วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

เฟซบุ๊กจับตาการเลือกตั้งไทยที่จะมีขึ้นในอนาคตอันใกล้



เฟซบุ๊กถือได้ว่ามีส่วนสำคัญต่อการเลือกตั้งทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วย โดยได้แสดงความเห็นว่า ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา เฟซบุ๊กทำงานอย่างหนักเพื่อรองรับการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นทั่วโลก เพื่อให้มั่นใจว่าจะทำหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม พอเพียง โดยสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการทำงานร่วมกับหน่วยงานในประเทศนั้นๆ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องระมัดระวังภายใต้บริบทของการเลือกตั้ง ประกอบด้วยคอนเทนต์ประเภทคลิกเบต (Clickbait) หรือลิงก์ที่หลอกให้คลิก โดยพาดหัวล่อด้วยเรื่องน่าสนใจ แต่เนื้อหาจริงกลับไม่มีอะไรหรือมีแต่โฆษณา, ข้อความที่ก่อให้เกิดความรุนแรง ความขัดแย้ง รวมทั้งข่าวปลอม (Fake News) และบัญชีปลอม ตลอดจนข้อมูลที่ปลุกระดมไม่ให้ประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้ง หรือหลอกให้ไปผิดที่

ทั้งนี้สืบเนื่องจากถูกเฟซบุ๊กวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก หลังการเลือกตั้งทั่วไปในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 8 พ.ย.2559 ซึ่งนายโดนัลด์ ทรัมป์ ได้รับชัยชนะเหนือนางฮิลลารี คลินตัน นอกจากข่าวหลอก ข่าวลวง ซึ่งแพร่กระจายผ่านเฟซบุ๊ก สร้างความสับสนให้กับผู้ลงคะแนนเสียง รวมทั้งเอื้อประโยชน์ต่อผู้สมัครรายใดรายหนึ่งแล้ว ที่ฉาวโฉ่ที่สุดเป็นกรณีของบริษัทแคมบริดจ์ อนาไลติกา บริษัทที่ปรึกษาทางการเมือง ที่ได้นำข้อมูลผู้ใช้เฟซบุ๊กมากกว่า 50 ล้านบัญชี ไปแสวงหาประโยชน์ในการเลือกตั้ง จนทำให้นายโดนัลด์ ทรัมป์ ได้รับชัยชนะ
          
เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้นายมาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของเฟซบุ๊ก ต้องเข้าไปชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการตรวจ สอบของวุฒิสภา สหรัฐอเมริกา โดยยอมรับว่าเฟซบุ๊กยังขาดมาตรการที่เหมาะสมในการป้องกันและคัดกรองข้อมูล ส่งผลให้แพลตฟอร์มเฟซบุ๊กเต็มไปด้วยข้อมูลเท็จ ข้อความจงเกลียดจงชัง เหยียดเชื้อชาติ และถูกใช้เป็นเครื่องมือในการแทรกแซงการเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกาและหลายๆประเทศ  ทำให้เฟซบุ๊กปรับเปลี่ยนการทำงานครั้งใหญ่ ลงทุนเพิ่มเพื่อปกป้องระบบให้มีศักยภาพมากขึ้น จนในที่สุด นำไปสู่การกำหนดนโยบายมาตรฐานชุมชนหรือ Community Standards ซึ่งเปรียบเหมือนคัมภีร์ชี้ทาง ว่าเนื้อหาใดสามารถหรือไม่สามารถ แบ่งปันและเผยแพร่บนเฟซบุ๊กได้

โดยสัปดาห์ก่อนเฟซบุ๊กจึงได้เปิดแถลงข่าวกลุ่มเล็กๆขึ้นในกรุงเทพฯ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายมาตรฐานชุมชน ซึ่งละเอียดยิ่งขึ้นและเผยแพร่ในหลากหลายภาษา รวมภาษาไทย เนื้อหาที่เฟซบุ๊กไม่อนุญาตให้เผยแพร่ ได้แก่ การทำร้ายตัวเอง (Self-Injury) การใช้วาจาสร้างความเกลียดชัง (Hate Speech), การกลั่นแกล้งและการคุกคาม (Bullying & Harassment), ภาพโป๊เปลือยและกิจกรรมทางเพศ (Nudity & Sexual Activity), ภาพความรุนแรง (Violent & Graphic Content), การใช้ความรุนแรงและการชักชวนทางเพศ (Sexual Violence & Exploitation), การโจมตีบุคคลสาธารณะ (Attacks on Public Figures), องค์กรอันตราย (Dan gerous Organiza tions), สินค้าควบคุม (Regulated Goods) เช่น ยา กัญชา ยาเสพติด, การบิดเบือนความจริง ข่าวเท็จและสแปม (Fraud & Spam) เป็นต้น
          
ปัจจุบันเฟซบุ๊กมีผู้ตรวจสอบเนื้อหาทั่วโลกทั้งสิ้น 20,000 คน ทำงานครอบคลุมทุกเขตเวลาและพูดกว่า 50 ภาษา รวมภาษาไทย ผู้ตรวจสอบจะได้รับการฝึกอบรมอย่างเข้มงวดและสม่ำเสมอ นอกจากนั้นเฟซบุ๊กยังลงทุนหนักพัฒนาปัญญาประดิษฐ์หรือ AI (Arti ficial Intelligence) ให้เข้ามาตรวจจับเนื้อหาที่ฝ่าฝืนกฎในแบบเชิงรุกด้วย
        
จากรายงานล่าสุดเกี่ยวกับการบังคับใช้มาตรฐานชุมชน (Community Stan dards Enforcement Report) ของเฟซบุ๊ก ซึ่งเก็บข้อมูลระหว่างเดือน ม.ค.-มี.ค. 2561 พบว่า  1.เฟซบุ๊กสามารถยกเลิกบัญชีปลอมได้ 583 ล้านบัญชี โดยเป็นการยกเลิกภายในไม่กี่นาทีที่มีการลงทะเบียนเข้าใช้ เพราะเช็กได้ทันทีว่าเป็นบัญชีปลอมและ 99% ตรวจสอบโดย AI 2.กำจัดสแปม 837 ล้านชิ้นหรือเกือบ 100% ของสแปมทั้งหมด โดยใช้ AI ทำงาน 100% 3.ลบภาพโป๊เปลือยและกิจกรรมทางเพศของผู้ใหญ่ 21 ล้านชิ้น โดย 96% ของ 21 ล้านชิ้นเป็นผลงานของ AI ที่ตรวจจับภาพได้ก่อนที่จะมีผู้ใช้รายงาน 4.ลบคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับความรุนแรงจำนวน 3.5 ล้านชิ้น ซึ่ง 86% เป็นการทำงานโดย AI 5.ลบข้อความโฆษณาชวนเชื่อของกลุ่มก่อการร้าย 1.9 ล้านชิ้น และ 99.5% เป็นผลงานของ AI 6.ลบข้อความที่สร้างความเกลียดชัง 2.5 ล้านชิ้น โดย 38% ตรวจพบโดย AI ข้อมูลข้างต้นบ่งชี้ว่า AI ทำให้เฟซบุ๊กร่นเวลาจัดการกับเนื้อหาที่ฝ่าฝืนกฎได้เร็วขึ้น ไม่ต้องรอรายงานจากผู้ใช้ แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในการทำความเข้าใจเนื้อหาที่สร้างความเกลียดชัง ซึ่งมีความซับซ้อนและต้องใช้ทักษะมนุษย์

นั้นแสดงว่า AI เป็นเครื่องมือที่สำคัญ ทำให้ นายทินกร เหล่าเราวิโรจน์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย หรือ เอทีเอสไอ เปิดเผยว่า  "ปัญญาประดิษฐ์" หรือ เอไอ (AI) ที่สามารถ นำมาต่อยอดให้บริการเชิงธุรกิจกับกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจได้ โดยสมาคม มีแนวคิดร่วมกับภาครัฐ และสถาบันการศึกษา ในการจัดสร้าง AI เซ็นเตอร์แห่งชาติขึ้นมา เพื่อให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก หรือ เอสเอ็มอี ได้มีโอกาสนำเทคโนโลยี AI ไปใช้ประโยชน์เชิงธุรกิจ ทั้งการวิเคราะห์วางแผนธุรกิจ และการวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า

       


"เทรนด์เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นขณะนี้มีทั้ง AI บล็อกเชน และ IoT แต่เรามองว่า AI น่าสนใจมากสุด และน่าจะเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ และผู้ประกอบการได้รับประโยชน์มากสุด ส่วนบล็อกเชน เป็นเรื่องของระบบปิดที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลกลุ่มเฉพาะ ไม่ได้ประโยชน์กับธุรกิจวงกว้าง ขณะที่ IoT เป็นเรื่องของฮาร์ดแวร์ หรือ ดีไวซ์ต่างๆ"



และทีม NILA ตัวแทนจากประเทศไทย ได้สร้างผลงาน Chatbot ช่วยจัดการกระบวนการพัฒนาซอฟท์แวร์แบบ Agile ผ่านการสื่อสารกันตามปกติของสมาชิกในกลุ่ม LINE โดย NILA จะฟังและวิเคราะห์บทสนทนาต่าง ๆ ที่ถูกพูดคุยกันผ่าน LINE แล้วใช้ AI ช่วยในการสร้าง แก้ไข มอบหมาย หรือติดตามงาน และเชื่อมต่อข้อมูลงานต่างๆ เข้ากับบริการของ JIRA ให้แบบอัตโนมัติ นอกจากนี้ยังสามารถแสดงรายงานต่างๆ ตามที่ต้องการได้อีกด้วย ทำให้ได้รับรางวัล LINE BOOT AWARDS ที่ประเทศญี่ปุ่น

Cr.เฟซบุ๊กจับตาการเลือกตั้งไทยที่จะมีขึ้นในอนาคตอันใกล้

http://www.banmuang.co.th/news/it/131559


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เพลง: ผ้าขาดฮัก

ເນື້ອເພງ : ດຣສົມພົງສ໌ ທຳນອງ - ຮ້ອງໂດຍ : suno   คลิกฟังเพลงที่นี่ (Verse 1)   เพราะความจนจำทนนุ่งผ้าขาด ไม่สามารถซื้อผ้าไหมมาสวมใส่ ใช้เข็มปะ...