วันศุกร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2561

"ข้อดี-เสีย"!"มจร"เปิดศึกษาระบบออนไลน์ : สำราญ สมพงษ์ นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร รายงาน




ตามที่ ศ.ดร.สมภาร พรมทา ผู้เชี่ยวชาญด้านศาสนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ได้แสดงความเห็นทางเฟซบุ๊กส่วนตัวสนับสนุนให้ มจร เปิดการเรียนการสอนออนไลน์ โดยยกตัวอย่างมหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษบางแห่งได้เปิดสอนปริญญาโททางพุทธศาสนาออนไลน์มาหลายปีแล้ว  จึงตั้งสมมติฐานการเปิดปริญญาโทสาขาปรัชญาออนไลน์เป็นต้น เมื่อวันที่ 12 เม.ย.2561 ที่ผ่าน 

และวันที่  13 เม.ย.2561 ศ.ดร.สมภาร  ได้แสดงความเห็นอีกครั้งในเรื่องนี้ว่า  ข้อเสนอผมนี้เป็นไปในทางการจัดการมากกว่าการไปตั้งอะไรใหม่ ตอนนี้มหาจุฬาฯ มีคณะกรรมการบริหารหลักสูตรสาขาปรัชญาในระดับปริญญาโทและเอกอยู่แล้ว ได้มาตรฐานตามที่ สกอ. เรียกร้องทุกประการ งานที่เราจะคิดทำก็อยู่ในการกำกับของคณะกรรมการนี้ ซึ่งไม่มีผมอยู่ด้วย เมื่อท่านเห็นว่าน่าจะทำได้ ท่านก็อาจร่างหลักสูตรขึ้นมาอันหนึ่ง ซึ่งตัวเนื้อหาว่าจะเรียนอะไรบ้างผมยินดีเขียนให้ กรรมการก็พิจารณาว่าใช้ได้หรือไม่ได้อย่างไรโดยต้องโยงไปหาเรื่องการจัดการจริง เมื่อลงตัวแล้วก็ขออนุมัติจากมหาวิทยาลัย กรรมการคือผู้ดูแลหลักสูตร กรรมการนี้มีแล้ว ผมเป็นเพียงผู้สอน ท่านก็มอบให้ผมสอนเทอมละสองวิชา ซึ่งก็เท่ากับที่ผมสอนสมัยอยู่จุฬา ก่อนเปิดคงต้องเตรียมการเป็นปีครับ การเรียนทางไกลข้อมูลที่จะใช้ตลอดจนสื่อต้องพร้อม"

อย่างไรก็ตามในการเรียนการสอนระบบออนไลน์นั้นมีทั้งข้อดีข้อเสีย โดยได้รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างสรุปได้ดังนี้

ข้อดี

1. สะดวกสบาย : สามารถวางแผนการใช้เวลาศึกษาได้ด้วยตัวเอง ควบคู่ไปกับการทำงาน  โดยไม่จำเป็ฯต้องเดินทางไปมหาวิทยาลัย จึงทำให้สามารถเรียนได้ทุกที่ที่ต้องการ  ประกอบกับเนื้อหาของหลักสูตรก็สอดคล้อง ด้วยเหตุนี้ส่งผลให้มหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลกต่างพากันเปิดคอร์สมากหมาย และมีผู้ลงทะเบียนเรียนออนไลน์ไม่ต่ำกว่า 5 ล้านคน และมีผู้เรียนต่อชั้นเรียนได้เป็นแสนๆคน

สถาบันการศึกษาระดับโลกอย่าง  McGraw-Hill Education ทำการสำรวจจากการสอบถามนักเรียนที่กำลังศึกษาระดับสูง ค้นพบว่า 81% ของนักเรียนเหล่านี้ใช้  mobile device ในการเรียน และ 85% ของนักเรียนออนไลน์ทำให้เกรดเฉลี่ยของเขาสูงขึ้น ผลวิจัยนี้จึงนับเป็นเครื่อง ยืนยันอย่างนึงว่าการศึกษาออนไลน์มีผลลัพธ์ที่ดีต่อการเรียนรู้ของนักเรียน 

และยังพบว่ามูลค่าทางการตลาดของธุรกิจการศึกษาออนไลน์ ในปี 2553 ที่ผ่านมา สูงถึง 6.05 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ช่วงปี 2555-2558 ซึ่งจะผลักให้มูลค่าของธุรกิจนี้ไปสูงถึง 7.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ พบว่าในปี 2553  นักเรียนนักศึกษาชาวสหรัฐฯ ถึง 6.2 ล้านคน ลงทะเบียนศึกษาในหลักสูตรออนไลน์ เพิ่มจากปี 2545 อย่างมากช่วงนั้นเพียง 1.6 ล้านคนเท่านั้น

ขณะที่ประเทศไทยยังมีการเหลื่อมล้ำทางการศึกษาโดยมีเด็กยากจนมากถึง 4.3 ล้านคน และยังมีเยาวชนมากกว่า 670,000 คน ที่ไม่อยู่ในระบบการศึกษาหรือราว 5% แม้ว่าที่ผ่านมาการลงทุนงบประมาณทางการศึกษาจะสูงกว่า 500,000 ล้านบาท/ปีก็ตาม พร้อมกันนี้ในยุคดิจิทอล สถานะของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยก็ไม่แน่นอนมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเช่นล่าสุดมหาวิทยาลัยศิลปากรออกระเบียบ เรื่องการจัดการส่วนงานภายใน และการยุบเลิก ปี พ.ศ.2561 อย่างเช่นต้องเลี้ยงตัวเองได้และมีอาคารสถานที่เอง ซึ่งมีแนวโน้มยุบภาควิชาปรัชญาลงเป็นสาขาวิชา

ประเทศไทยนั้น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) เปิดจัดการสอนเพื่อสาธารณะมาก่อนยุคอินเทอร์เน็ต พอมาถึงยุคมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้ร่วมในโครงการ Thailand Massive Open Online Course หรือ Thai MOOC การเรียนการสอนออนไลน์ในระบบเปิดสำหรับมหาชนแห่งชาติ เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตแบบออนไลน์ https://www.thaimooc.org เมื่อเดือนมีนาคม 2560  ยังมีมหาวิทยาลัยราคำแหง และมีการเรียนการสอนระบบออนไลน์ด้วย

Thai MOOC คือ ระบบการศึกษาแบบเปิด หรือเรียกสั้น ๆ ว่า การเรียนแบบออนไลน์ โดยที่นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไปสามารถเข้าเรียนผ่านอินเตอร์เน็ตได้โดยไม่มีเงื่อนไขและข้อจำกัดใด ๆ อีกทั้งผู้ที่สนใจเรียนจะไม่เสียค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนเรียน ไม่ต้องสอบเข้า และไม่มีการจำกัดจำนวนผู้เข้าเรียน ซึ่งมีจำนวนวิชาให้ผู้เรียนได้เลือกกว่า 140 วิชา ทั้งนี้ วิชาเรียนที่อยู่ในระบบ Thai MOOC ไม่ว่าจะเป็นรายวิชาทางสังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิชาทางการศึกษา สาธารณสุข มีวิชาอีกหลากหลายมาก มายที่จะให้ผู้เรียนได้เลือก โดยเป็นรายวิชาที่ทางมหาวิทยาลัยผู้เข้าร่วมโครงการ Thai MOOC เป็นผู้สอน

ลักษณะการเรียนจะจัดเรียงคอนเทนต์ไว้เป็นระบบชัดเจน เน้นเรียนแบบวิดีโอเป็นหลัก มีกิจกรรมการเรียนที่เหมือนกับในห้องเรียน จะช่วยตอบสนองในเรื่องของการเรียน มีอาจารย์ผู้สอนและมีผู้เรียนที่อยู่ในระบบจริง ๆ และรับจำนวนได้ไม่จำกัด ตรงนี้จะทำให้การเรียนแตกต่างจากการเรียน e-Learning ในแบบเดิม

อีกทั้ง ยังจัดเก็บฐานข้อมูลผู้เรียนที่เข้ามาเรียนในระบบ สมมติว่าผู้เรียนเข้ามาเรียนสองครั้ง ระบบก็จะเก็บไว้ว่า เข้ามาเรียนแล้ว ทดสอบแล้ว ทำกิจกรรมผ่านในระบบตรงนั้น ทำการประเมินวัดผล ระบบก็จะเก็บฐานข้อมูลนั้นไว้ จะมาเรียนกี่ปีระบบก็จะเก็บไว้ให้ แม้กระทั้งในอนาคตถ้าเรียนจนครบรายวิชาที่คิดว่าจะเอาไปเทียบกับสถาบันใด ผู้เรียนก็สามารถจะหิ้วข้อมูลตรงนี้ไปเทียบการเรียนกับในระบบของสถาบันนั้น ๆ ได้

ไม่เพียงเท่านี้ ยังจับมือร่วมกับสถาบันการจัดการศึกษาตลอดชีวิต ประเทศเกาหลี ผู้ดูแลโครงการการศึกษาในระบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต K-MOOC และสภาความร่วมมือ เพื่อการส่งเสริมการใช้การศึกษาในระบบเปิด JMOOC ประเทศญี่ปุ่น เป็นการยกระดับการศึกษาออนไลน์ของไทย และต่อยอดอนาคตให้ผู้เรียนชาวต่างชาติ ได้มีโอกาสเข้าเรียนการศึกษาของไทย ทั้งยังมีการพัฒนาหลักสูตรร่วมกัน เช่น หลักสูตรการท่องเที่ยว เป็นต้น

สำหรับในส่วนมหาวิทยาลัยเอง ก็มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาเข้ามาใช้ควบคู่กับการสอนในห้องเรียน อย่าง มหาวิทยาลัยมหิดล สร้างระบบ MUX เว็บไซต์เพื่อทบทวนการเรียน หรือบางมหาวิทยาลัยมีการเช็คชื่อเข้าห้องเรียนผ่านคิวอาร์โค้ด โดยไม่ต้องขานชื่อ

ในเวทีเสวนายังเสนอเกี่ยวกับนโยบายการสร้างระบบแผนที่การเรียน ตั้งแต่เริ่มต้นไปจนกระทั้งเรียนจบ เป็นการพาผู้เรียนไปยังเป้าหมายที่ถูกทาง เรียนรู้ในสิ่งที่ผู้เรียนสนใจจริงๆ กับสถาบันการศึกษาที่ตอบโจทย์ เพื่อแนะนำไปสู่ความสำเร็จในชีวิต นอกจากนี้ ยังต้องจัดระบบกลไกเสียใหม่ สร้างความเข้าใจไปพร้อมๆ กับการสร้างมาตรฐานการศึกษาในระบบดิจิทัล

โครงการ Thai MOOC นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับการนำเทคโนโลยีมาช่วยให้ประชาชนเข้าถึงการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น ถึงกระนั้นก็ยังคงต้องร่วมมือกันต่อไปในการสร้างระบบกาศึกษาแบบบูรณาการ โดยปัญหาหลักยังเป็นเรื่องที่ท้าทายว่าจะทำอย่างไรที่จะให้ลูกหลานเข้าไปเรียนรู้ผ่านคอนเทนต์บนออนไลน์ จากความสนใจของตนเองโดยไม่ต้องมีใครบังคับด้วยความเต็มใจ

2. ที่ราคาไม่แพง : ผู้ระบบออนไลน์ไม่จำเป็นต้องเดินทางมหาวิทยาลัยสามารถโหลดตำราที่เรียนได้ฟรี จึงทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย  

3. หลักสูตรที่เรียนมีความหลากหลายที่ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้มากมาย และได้รับการรับรอง อย่างเช่นมหาวิทยาลัยศรีปทุมก้าวสู่การเป็น  e-University  จัดการเรียนการสอนแบบ e-Learning รองรับหลักสูตรออนไลน์  โดยมีพันธกิจหลัก  5 พันธกิจ ดังนี้ 1. e-Learning Infrastructure จัดหาและเตรียมความพร้อมด้านสาธารณูปโภคด้านการจัดการเรียนการสอนด้วยระบบ e-Learning ที่เหมาะสมต่อการให้บริการจัดการเรียนการสอนทั้งในรูปแบบของ Supplement, Complement และ Replacement  2.Production Unit ผลิตสื่อการสอน e-Learning สำหรับคณะ/วิชาของมหาวิทยาลัย 3.Educational Technology, Academic and Technical Support in e-Learning สนับสนุนด้านวิชาการและเทคโนโลยีด้าน e-Learning สำหรับการจัดการเรียนการสอนแก่บุคลากรมหาวิทยาลัย 4.Human Resource Development พัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัยในการใช้ e-Learning เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอน 5. Research & Develop e-Learning Technology วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการสอนผ่านระบบ e-Learning ที่เหมาะสมกับการใช้งานของมหาวิทยาลัยทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

ขณะที่ Thai MOOC (thaimooc.org) ได้เปิดหลักสูตรอย่างเช่น  การเงินส่วนบุคคล (Personal Finance) – Naresuan University การออกแบบกราฟิกโดยใช้คอมพิวเตอร์ (Computer Based Graphics Design) – KMUTT การถ่ายภาพเบื้องต้น (Basic Photography) – KMITL การถ่ายภาพขั้นสูงเพื่องานโฆษณา (Advanced Photography for Advertising) – KMUTT การออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ประกอบการ (Product Design for Entrepreneur) – Sukhothai Thammathirat Open University (ข้อมูลจากhttps://thematter.co/pulse/7-mooc-from-thai-uni/46575)

4. มีความก้าวหน้าในอาชีพ เพราะหลักสูตรปริญญาอนุญาตให้เรียนควบคู่กับการทำงานด้วย หลังจากนั้นสามารถเรียนต่อระดับสูงขึ้นได้  และเป็นการส่งเสริมให้อาจารย์มีเวลาในการทำวิจัย


ข้อเสีย

1.  การแยก:นักศึกษาที่ใช้เวลาเรียนออนไลน์มีโอกาสที่จะมีปฏิสัมพันธ์ใบหน้าเพื่อใบหน้ากับอาจารย์และนักเรียนคนอื่น ๆ ไม่มี การสื่อสารเป็นผ่านทาง e-mail หรือกลุ่มสนทนาออนไลน์ มันเป็นเรื่องยากอย่างยิ่งที่จะพัฒนาความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมชั้นเรียนในหลักสูตรด้วยตนเอง ในทางตรงกันข้ามวิทยาลัยแบบดั้งเดิมมีมหาวิทยาลัยเพื่อให้คุณสามารถเข้าสังคมหรือการศึกษากับนักเรียนคนอื่น นอกจากนี้คุณยังสามารถหยุดโดยสำนักงานของอาจารย์ที่จะถามคำถามหรือรับข้อเสนอแนะ

2. ค่าใช้จ่ายในเทคโนโลยีและการตั้งเวลา:โปรแกรมซอฟแวร์และการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของการเรียนออนไลน์ นักเรียนอาจจะต้องเรียนรู้คอมพิวเตอร์และการแก้ไขปัญหาทักษะใหม่ซึ่งอาจต้องใช้เวลา นอกจากนี้นักศึกษายังอาจจะต้องซื้อซอฟต์แวร์การปรับปรุงเพื่อให้เข้าถึงโปรแกรมออนไลน์ของพวกเขาหรือจ่ายเพิ่มในการอัพเกรดอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง นักโทษก็คือการที่นักเรียนต้องปรับตารางเวลาของรอบวันที่ครบกำหนดของงานที่มอบหมายซึ่งอาจจะมีปัญหาสำหรับนักเรียนต่างชาติหรือผู้ที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในเขตเวลาเดียวกับที่อาจารย์

3. ประสิทธิผลของการเรียนรู้:โปรแกรมออนไลน์ให้นักเรียนมีอิสระมากขึ้นซึ่งอาจจะเป็นปัญหาสำหรับนักเรียนที่ไม่ทราบวิธีจัดการกับมัน นอกจากนี้หลักสูตรออนไลน์ไม่ได้มีอาจารย์กระตุ้นให้คุณอยู่ในงานซึ่งหมายความว่านักเรียนมีความรับผิดชอบในการเรียนรู้ของตัวเองและพวกเขาอาจจะไม่ได้เป็นเจ้าของขึ้นไป มันเป็นเรื่องง่ายที่จะตกอยู่เบื้องหลังและไม่ได้รู้สึกมีแรงจูงใจที่จะจับขึ้น ไม่มีเครื่องมือในการสอนในชั้นเรียนเพื่อช่วยให้นักเรียนกับการเรียนรู้ของพวกเขาก็อาจจะทำให้กระบวนการเรียนรู้ที่ยากขึ้นดังนั้น ในท้ายที่สุดนักเรียนจะต้องเป็นตัวแรงจูงใจที่จะดำเนินการผ่านหลักสูตรและโปรแกรมของพวกเขาในเวลาที่เหมาะสม

4.ปัญหาสำหรับอาจารย์ผู้สอน:การศึกษาออนไลน์เป็นเพียงเล็กน้อยที่ท้าทายสำหรับผู้สอนได้เป็นอย่างดี ในฐานะที่เป็นซอฟแวร์จะได้รับที่สูงขึ้นอาจารย์พยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทัน อาจารย์ดั้งเดิมเชื่อในการบรรยายและเอกสารประกอบคำบรรยายและอาจมีเวลาที่ยากการปรับระบบการเรียนการสอนออนไลน์


1 ความคิดเห็น:

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...