วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2568

วิเคราะห์ สีลสูตร

         ช่วยเขียนบทความทางวิชาการ เรื่อง "วิเคราะห์   สีลสูตร    ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่  17  ขุททกนิกาย   อิติวุตตกะ จตุกกนิบาต  ที่ประกอบด้วย 

 ๕. สีลสูตร

             [๒๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดถึงพร้อมแล้วด้วยศีล สมาธิ

ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสนะ เป็นผู้กล่าวสอน ให้รู้แจ้ง ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน

ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง เป็นผู้สามารถบอกพระสัทธรรมได้อย่างดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เรากล่าวการเห็นภิกษุเหล่านั้นก็ดี การฟังภิกษุเหล่านั้นก็ดี การเข้าไปใกล้ภิกษุ

เหล่านั้นก็ดี การไปนั่งใกล้ภิกษุเหล่านั้นก็ดี การระลึกถึงภิกษุเหล่านั้นก็ดี การบวช

ตามภิกษุเหล่านั้นก็ดี ว่ามีอุปการะมาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเมื่อภิกษุซ่องเสพ

คบหา เข้าไปนั่งใกล้ภิกษุเห็นปานนั้น ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์

วิมุตติญาณทัสนขันธ์ แม้ที่ยังไม่บริบูรณ์ ก็ถึงความบริบูรณ์ด้วยภาวนา ดูกรภิกษุ

ทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้เห็นปานนี้นั้น เรากล่าวว่า เป็นศาสดาบ้าง นำพวกไปบ้าง

ละข้าศึก คือกิเลสบ้าง กระทำแสงสว่างบ้าง กระทำโอภาสบ้าง กระทำความ

รุ่งเรืองบ้าง กระทำรัศมีบ้าง ทรงคบเพลิงไว้บ้าง เป็นอริยะบ้าง มีจักษุบ้าง ดังนี้ ฯ

                          การได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลายผู้มีตนอันอบรมแล้ว ผู้มีปรกติ

                          เป็นอยู่โดยธรรม ย่อมเป็นเหตุแห่งการกระทำซึ่งความ

                          ปราโมทย์แก่บัณฑิตทั้งหลายผู้รู้แจ้ง บัณฑิตทั้งหลาย ฟังคำ

                          สอนของพระอริยเจ้าทั้งหลายผู้กระทำรัศมี ผู้กระทำแสงสว่าง

                          เป็นนักปราชญ์ ผู้มีจักษุ ผู้ละข้าศึก คือกิเลส ประกาศ

                          พระสัทธรรมยังสัตวโลกให้สว่าง แล้วรู้โดยชอบซึ่งความสิ้น

                          ไปแห่งชาติด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมไม่มาสู่ภพใหม่ ฯ


ในปริบทพุทธสันติวิธี: หลักธรรม ประยุกต์ใช้" โดยใช้สาระสำคัญของ  สีลสูตร ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่  17  ขุททกนิกาย  อิติวุตตกะ   จตุกกนิบาต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ราหุลสูตร

       ช่วยเขียนบทความทางวิชาการ เรื่อง "วิเคราะห์   ราหุลสูตร   ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่  17  ขุททกนิกาย   อิติว...