ช่วยเขียนบทความทางวิชาการ เรื่อง "วิเคราะห์ มลสูตร ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 17 ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ติกนิบาต ๔. จตุตถวรรค ที่ประกอบด้วย
๙. มลสูตร
[๒๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มลทินในภายใน ๓ ประการนี้ เป็นอมิตร
เป็นศัตรู เป็นผู้ฆ่า เป็นข้าศึกในภายใน ๓ ประการเป็นไฉน คือ โลภะ ๑
โทสะ ๑ โมหะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย มลทินในภายใน ๓ ประการนี้แล เป็น
อมิตร เป็นศัตรู เป็นผู้ฆ่า เป็นข้าศึกในภายใน ฯ
โลภะให้เกิดความฉิบหายโลภะทำจิตให้กำเริบชนไม่รู้สึกโลภะ
นั้นอันเกิดแล้วในภายในว่าเป็นภัย คนโลภย่อมไม่รู้ประโยชน์
ย่อมไม่เห็นธรรม โลภะย่อมครอบงำนรชนในขณะนั้น ความ
มืดตื้อย่อมมีในขณะนั้น ก็ผู้ใดละความโลภได้ขาด ย่อมไม่โลภ
ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความโลภ ความโลภอันอริยมรรคย่อม
ละเสียได้จากบุคคลนั้น เปรียบเหมือนหยดน้ำตกไปจาก
ใบบัวฉะนั้น โทสะให้เกิดความฉิบหาย โทสะทำจิต
ให้กำเริบ ชนไม่รู้จักโทสะนั้นอันเกิดในภายในว่าเป็นภัย
คนโกรธย่อมไม่รู้จักประโยชน์ ย่อมไม่เห็นธรรม โทสะ
ย่อมครอบงำนรชนในขณะใด ความมืดตื้อย่อมมีในขณะ
นั้น ก็บุคคลใดละโทสะได้ขาด ย่อมไม่ประทุษร้ายใน
อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้าย โทสะอันอริยมรรค
ย่อมละเสียได้จากบุคคลนั้น เปรียบเหมือนผลตาลสุกหลุด
จากขั้วฉะนั้น โมหะให้เกิดความฉิบหาย โมหะทำจิต
ให้กำเริบ ชนไม่รู้สึกโมหะนั้นอันเกิดในภายในว่าเป็นภัย
คนหลงย่อมไม่รู้จักประโยชน์ ย่อมไม่เห็นธรรม โมหะ
ย่อมครอบงำนรชนในขณะใด ความมืดตื้อย่อมมีในขณะ
นั้น ก็บุคคลใดละโมหะได้ขาด ย่อมไม่หลงในอารมณ์
เป็นที่ตั้งแห่งความหลง บุคคลนั้นย่อมกำจัดความหลงได้
ทั้งหมด เปรียบเหมือนพระอาทิตย์อุทัยขจัดมืดฉะนั้น ฯ
ในปริบทพุทธสันติวิธี: หลักธรรม ประยุกต์ใช้" โดยใช้สาระสำคัญของ มลสูตร ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 17 ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ติกนิบาต ๔. จตุตถวรรค
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น