ช่วยเขียนบทความทางวิชาการ เรื่อง "วิเคราะห์ จุนทสูตร ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 17 ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ สุตตนิบาต ๑. อุรควรรค ที่ประกอบด้วย
จุนทสูตรที่ ๕
นายจุนทกัมมารบุตรทูลถามว่า
[๓๐๒] ข้าพระองค์ขอทูลถามพระพุทธเจ้าผู้เป็นมุนี มีพระปัญญามาก
ผู้เป็นเจ้าของแห่งพระธรรม ผู้มีตัณหาปราศไปแล้ว ผู้สูงสุด
กว่าสัตว์ ผู้ประเสริฐกว่าสารถีทั้งหลายว่า สมณะในโลกมี
เท่าไร ขอเชิญพระองค์ตรัสบอกสมณะเหล่านั้นเถิด ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรจุนทะ
สมณะมี ๔ สมณะที่ ๕ ไม่มี เราถูกท่านถามซึ่งหน้าแล้ว
ขอชี้แจงสมณะทั้ง ๔ เหล่านั้น ให้แจ่มแจ้งแก่ท่าน คือ
สมณะผู้ชนะสรรพกิเลสด้วยมรรค ๑ สมณะผู้แสดงมรรค
(แก่ชนเหล่าอื่น) ๑ สมณะเป็นอยู่ในมรรค ๑ สมณะ
ผู้ประทุษร้ายมรรค ๑
นายจุนทกัมมารบุตรทูลถามว่า
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมตรัสสมณะผู้ชนะสรรพกิเลสด้วย
มรรคอะไร สมณะเป็นผู้มีปรกติเพ่งมรรคไม่มีผู้เปรียบ
สมณะเป็นอยู่ในมรรค ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอพระองค์
ตรัสบอกแก่ข้าพระองค์ อนึ่ง ขอพระองค์ทรงชี้แจง สมณะ
ผู้ประทุษร้ายมรรคให้แจ้งแก่ข้าพระองค์เถิด ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมตรัสสมณะผู้ข้ามความสงสัย
ได้แล้ว ผู้ไม่มีกิเลสดุจลูกศร ผู้ยินดียิ่งแล้วในนิพพาน ผู้ไม่มี
ความกำหนัด ผู้คงที่ เป็นผู้นำโลกพร้อมด้วยเทวโลกว่า
สมณะผู้ชนะสรรพกิเลสด้วยมรรค ๑ ภิกษุใดในศาสนานี้รู้ว่า
นิพพานเป็นธรรมยิ่ง ย่อมบอก ย่อมจำแนกธรรมในธรรม
วินัยนี้แล พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสภิกษุที่ ๒ ผู้ตัดความ
สงสัย ผู้เป็นมุนีผู้ไม่หวั่นไหวนั้น ว่าสมณะผู้แสดงมรรค
ภิกษุใด เมื่อบทธรรมอันพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงแสดงไว้
ดีแล้ว เป็นผู้สำรวมแล้ว มีสติ เสพบทอันไม่มีโทษอยู่
ชื่อว่าเป็นอยู่ในมรรค พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ตรัสภิกษุที่ ๓
นั้นว่า เป็นอยู่ในมรรค บุคคลกระทำเพศแห่งพระพุทธเจ้า
พระปัจเจกพระพุทธเจ้า และพระสาวกผู้มีวัตรอันงาม ให้
เป็นเครื่องปกปิดแล้ว มักประพฤติแล่นไป ประทุษร้าย
ตระกูล เป็นผู้คะนอง มีมายา ไม่สำรวม เป็นคนแกลบ
บุคคลนั้นแลชื่อว่า เป็นสมณะผู้ประทุษร้ายมรรคอย่างยิ่งด้วย
วัตตปฏิรูป ก็พระอริยสาวกผู้ได้สดับ มีปัญญา ทราบสมณะ
เหล่านั้นทั้งหมดว่าเป็นเช่นนั้น เห็นแล้วอย่างนี้ ย่อมไม่ยัง
ศรัทธาของคฤหัสถ์ผู้ทราบชัดสมณะเปล่านี้ให้เสื่อม จะพึง
กระทำสมณะผู้ไม่ถูกโทษประทุษร้าย ให้เสมอด้วยสมณะ
ผู้ถูกโทษประทุษร้าย จะพึงกระทำสมณะผู้บริสุทธิ์ ให้เสมอ
ด้วยสมณะผู้ไม่บริสุทธิ์ อย่างไรได้ ฯ
ในปริบทพุทธสันติวิธี: หลักธรรม ประยุกต์ใช้" โดยใช้สาระสำคัญของ จุนทสูตร ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 17 ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ สุตตนิบาต ๑. อุรควรรค
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น