วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2568

วิเคราะห์ กึสีลสูตร

         ช่วยเขียนบทความทางวิชาการ เรื่อง "วิเคราะห์    กึสีลสูตร ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่  17  ขุททกนิกาย   อิติวุตตกะ สุตตนิบาต  ๒. จูฬวรรค ที่ประกอบด้วย 

 กึสีลสูตรที่ ๙

             ท่านพระสารีบุตรทูลถามด้วยคาถาว่า

             [๓๒๖] นรชนพึงมีปรกติอย่างไร มีความประพฤติอย่างไร พึงพอก

                          พูนกรรมเป็นไฉน จึงจะเป็นผู้ดำรงอยู่โดยชอบ และพึง

                          บรรลุถึงประโยชน์อันสูงสุดได้  พระเจ้าข้า ฯ

             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า

                          นรชนพึงเป็นผู้ประพฤติอ่อนน้อมต่อบุคคลผู้เจริญ ไม่ริษยา

                          และเมื่อไปหาครูก็พึงรู้จักกาล พึงรู้จักขณะ ฟังธรรมีกถา

                          ที่ครูกล่าวแล้ว พึงฟังสุภาษิตโดยเคารพ พึงไปหาครูผู้

                          นั่งอยู่ในเสนาสนะของตนตามกาล ทำมานะดุจเสาให้พินาศ

                          พึงประพฤติอ่อนน้อม พึงระลึกถึงเนื้อความแห่งภาษิต ธรรม

                          คือบาลี ศีล พรหมจรรย์ และพึงประพฤติโดยเอื้อเฟื้อ

                          ด้วยดี นรชนมีธรรมเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในธรรม

                          ตั้งอยู่ในธรรม รู้จักวินิจฉัยธรรม ไม่พึงประพฤติถ้อยคำ

                          ที่ประทุษร้ายธรรมเลย พึงให้กาลสิ้นไปด้วยภาษิตที่แท้ นรชน

                          ละความรื่นเริง การพูดกระซิบ ความร่ำไร ความประทุษ-

                          ร้าย ความหลอกลวงที่ทำด้วยมารยา ความยินดี ความถือตัว

                          ความแข่งดี ความหยาบคาย และความหมกมุ่นด้วยกิเลส

                          ดุจน้ำฝาด พึงเป็นผู้ปราศจากความมัวเมา ดำรงตนมั่น

                          เที่ยวไป นรชนเช่นนั้น รู้แจ้งสุภาษิตที่เป็นสาระ รู้แจ้ง

                          สูตรและสมาธิที่เป็นสาระ ปัญญาและสุตะ ย่อมไม่เจริญ

                          แก่นรชนผู้เป็นคนผลุนผลัน เป็นคนประมาท ส่วนนรชน

                          เหล่าใด ยินดีแล้วในธรรมที่พระอริยะเจ้าประกาศแล้ว นรชน

                          เหล่านั้นเป็นผู้ประเสริฐกว่าสัตว์ที่เหลือด้วยวาจา ด้วยใจ

                          และการงาน นรชนเหล่านั้นดำรงอยู่ด้วยดีแล้วในสันติ

                          โสรัจจะ และสมาธิ ได้บรรลุถึงธรรมอันเป็นสาระแห่งสติ

                          และปัญญา ฯ


ในปริบทพุทธสันติวิธี: หลักธรรม ประยุกต์ใช้" โดยใช้สาระสำคัญของ   กึสีลสูตร    ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่  17  ขุททกนิกาย  อิติวุตตกะ    สุตตนิบาต   ๒. จูฬวรรค

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ราหุลสูตร

       ช่วยเขียนบทความทางวิชาการ เรื่อง "วิเคราะห์   ราหุลสูตร   ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่  17  ขุททกนิกาย   อิติว...