นสู่แพไม้น้อยๆ พึงจมลงในมหรรณพ
ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น บุคคลพึงเว้นบุคคลผู้เกียจคร้าน
มีความเพียรอันเลวนั้นเสีย พึงอยู่ร่วมกับพระอริยเจ้าทั้งหลาย
ผู้สงัดแล้วผู้มีใจเด็ดเดี่ยว ผู้มีปรกติเพ่ง ผู้ปรารภความเพียร
เป็นนิตย์ ผู้เป็นบัณฑิต ฯ
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว
ฉะนี้แล ฯ
ในปริบทพุทธสันติวิธี: หลักธรรม ประยุกต์ใช้" โดยใช้สาระสำคัญของ ธาตุสูตร ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 17 ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ติกนิบาต ๓. ตติยวรรค
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น