วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2561

เปิดรับสมัครแล้ว!ป.โท-เอก สันติศึกษามหาจุฬาฯ พัฒนาชีวิตและสังคมอุดมสันติ





วันที่ 26 เม.ย.2561 พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,รศ.ดร. ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ ผู้อำนวยการหลักสูตรปริญญาโท และปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา เปิดเผยว่า สงครามและความรุนแรงมีจุดเริ่มต้นจากใจ ฉันใด สันติภาพก็เริ่มต้นจากใจ ฉันนั้น   แต่สิ่งเดียวที่จะทำหน้าที่คลี่คลาย ระงับ และดับสงครามและความรุนแรง คือ "สันติภาพ"  ยิ่งหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งสันติภาพออกไปได้อย่างกว้างขวางมากเพียงใด ยิ่งทำให้เชื้อร้ายแห่งสงครามและความรุนแรงหยุดชงัก และเสื่อมสลายตายลงมากเพียงนั้น 


"การเปิดหลักสูตรปริญญาโท และปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา ทั้งภาคภาษาไทย และนานาชาติ  เพื่อให้มนุษยชาติเข้ามาศึกษา เรียนรู้ และพัฒนา จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการปิดโอกาสมิให้เชื้อร้ายแห่งสงครามและความรุนแรงเข้ามาทำเกาะกัดกินจิตใจ แล้วหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งสันติภาพลงสู่จิตใจ ให้เมล็ดพันธุ์แห่งสันติสุขได้เจริญเติบโตและงอกงามขึ้นในทุกวินาทีแห่งลมหายใจ" ผู้อำนวยการหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร กล่าวและว่า 

"สันติ"  หรือ "ความสุข สงบเย็น"  จากการเรียนหลักสูตรสันติศึกษา จึงเป็นสิ่งที่จะทำหน้าที่เติมเต็มเพื่อสร้างคุณค่าและความหมายแก่ชีวิต สันติศึกษาจึงไม่ใช่วิชาชีพ แต่เป็นวิชาชีวิต  ชีวิตที่เปี่ยมล้นด้วยความสุข สงบ เย็น  ชีวิตที่พร้อมจะหยิบยื่นลมหายใจที่เยือกเย็น และใช้ชีวิตให้เป็นประโยชน์แก่มวลมนุษยชาติ บนพื้นฐานของ "สติ ขันติ และสันติ" 

ทั้งนี้สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่ https://www.facebook.com/peace.mcu/posts/2076884512583946

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...