วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2568

วิเคราะห์ ธรรมสูตร วิชชา ๓

         ช่วยเขียนบทความทางวิชาการ เรื่อง "วิเคราะห์ ธรรมสูตร    ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่  17  ขุททกนิกาย   อิติวุตตกะ ติกนิบาต  ๕. ปัญจมวรรค  ที่ประกอบด้วย 

 ๑๐. ธรรมสูตร

             [๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมบัญญัติบุคคลผู้ได้วิชชา ๓ ว่าเป็น

พราหมณ์โดยธรรม เราย่อมไม่บัญญัติบุคคลอื่นว่าเป็นพราหมณ์ โดยเหตุเพียง

การกล่าวตามคำที่เขากล่าวไว้แล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เราย่อมบัญญัติบุคคลผู้ได้

วิชชา ๓ ว่าเป็นพราหมณ์โดยธรรม เราย่อมไม่บัญญัติบุคคลอื่นว่าเป็นพราหมณ์

โดยเหตุเพียงการกล่าวตามคำที่เขากล่าวไว้แล้ว อย่างไร ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอัน

มาก คือ ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบ

ชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติ

บ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัป

เป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ว่าในภพโน้น เรามีชื่อ

อย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวย

ทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิด

ในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น

มีอาหารอย่างนั้น ได้เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้น

จุติจากภพนั้นแล้วได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อม

ทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศด้วยประการฉะนี้ ภิกษุนั้นได้บรรลุวิชชาที่ ๑ นี้แล้ว

กำจัดอวิชชาได้แล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว กำจัดความมืดได้แล้ว แสงสว่างเกิดขึ้น

แล้ว สมเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ฯ

             อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต

มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุ

ของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วย

กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิ ถือยึดการ

กระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ เมื่อตายไป เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระ-

*อริยเจ้า เป็นสัมมาทิฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ เมื่อตายไป เขา

เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ดังนี้ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต

มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุ

ของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ เธอได้

บรรลุวิชชาที่ ๒ นี้ กำจัดอวิชชาได้แล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว กำจัดความมืดแล้ว

แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว สมเป็นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว

อยู่ ฯ

             อีกประการหนึ่ง ภิกษุกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหา

อาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึง

อยู่ เธอได้บรรลุวิชชาที่ ๓ นี้ กำจัดอวิชชาได้แล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว กำจัด

ความมืดได้แล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว สมเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจ

เด็ดเดี่ยวอยู่ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมบัญญัติบุคคลผู้ได้วิชชา ๓ ว่าเป็นพราหมณ์

โดยธรรม ย่อมไม่บัญญัติบุคคลอื่นว่าเป็นพราหมณ์ โดยเหตุเพียงกล่าวตามคำที่

เขากล่าวไว้แล้ว อย่างนี้แล ฯ

                          เรากล่าวผู้ระลึกถึงชาติก่อนได้ เห็นทั้งสวรรค์และอบาย และ

                          ถึงความสิ้นไปแห่งชาติ เป็นมุนี ผู้อยู่จบพรหมจรรย์เพราะ

                          รู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นผู้มีไตรวิชชาด้วยวิชชา ๓ ว่าเป็น

                          พราหมณ์ เราไม่กล่าวบุคคลอื่นผู้มีการกล่าวตามที่เขากล่าวไว้

                          แล้วว่าเป็นพราหมณ์ ฯ

             เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว

ฉะนี้แล ฯ

จบสูตรที่ ๑๐



ในปริบทพุทธสันติวิธี: หลักธรรม ประยุกต์ใช้" โดยใช้สาระสำคัญของ ธรรมสูตร  ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่  17  ขุททกนิกาย  อิติวุตตกะ  ติกนิบาต   ๕. ปัญจมวรรค

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ราหุลสูตร

       ช่วยเขียนบทความทางวิชาการ เรื่อง "วิเคราะห์   ราหุลสูตร   ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่  17  ขุททกนิกาย   อิติว...