วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2561

แนะปั้นเด็กอาชีวศึกษาเป็นสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่



ผอ.สำนักงานครูพระสอนศีลธรรม มจร  แนะปั้นเด็กอาชีวศึกษาเป็นสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ ดันพัฒนาวิถีพุทธอาชีวศึกษาเป็นวาระแห่งชาติ บูรณาการกับทุกรายวิชาของอาชีวศึกษา หวังเป็นต้นแบบคนดีของสังคมไทย 

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จัดโครงการอบรม "พัฒนาผู้บริหารครูสู่การพัฒนาวิทยาลัยวิถีพุทธระดับชั้นนำเพื่อขับเคลื่อนวิถีพุทธพระราชทาน" ระหว่างวันที่ 18-21 เดือนเมษายน พ.ศ.2561  ณ อาคารวิปัสสนาธุระ  มจร  โดยมีผู้บริหารและครูจากวิทยาลัยอาชีวศึกษาจากทั่วประเทศจำนวน 27  สถาบัน เข้าร่วมจำนวน 150 คน  เนื่องมาจากปัญหาที่เกิดขึ้นกับนักศึกษา ส่งผลให้นักศึกษาขาดคุณธรรมจริยธรรมจึงมีการขับเคลื่อนวิทยาลัยอาชีวศึกษาวิถีพุทธทั้งระบบ 



ดร.บุญส่ง จำปาโพธิ์ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาประธานฝ่ายฆราวาส กล่าวว่า วิทยาลัยอาชีวศึกษาถือว่าเป็นวาระแห่งชาติ เป็นความเร่งด่วนที่สถานศึกษาจะต้องพัฒนานักศึกษาของแต่ละสถานศึกษาจึงต้องเริ่มต้นที่ผู้บริหารและคณะครู สิ่งที่ประธานกล่าวย้ำคือ ต่อจากนี้ไปวิทยาลัยอาชีวศึกษาทั่วประเทศต้องมีการบูรณาการวิชาพระพุทธศาสนาในทุกรายวิชา ทุกกิจกรรม เพราะวิชาพระพุทธศาสนาต้องผ่านการปฏิบัติเท่านั้นไม่สามารถวัดได้จากตัวเลขแต่วัดจากพฤติกรรมของนักศึกษา เป้าหมายสำคัญคือ นักศึกษาเป็นคนดีของสังคมโดยเริ่มต้นจากผู้บริหารดีและครูดีก่อน 



พระศรีธรรมภาณี ผู้อำนวยการสำนักงานครูพระสอนศีลธรรม มจร ซึ่งเป็นพระสงฆ์เถระที่ทำงานด้านวิถีพุทธมายาวนานเกิดผลอันประจักษ์ยิ่ง ซึ่ง "กำลังใจทางโลกคือรางวัล กำลังใจทางธรรมคือธรรมโอสถ" เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ กล่าวว่า จัดการศึกษาพระพุทธศาสนาบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม ด้วยการนำวิชาที่ศึกษาเยียวยาคนในสังคมด้วยการพัฒนาจิตใจ มจร จึงผลิตนิสิตที่ "คนเก่ง คนดี มีความสุข" ออกไปสู่สังคม โดยจึงมีสาขาในประเทศไทยเป็นจำนวนมากและสาขาในต่างประเทศ ทำให้นิสิตของ มจร ที่สำเร็จการศึกษาแล้วออกไปทำงานเพื่อสังคมในมิติต่างๆ 

มจร กำลังสร้างวัดมหาจุฬาฯเพื่อสร้างความมั่นคงทางพระพุทธศาสนา มหาจุฬานำธรรมะจากพระไตรปิฏกให้มีชีวิต รัชกาลที่ 5 ทรงห่วงใยบ้านเมืองมาก พระองค์ได้ฝากการศึกษาไว้กับพระสงฆ์ให้ช่วยสั่งสอนประชาชนให้เป็นคนดี อดีตคนมีความรู้จะเป็นคนดี แต่ในปัจจุบันคนมีความรู้อาจจะเป็นคนไม่ดีก็ได้ จึงฝากให้พระสงฆ์ช่วยจัดการศึกษาให้คนในสังคม เตือนพระสงฆ์ว่า "อย่าห่วงแต่การข้างวัด" หมายถึง สอนเพียงแต่ภายในวัด แต่ต้องออกไปสอนนอกวัด สมัยรัชกาลที่ 9 ตรัสว่า "เราไม่สามารถทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ แต่เราต้องสนับสนุนคนดีให้บริหารปกครองบ้านเมือง" 

เรานี้ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับครูผู้บริหารสถานศึกษาทั้งนั้น เราจึงต้องช่วยกันจัดการศึกษาให้นักศึกษาเก่ง ดี มีความสุข ความเก่งเราสอนได้ แต่ความดีและความสุขเราจะสอนอย่างไร? เราจะผลิตสินค้าออกสู่สังคมอย่างไรให้มีคุณภาพ ครูจึงมี 2 ประเภท คือ ครูคนใหม่และครูคนเก่า สอนให้เด็กเก่งต้องเทคโนโลยี สอนให้เด็กเป็นคนดีต้องมีต้นแบบ เราต้องสอนให้เด็กเป็นสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ล่าสุด คนเดียวเก่งทุกเรื่อง ทำได้ทุกเรื่อง แต่ระบบต้องดีพร้อมใช้งานได้ทุกรูปแบบ ครูจึงต้องสอนนักศึกษาให้เป็นคนดี 

ผู้อำนวยการสำนักงานครูพระสอนศีลธรรม มจร กล่าวด้วยว่า ดังนั้น ปัจจุบันคนในสังคมนำลูกมาบวชสามเณรภาคฤดูร้อนหรือเรียนพระพุทธศาสนาเหตุผลเพราะอยากให้ลูกเป็นคนดี พ่อแม่มี 2  สายคือ 1)สายกวดวิชามุ่งให้ลูกเป็นคนเก่งที่สุด 2)สายส่งลูกเรียนพระพุทธศาสนา เพื่อให้ลูกเป็นคนดีที่สุด วิถีพุทธจะเกิดขึ้นได้จึงต้องเริ่มจากบุคลากรในวิทยาลัย จัดสถานที่ให้เอื้อต่อการเรียนรู้วิถีพุทธ จัดประเพณีวิถีพุทธ จัดหลักสูตรวิถีพุทธ จัดกิจกรรมวิถีพุทธซึ่งในปีนี้จะมีการจัดกิจกรรมอาชีวศึกษาวิถีพุทธจากทั่วประเทศ จะทำให้ธรรมะมีชีวิต พระพุทธศาสนาของเราเป็นคุณค่าอันยิ่งใหญ่ โดยสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันพระพุทธศาสนาจึงเป็นของดีอันล้ำค่าสำหรับสังคมไทย เราจงอย่าลืมของดีเหล่านี้สู่ลูกหลานของเรา เรากำลังกินบุญเก่าจากบรรพบุรุษของเรา ขอให้ครูผู้บริหารวิถีพุทธทุกท่านถ่ายทอดวิชาพระพุทธศาสนาให้ลูกหลานของเราสู่วิชาชีพวิชาชีวิตสืบไป

............

(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊กPramote OD Pantapat พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท  นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"สมเด็จชิน" เปิดสอบนักธรรมชั้นโท-เอก ชี้ชาวพุทธต้องเข้าถึง "3 ป." ให้สมบูรณ์ - แนะปรับรูปแบบให้เข้ากับยุค AI

  เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2567 เป็นวันแรกของการสอบธรรมสนามหลวง นักธรรมชั้น โท-เอก ประจำปีการศึกษา 2567 สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ กรรมการมหาเถรสมา...