วันอาทิตย์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2561

อบรมยกคุณภาพจิตวิทยาลัยอาชีวศึกษาทั่วประเทศสู่วิถีพุทธ




"มจร-สอศ.-วิทยาลัยอาชีวศึกษาจุลมณีศรีสะเกษ" จัดอบรมยกคุณภาพจิตวิทยาลัยอาชีวศึกษาทั่วประเทศสู่วิถีพุทธ หวังหัวใจของวิถีพุทธเป็นฐานพัฒนาเยาวชนเป็นคนดีของสังคม พระวิทยากรกระบวนการธรรมะโอดีแนะผู้บริหารและครูต้องมีสัมมาทิฐิในการขับเคลื่อน 



วันที่ ๙ เม.ย.๒๕๖๑ พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท  พระวิทยากรกระบวนการธรรมะโอดี นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาุจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เปิดเผยว่าระหว่างวันที่ ๖-๙ เดือนเมษายน พศ.๒๕๖๑  เป็นพระวิทยากรโครงการ "อบรมพัฒนาคุณธรรมในสถานศึกษา อาชีวศึกษา" ณ สถาบันวิปัสสนาธุระ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เพื่อพัฒนากาย พฤติกรรม จิตใจ และปัญญาสู่ความเป็นวิถีพุทธ โดยมีผู้บริหารและครูเข้าร่วมโครงการรุ่นที่ ๑ จำนวน ๑๐๐ คน มีวิทยาลัยอาชีวศึกษาเข้าร่วม ๑๙ วิทยาลัย ซึ่งจะเป็นการยกระดับวิทยาลัยอาชีวศึกษาทั่วประเทศเป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษาวิถีพุทธ ภายใต้กรอบ "กายวิถีพุทธ พฤติกรรมวิถีพุทธ จิตใจวิถีพุทธ ปัญญาวิถีพุทธ และชีวิตวิถีพุทธ" ซึ่งวิถีพุทธจะต้องเป็นวิถีชีวิตเป็นวิถีปฏิบัติ ซึ่งดำเนินการฝึกอบรมโดย ดร.อุบาสิการะเบียบ ถิรญาณี ประธานบริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาจุลมณีศรีสะเกษ โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.)



วิทยาลัยอาชีวศึกษาทั่วประเทศมีนโยบายการยกระดับวิทยาลัยอาชีวศึกษาตั้งแต่ " ดีเด่น ชั้นนำ ชั้นนำยอดเยี่ยมและพระราชทาน" ซึ่งมีการประเมิน ๕ ด้าน คือ ๑)ด้านการพัฒนาบุคลากร ๒)ด้านคุณลักษณะของนักศึกษา ๓)ด้านการบริหารกาจัดการ ๔)ด้านพฤติกรรมวิถีพุทธ ๕)ด้านความดีเด่นของสถานศึกษาวิถีพุทธ การศึกษาวิถีพุทธมุ่งเน้นการศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ซึ่งการจะยกวิทยาลัยอาชีวศึกษาวิถีพุทธนั้นจะต้องยกระดับจิตใจผู้บริหารและครูให้สูงขึ้นสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ด้วยเริ่มด้วยความสงบ จบด้วยความฉลาด มีการจัดการเองก็ได้ บริหารให้คนอื่นทำก็ได้ บริหารคนให้สำราญ บริหารงานให้สำเร็จ จึงจะถือว่าเป็นผู้นำในหัวใจคน จะยิ่งใหญ่ยิ่งต้องอยู่ต่ำ สุภาษิตกล่าวว่า "นกมองไม่เห็นฟ้า ปลามองไม่เห็นน้ำ ไส้เดือนมองไม่เห็นดิน"ซึ่งหมายความว่าเราไม่สามารถมองเห็นตนเองโดยเฉพาะในข้อผิดพลาดของตนเอง แม้แต่หมอผ่าตัดที่เก่งที่สุดในโลกยังไม่สามารถผ่าตัดบุคคลที่ตนเองรักได้ เพราะมันทำใจไม่ได้ ต้องอาศัยคนอื่น ในการบริหารต้อง "อะลัง กาตุง ทำเองก็ได้ อะลัง สังวิธาตุง จัดการให้คนอื่นทำก็ได้" นี่คือ นักบริหารที่สุดยอด ในทางพระพุทธศาสนาผู้บริหารต้องร่วมลงมือกระทำด้วย ยกตัวอย่างเช่น มหาตมะคานธี เป็นแบบอย่างของความเป็นผู้นำ โดยการลงพื้นที่ด้วยการนั่งรถไฟไปทั่วประเทศ เพื่อรับรู้ความทุกข์ของคนในประเทศอินเดีย ในหลวงของเราก็เช่นกันออกนอกวังเพื่อใกล้ชิดกับประชาชนมีโครงการมากมาย ดังนั้น ผู้นำ คือ ผู้มีศิลปะในการจูงใจคน เราต้องสร้างให้เขารู้สึกมีร่วมให้ได้ 



การบริหารหมายถึง การทำงานให้สำเร็จโดยอาศัยผู้อื่น ผู้บริหารมี ๒ แบบ คือ ผู้บริหารที่นั่งอยู่บนหัวคน และผู้บริหารที่นั่งอยู่ในหัวใจคน ถ้าเราเป็นผู้บริหารที่นั่งบนหัวใจคนต้องมีธรรมะในการบริหารงาน ผู้บริหารหรือผู้นำต้องฝึกวางตัวเหมือนแม่น้ำ ยิ่งเป็นผู้ใหญ่ยิ่งต้องอยู่ต่ำ หมายถึง เข้าถึง เข้าพบง่าย อำนาจมีพระเดชเป็นอำนาจตามตำแหน่ง และอำนาจพระคุณ ถือว่าเป็นบารมีส่วนตัว ผู้เป็นระดับผู้บริหารสูงต้องมีพระคุณ เมื่อไหร่ควรใช้พระเดชเมื่อไหร่จะใช้พระคุณ ทั้งสองนั้น " พระคุณ"ถือว่าสำคัญมากที่สุด การบริหารงานมีอยู่สามประการคือ ๑)อัตตาธิปไตย คือ ตัวเองเป็นใหญ่ ๒)โลกาธิปไตย คือ คนอื่นเป็นใหญ่ ๓)ธรรมาธิปไตย คือหลักการเป็นใหญ่ ถ้าเรายึดแบบ Lose - Lose ถือว่าเป็นอนาธิปไตย หมายถึง เมื่อฉันไม่ได้เธอก็อย่าได้เหมือนกัน ต่างฝ่ายต่างแพ้ พังพินาศ เราจะทำอย่างไรให้ win-win ถือว่าเป็นธรรมาธิปไตย หมายถึง ชนะทั้งสองฝ่าย อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข แต่ต้องฝึกการเจริญสติอย่างเนื่องในการบริหารชีวิต





"Mindsetวิถีพุทธสู่วิถีปฏิบัติสู่วิถีชีวิต



การเป็นพระวิทยากรพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้บริหารอาชีวศึกษาวิถีพุทธให้เกิดความสุขในการใช้ชีวิตและการทำงาน เพราะเห็นว่า ความสุขกับวิถีพุทธเป็นเรื่องเดียวกัน ถ้าทำงานวิถีพุทธแล้วยังทุกข์แสดงว่าไม่ว่า เพราะ "เหนื่อยไม่ใช่ ใช่ต้องไม่เหนื่อย" คนทำงานขับเคลื่อนวิถีพุทธจะต้องรู้เท่าทันกิเลสหรือมารและทุกเหตุการณ์เข้ามาในชีวิตและการทำงาน ด้วยการมีสติเท่าทัน วิถีพุทธจะต้องพัฒนาเป็นวิถีปฏิบัติและวิถีชีวิตเอาธรรมของพระพุทธเจ้าลงมือทำกับผู้บริหารครูและนักศึกษา เมื่อนำธรรมะของพระพุทธเจ้าไปปฏิบัติอย่างแท้จริง จะส่งผลต่อชีวิต ครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศชาติ วิถีพุทธจึงมีกรอบการพัฒนา ๕ ประการคือ"กายวิถีพุทธ พฤติกรรมวิถีพุทธ จิตใจวิถีพุทธ ปัญญาวิถีพุทธ และชีวิตวิถีพุทธ" 



จึงต้องปรับ Mindset หรือสัมมาทิฐิในการขับเคลื่อนวิถีพุทธสู่องค์กรอาชีวศึกษา เพราะถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงสังคมในจุดที่ยืนด้วยการจุดไฟวิชาการใส่เชื้อความดีเกื้อกูลสังคมหนุนสติปัญญาในการแก้ปัญหาชีวิต ผู้บริหารและครูจึงถือโอกาสในการพัฒนาตนเอง ภายใต้คำว่า "จุดไฟด้วยวิชาการ ใส่เชื้อด้วยความดีงาม เกื้อกูลด้วยความรักศิษย์ และหนุนปัญญา ด้วยการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งการศึกษาไม่มีคำว่าสิ้นสุด เป็นบุคคลผู้บำเพ็ญตนแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งบุคคลในโลกนี้ที่ประสบความสำเร็จล้วนมี Mindset ในทางบวก ซึ่ง Mindset เป็นวิธีคิดในการนำไปสู่พฤติกรรมบวกหรือลบของแต่ละบุคคล จึงแบ่งออก ๒ ประการ คือ ๑)ทัศนคติปิด (Fixed Mindset) เป็นลักษณะบุคคลที่กลัวความผิดพลาด วิ่งหนีคำวิจารณ์ มีความอดทนต่ำ ท้อแท้ง่าย ล้มเลิกเร็ว ประสบความสำเร็จช้า มีคนจำนวนมากที่มี Mindsetแบบนี้ จึงยากที่จะประสบความสำเร็จในการขับเคลื่อน ๒)ทัศนคติเปิด (Growth Mindset) เป็นลักษณะบุคคลที่มีการเรียนรู้ ทุกความผิดพลาดเป็นบทเรียนเป็นประสบการณ์บททดสอบ เพราะยิ่งสูงยิ่งเจอมารตัวใหญ่ ยิ่งสูงยิ่งต้องมีสติในการดำเนินชีวิตและการทำงาน เช่น คุณตูนที่ลุกขึ้นมาทำเพื่อสังคม จนสามารถวิ่งไปอยู่ในหัวใจของผู้คนทั่วประเทศ ถึงช่วงแรกๆ จะมีการวิจารณ์แบบดราม่าแต่คุณตูนได้เปลี่ยนแปลงสังคมในจุดที่ตนเองยืนด้วยการ "ก้ม กราบ กอด"เป็นบุคคลผู้สร้างแรงบันดาลใจ คุณตูนจึงเป็นบุคคลที่มี Mindsetเป็นสัมมาทิฐิ สามารถเปลี่ยนแปลงสังคมได้ การจะขับเคลื่อนวิถีพุทธสู่องค์กรจึงต้องมีMindsetแบบบวก โดยเริ่มจากผู้บริหารและครูในองค์กร ก่อนจะพัฒนาสู่นักศึกษาต่อไป 



ดังนั้น การจะขับเคลื่อนวิถีพุทธได้สำเร็จผู้นำหรือผู้บริหารและครูในวิทยาลัยจะต้องเป็นสัมมาทิฐิหรือมี Mindsetแบบบวก ถึงจะสามารถขับเคลื่อนและเปลี่ยนแปลงสังคมในจุดที่ยืน เพราะผลที่เกิดนั้นจะส่งผลต่อนักศึกษาให้มีวิชาการ วิชาชีพ วิชาชีวิต เป็นคนเก่ง ดี มีความสุข สามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีความสุข เพราะมีเครื่องคุ้มกันทางพระพุทธศาสนา คำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นสิ่งล้ำค่ามาก เราจะขับเคลื่อนอย่างไร? ถือว่าเป็นโจทย์ของคนทำวิถีพุทธต้องตอบคำถามนี้ให้สำเร็จ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เพลง: ผ้าขาดฮัก

ເນື້ອເພງ : ດຣສົມພົງສ໌ ທຳນອງ - ຮ້ອງໂດຍ : suno   คลิกฟังเพลงที่นี่ (Verse 1)   เพราะความจนจำทนนุ่งผ้าขาด ไม่สามารถซื้อผ้าไหมมาสวมใส่ ใช้เข็มปะ...