ช่วยเขียนบทความทางวิชาการ เรื่อง "วิเคราะห์ อัคคิสูตร ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 17 ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ติกนิบาต ๕. ปัญจมวรรค ที่ประกอบด้วย
๔. อัคคิสูตร
[๒๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฟ ๓ กองนี้ ๓ กองเป็นไฉน คือ ไฟคือ
ราคะ ๑ ไฟคือโทสะ ๑ ไฟคือโมหะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฟ ๓ กองนี้แล ฯ
ไฟคือราคะ ย่อมเผาสัตว์ผู้กำหนัดแล้วหมกมุ่นแล้วในกาม
ทั้งหลาย ส่วนไฟคือโทสะ ย่อมเผานรชนผู้พยาบาท
มีปรกติฆ่าสัตว์ ส่วนไฟคือโมหะ ย่อมเผานรชนผู้ลุ่มหลง
ไม่ฉลาดในอริยธรรม ไฟ ๓ กองนี้ย่อมตามเผาหมู่สัตว์ผู้ไม่รู้
สึกว่าเป็นไฟ ผู้ยินดียิ่งในกายตน ทั้งในภพนี้และภพหน้า
สัตว์เหล่านั้นย่อมพอกพูนนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานอสุรกาย
และปิตติวิสัย เป็นผู้ไม่พ้นไปจากเครื่องผูกแห่งมาร ส่วน
สัตว์เหล่าใดประกอบความเพียรในพระศาสนาของพระสัมมา-
สัมพุทธเจ้าทั้งกลางคืนกลางวัน สัตว์เหล่านั้นผู้มีความสำคัญ
อารมณ์ว่าไม่งามอยู่เป็นนิจ ย่อมดับไฟ คือ ราคะได้ ส่วน
สัตว์ทั้งหลายผู้สูงสุดในนรชน ย่อมดับไฟคือโทสะได้ด้วย
เมตตาและดับไฟ คือ โมหะได้ด้วยปัญญาอันเป็นเครื่องให้ถึง
ความชำแรกกิเลส สัตว์เหล่านั้นมีปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน
ไม่เกียจคร้านทั้งกลางคืนกลางวัน ดับไฟมีไฟคือราคะเป็นต้น
ได้ ย่อมปรินิพพานโดยไม่มีส่วนเหลือ ล่วงทุกข์ได้ไม่มี
ส่วนเหลือ บัณฑิตทั้งหลายผู้เห็นอริยสัจผู้ถึงที่สุดแห่งเวท
รู้แล้วโดยชอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ยิ่ง ซึ่งความสิ้นไปแห่ง
ชาติ ย่อมไม่มาสู่ภพใหม่ ฯ
ในปริบทพุทธสันติวิธี: หลักธรรม ประยุกต์ใช้" โดยใช้สาระสำคัญของ อัคคิสูตร ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 17 ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ติกนิบาต ๕. ปัญจมวรรค
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น