วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2561
สกอ.แนะมหาวิทยาลัยปรับหลักสูตรตอบโจทย์พัฒนาประเทศ
"มจร"ร่วมภาคีเครือข่ายจัดการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 2 เรื่อง"คุณภาพอุดมศึกษาไทยในยุค Thailand 4.0" พระราชปริยัติกวี ศ.ดร.รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการหนุนปรับปัญญาและศรัทธาและความรู้กับพัฒนาคนให้สมดุล รองเลขาธิการ สกอ. แนะมหาวิทยาลัยปรับหลักสูตรตอบโจทย์พัฒนาประเทศ
วันที่ 30 เม.ย.2561 ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา คณะสังคมศาสตร์ มจร ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 2 เรื่อง"คุณภาพอุดมศึกษาไทยในยุค Thailand 4.0" โดยมีพระราชปริยัติกวี ศ.ดร.รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มจร เป็นประธานเปิดงาน
ในการนี้ พระราชปริยัติกวี กล่าวว่า คณะสังคมศาสตร์ได้จัดการประชุมวิชาการนานาชาติ จึงขออนุโมทนากับคณะสังคมศาสตร์และภาคีเครือข่าย จึงมีการนำเสนอผลงานวิชาการอันจะเป็นคุณูปการต่อสังคม คุณภาพอุดมศึกษาด้านการศึกษาไทยมี 3 ประเด็นหลัก คือ 1)วัสดุอุปกรณ์อาคารสถานที่ 2)ผู้บริหารและครูอาจารย์ 3) คุณภาพของบัณฑิต ความรู้ความสามารถสอดคล้องกับสังคมอย่างไร เพราะเราเห็นคนจบ ดร.ยังไปลงทะเบียนคนจนอยู่ กำลังสะท้อนอะไรในระบบการศึกษาอุดมศึกษา ด้านอาคารสถานที่ในไทยแลนด์ 4.0 ต้องมีการปรับให้เป็นแหล่งศึกษาด้านค้นคว้าจะต้องมีการบริหารจัดการ ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดนวัตกรรมต่างๆ สถาบันอุดมศึกษาต้องมีการปรับตัวอย่างยิ่งใหญ่ ด้านความสามารถของผู้บริหารและครูอาจารย์ เรามีการเปลี่ยนผ่านกับผู้บริหารยุคเก่ากับผู้บริหารยุคใหม่ ซึ่งวิธีคิดยังไปด้วยกันไม่ได้ (mindset) ซึ่งวิธีคิดได้รับการหล่อหลอมด้วยวิธีคิดกรอบใดกรอบหนึ่ง ซึ่งไม่มีส่วนใดไปช่วยให้ลูกศิษย์เกิดแรงบันดาลใจมีความคิดสร้างสรรค์เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ เพราะครูอาจารย์เน้นเพียงแต่การบรรยายเท่านั้น และด้านคุณภาพของบัณฑิต
"เราจะบูรณาการอย่างไรในตัวบุคคลหนึ่ง คือ ศรัทธาและปัญญา ศรัทธาในศาสนาของตนเองนับถือศรัทธาในความเป็นมนุษย์ของตนเองและผู้อื่นและปัญญาในการประกอบวิชาชีพ ยิ่งปัญญามากยิ่งจะต้องปลูกศรัทธา หรือมีศรัทธาต้องประกอบด้วยปัญญา"ศรัทธาเป็นต้นกำเนิดของความเจริญงอกงาม" อย่าเอาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไปรวมไปการทำมาหากิน แต่ต้องใช้ปัญญาในการประกอบอาชีพ เราเห็นคนสะเดาะเคราะห์เมื่อเจอปัญหาแม้จะจบ ดร.ก็ตาม ทำไมเรายังไม่ใช้ปัญญาในการแก้ปัญหานั้นๆ การอุดมศึกษาไทยจะช่วยให้สังคมดีขึ้นจะต้องสร้าง"ปัญญาและศรัทธา"ให้เกิดขึ้นถือว่าเป็นโจทย์สำคัญของการศึกษาในระดับอุดมศึกษาไทยในยุคไทยแลนด์ 4.0" รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มจร กล่าว
ดร.อรสา ภาววิมล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา บรรยายพิเศษเรื่อง"ทิศทางการปรับตัวของมหาวิทยาลัยไทยในบริบทที่เปลี่ยนแปลง กล่าวว่า แสดงความความยินดีกับมหาจุฬาและสถาบันภาคีเครือข่ายในการจัดวิชาการที่มีความร่วมมือ เพราะการทำงานในความร่วมมือได้รู้จักกันและเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในความแตกต่างกันระหว่างสถาบัน โดยเฉพาะมหาลัยสงฆ์ต้องมีการทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยภายนอก เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาในการแลกเปลี่ยนงานวิชาการ ถือว่าเป็นรูปแบบหนึ่งในการจะไปพัฒนาคุณภาพ การขับเคลื่อนอุดมศึกษาจากภาครัฐ ปัจจุบันเราอยู่ในช่วงภาวะของการเปลี่ยนแปลง อะไรบ้างที่เป็นความท้าทายในการปรับตัว ของอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยไทย อุดมศึกษาจึงถือว่าพัฒนาประเทศโดยตรงเพราะเป็นการสร้างคนออกไปทำงาน อุดมศึกษาจึงสร้างคนที่มีศักยภาพ สามารถไปดำรงชีวิตและขับเคลื่อนสังคม เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศ อุดมศึกษาจึงทำงานอันเป็นภาระสำคัญสร้างคนสำหรับประเทศชาติ คือ สร้างคน จึงต้องมีการสร้างงานวิจัยในการขับเคลื่อนประเทศด้วยการสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ โดยไม่ต้องพึ่งพาต่างประเทศ ผลิตขึ้นมาเองและขายให้ต่างประเทศ จึงมี 2 เรื่องที่ท้าทายสถาบันนอุดมศึกษาคือ
1)ทิศทางและนโยบายของประเทศ 2)การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและในโลก ในปัจจุบันไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์ใดๆในโลกย่อมมีผลกระทบต่อกันหมด เพราะเราอยู่ในโลกที่ไร้พรมแดนสิ่งที่กระทบมากๆคือทิศทางและนโยบายของประเทศเรารู้จักกันหรือยังผู้บริหารทราบยุทธศาสตร์ชาติอย่างไร เราเข้าใจทิศทางอย่างไรเราควรจะสร้างงานวิจัยแบบใดถึงจะตอบโจทย์ เราควรจะสร้างคนอย่างไรเพื่อตอบโจทย์ในยุคปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงอะไรที่มีผลกระทบต่อการสร้างคน
ทิศทางและนโยบายประเทศมี 2 ประการ คือ "ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และโมเดลไทยแลนด์ 4.0 "ซึ่งเป็นทิศทางในการขับเคลื่อนประเทศไทย เรื่องไร้พรมแดน เทคโนโลยี สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งทิศทางการขับเคลื่อนประเทศไทยคือ 1) ความมั่นคงคือการป้องกันประเทศ 2)ความมั่งคั่งคือ ขีดความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจ มีระบบเศรษฐกิจที่ดี มีการติดต่อค้าขายอยู่ในเวทีสากล ต้องอาศัยมหาวิทยาลัยในการขับเคลื่อน 3)ความยั่งยืนถือว่า
เป็นหัวใจการพัฒนาชาติ 4)การสร้างโอกาสเสมอเท่าเทียมกัน เพราะเราเป็นติดกับดักความเหลื่อมล้ำ เราต้องก้าวข้าว 5)การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เราเผชิญหน้ากับภัยพิบัติ จึงต้องดูแลสิ่งแวดล้อม 6)การบริหารภาครัฐ เพราะเรามี 19 กระทรวงกับ 1 ส่วนงาน ในการขับเคลื่อนประเทศ กลไกหลักคือภาครัฐ ภาครัฐจะต้องมีคุณภาพ เนื่องจากคนมีกลไลสำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนทุกเรื่อง คนเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนา อุดมศึกษาจึงมีความสำคัญ สถานศึกษาสร้างคนออกไปในการขับเคลื่อนประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติจะประสบความสำเร็จหรือไม่อย่างไรคนจะเป็นตัวบอกซึ่งคุณภาพหรือศักยภาพของไทยจะเป็นตัวบอกถึงยุทธศาสตร์ประเทศ คนจึงมีความสำคัญที่สำคัญ คนจึงเป็นหัวใจในการพัฒนาประเทศจึงให้ความสำคัญของคน ถามว่าคนไทยมีความพร้อมจะขับเคลื่อนประเทศอย่างไร สถาบันอุดมศึกษาจะทำหน้าที่ให้ประเทศชาติได้อย่างไร? ไทยแลนด์ 4.0 จะเป็นตัวขับเคลื่อนสังคมเศรษฐกิจ ต่อไปไทยจะต้องเป็นสังคมเศรษฐกิจที่สร้างมูลค่าผ่านเทคโนโลยี สร้างมูลค่าเพิ่มจากภูมิปัญญาประเทศ ทำให้เราซึ่งเราผ่านพ้นจากกับดักประเทศไทย 3 เรื่อง คือ
1)กำดักประเทศรายได้ปานกลาง เราเฉลี่ยต่อหัวต่อปีแค่ปานกลาง เรามีรายได้แค่ 9,000 บาทต่อหัว ต่างจากสิงโปร์ มาเลเชีย บรูไน รายได้หลักหมื่น แต่ไทยเรายังไม่ได้ เราต้องสร้างเทคโนโลยี หมายถึง "เศรษฐกิจจึงต้องพึ่งพิงเทคโนโลยี" 2)กับดักความเหลื่อมล้ำทางสังคม ไทยเราคนที่ถือเงินจำนวนมากมีปริมาณน้อย ส่วนที่มีฐานะไม่ดีมีมากในประเทศ เราจึงต้องสร้างคนให้มีคุณภาพมีการศึกษา ทำให้มีรายได้ที่ช่วยตนเอง เราต้องสร้างคนให้มีอาชีพ สร้างรายได้ มีงานทำ 3)กับดักมีการพัฒนาที่ไม่สมดุล เด่นเรื่องหนึ่งด้อยเรื่องหนึ่งก็ไม่สามารถไปด้วยกันได้ เราจึงต้องพัฒนาคน
คำถามทิศทางประเทศไปแบบนี้แล้วมหาวิทยาลัยจะไปอย่างไร? เป็นโจทย์ของมหาลัย ว่าบัณฑิตควรจะผลิตในสาขาใด ถึงจะตอบโจทย์ความต้องการให้กับประเทศ เพื่อเราจะไปในทิศทางเดียวกัน มหาจุฬาผลิตนิสิตที่ตอบโจทย์ในการพัฒนาประเทศในด้านใด งานวิจัยที่นิสิตกระทำตอบโจทย์สาขาอย่างไร มหาวิทยาลัยจึงต้องทบทวนแผน ปัจจุบันเรามีโครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ รัฐลงทุนมากเพื่อให้มหาวิทยาลัยตอบโจทย์ประเทศ กับการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ให้ตอบโจทย์ประเทศ มหาวิทยาลัยและอาชีวศึกษาเป็นหนึ่งในนั้น รัฐบาลยอมลงทุนเพื่ออะไร เพราะมหาวิทยาลัยผลิตบัณฑิตไม่ตรงเป้าหมายตามความต้องการของการพัฒนาประเทศในระยะเร่งด่วน จะมีการรับนักศึกษาปีนี้ จะพัฒนาคนในปีนี้ มหาวิทยาลัยจะต้องปรับภายในปีนี้ ถ้าไม่ปรับตัวจึงอยู่ยากมาก จะทำอย่างไรจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการเกษตร ให้ชาวนาที่ใช้เทคโนโลยีให้ทำน้อยได้มาก เทคโนโลยีมาช่วยในทุกด้าน หุ่นยนต์เข้ามามีบทบาทมากในยุคปัจจุบัน เช่น การผลิตหรือการท่องเที่ยว การเปลี่ยนแปลงเราทุกคนกระทบประกอบด้วย
1)"โลกไร้พรมแดน" การเชื่อมต่อเชื่อมโยง เรารู้ทันทีที่เกิดอะไรขึ้นในอเมริกา การสื่อสารเร็วรวดมากด้านข้อมูลสื่อสาร คนจึงต้องใช้เทคโนโลยีให้เป็น มีภาษาสื่อสาร เรียนรู้วัฒนธรรมระหว่างกันในความแตกต่าง จึงต้องพัฒนาคนให้อยู่ได้ในโลกยุคใหม่ ๒)"ข้อมูลข่าวสาร" ระบบข้อมูลสื่อสาร ทำอย่างไรจะใช้ประโยชน์จากข้อมูลให้มากที่สุด เราจะจัดการข้อมูลอย่างไร 3)"ด้านอินเทอเน็ต" เราคงไม่สามารถปฏิเสธอินเทอเน็ตเพราะในโลกปัจจุบัน เราใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมทั้งหมด เราสามารถสื่อสารได้ทั่วโลกเชื่อมโยง เป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เราใช้โทรศัพท์ทำงานมีกลุ่มไลน์ทำงาน ปัจจุบันเราสามารถเรียนที่ไหนก็ได้ เราจึงต้องกลับมาวิเคราะห์ว่ามหาวิทยาลัยจำเป็นหรือไม่ เราควรจะทำรูปแบบใดทำให้คนมาเรียนกับเรา เพราะคนทุกวันสงสัยอะไรกดดู สิ่งที่คนจะพัฒนาคือ "ทักษะ" ทักษะอะไรที่เด็กไม่สามารถหาได้ต้องมาหาในมหาวิทยาลัย ทักษะแบบใดถือว่าเป็นโจทย์ท้าทายของมหาวิทยาลัย บัณฑิตไทยมีทักษะอะไรที่พร้อมสำหรับโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง เป็นเรื่องสำคัญมหาวิทยาลัยต้องวิเคราะห์ ซึ่งทักษะของคนยุคใหม่ มี 10 ทักษะคือ
การแก้ปัญหา การตัดสินใจ การพัฒนาอารมณ์ การคิดยืดหยุ่น การบริการ มหาวิทยาลัยต้องใช้ทักษะเป็นฐานว่าเด็กขาดอะไร ทักษะอะไรที่นักศึกษาควรจะได้จากมหาวิทยาลัย บัณฑิตไทยมีทักษะอะไรที่พร้อม ครูอาจารย์ต้องพัฒนาทักษะก่อน ทักษะมี 10 ประการ ความรู้เด็กสามารถหาได้เท่ากับอาจารย์แต่ทักษะนักศึกษาจะต้องอาศัยครูอาจารย์ในการสอน "วิธีคิดและทักษะ" ถ้าเราไม่ใช้เทคโนโลยีจะทำให้เราลำบากมากกว่าคนอื่นเพราะเป็นสังคมเทคโนโลยี นักศึกษาของไทยลดลงทุกปี ปัจจุบันเป็นแสนคนกระทบทั้งประเทศ เด็กส่วนหนึ่งจะไปเรียนอาชีวศึกษาซึ่งเป็นความต้องการของประเทศมาก ปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยจะลดลง อาจารย์ส่วนหนึ่งกำลังจะตกงานและตกงานเรียบแล้ว อาจารย์ที่เปิดหลักสูตรที่ขาดการปรับตัวตกงานแน่นอน
เมื่อไม่กี่ปีมานี้ออสเตรเลียเอาอาจารย์ออกจำนวนมาก อเมริกาตอนนี้ปิดมหาวิทยาลัยแล้วมากกว่า 500 มหาวิทยาลัยเพราะโลกเปลี่ยนแปลง ในปัจจุบันคนไปเรียนคอร์ดสั้นๆ แล้วสามารถทำงานทำอาชีพได้เลย เลี้ยงตนเองได้ เราได้รับผลกระทบแน่นอน จึงถามว่ามหาวิทยาลัยจะปรับตัวอย่างไร การแก้ปัญหาคือ มหาวิทยาลัยต้องพัฒนาคนทุกช่วงวัย มหาวิทยาลัยจะลงไปช่วยสถาบันการศึกษาตั้งแต่เด็กประถมศึกษา อาจารย์มหาวิทยาลัยต้องสร้างเครือข่ายช่วยเรื่องอะไร ออกไปทำงานกับคนในชุมชนแต่มหาวิทยาลัยต้องมีประสบการณ์ และมหาวิทยาลัยต้องปรับรูปแบบการเรียนการสอน พัฒนาทักษะวิธีคิดวิธีจัดการทางอารมณ์
เราต้องขยายกลุ่มเป้าหมายอย่ามองแค่เด็กปริญญาตรี " มหาจุฬาต้องเร่งปรับหลักสูตรเพื่อให้ตอบโจทย์ประเทศและต้องฝึกให้เด็กคิดเกิดทักษะ เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ต้องเจอของจริง " เด็กต้องเรียนรู้จากสถานที่จริงเพื่อเกิดประสบการณ์ตรงในการพัฒนาตนเอง และมีงานวิจัยที่มีความสมดุลคือเอาไปตอบโจทย์ประเทศและได้องค์ความรู้ มหาวิทยาลัยต้องเร่งสร้างงานวิจัยให้ตอบโจทย์ประเทศ สาขาที่สอนเชื่อมโยงอะไร ต้องลงมือทำตอนนี้ มหาวิทยาลัยต้องเปิดคอร์ดให้ตอบโจทย์ เพราะไม่มีศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่งตอบโจทย์หรือแก้ปัญหาได้ทั้งหมดแต่ต้องบูรณาการศาสตร์ สังคมศาสตร์ ครุศาสตร์ ต้องบูรณาการศาสตร์
เราต้องสร้างหลักสูตรให้นักศึกษาตอบโจทย์รายบุคคล ให้นักศึกษาเจอสถานการณ์จริง เพื่อมีประสบการณ์ตรง มหาจุฬาจะต้องทำทันทีเรารอไม่ได้แล้วเพราะการเปลี่ยนแปลงของโลก อุดมศึกษาต้องสร้างคนให้มีงานทำ สร้างให้คนเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยของสิงคโปร์มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต คนสิงคโปร์ใฝ่เรียนรู้ตลอดเวลาตลอดชีวิต นักศึกษาอายุมากที่สุดอายุ 82 ปี เป็นการใฝ่เรียนรู้ตลอดเวลา ปัจจุบันนี้ "ปลาที่ว่ายเร็วจะกินปลาที่ว่ายช้า" เราต้องสร้างหลักสูตรให้ตอบโจทย์ประเทศในการพัฒนาคน
ดร.อรสา กล่าวสรุปว่า ดังนั้น ช่วงบ่ายมีการนำเสนอผลงานทางวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่างและอภิปรายทางวิชาการเรื่องศาสนธรรมกับการพัฒนาไทยแลนด์ ๔.๐ และประเทศไทยกับการกับการก้าวสู่ประชาธิปไตยที่มั่นคง มีการแลกเปลี่ยนในมิติของวิชาการเพื่อเกิดองค์ความรู้ในการวิจัยและพัฒนาสังคมสืบไป
..................
(หมายเหตุ ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก Pramote OD Pantapatพระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
วิเคราะห์ “จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์
วิเคราะห์ “จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น