วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
ชูสติศึกษาบนเวทีพุทธเมืองปารีส เป็นฐานใช้ AI สร้างนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์
'ผอ.หลักสูตรสันติศึกษา มจร'ชูสติศึกษาบนเวทีพุทธเมืองปารีส เป็นฐานใช้ AI สร้างนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์
วันที่ 5 พ.ย.2561 พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติและหลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เปิดเผยว่า ได้รับนิมนต์จากสถาบันวิชาการพระพุทธศาสนา ลินฮ์ ซอน (Academie Bouddhisque Linh-Son) เมืองปารีส ฝรั่งเศสมาเป็นองค์ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "การศึกษาแนวพุทธเพื่อสันติภาพอย่างยั่งยืน" เพื่อแลกเปลี่ยนหลักการ และแนวทางพัฒนาการศึกษาระหว่างพระพุทธศาสนากับแนวคิดของตะวันตก ซึ่งงานนี้จะจัดขึ้นในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2561
ต่อมาวันนี้(5 พ.ย.)ได้โพสต์เนื้อหาที่ปาฐกถาพิเศษผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัว Hansa Dhammahaso ความว่า
#PARISกถา
#การศึกษาที่ถูกต้อง
ช่วยประคองสันติภาพให้ยั่งยืน
#RightEducation
#The Right way for building Sustainable World Peace
การศึกษาที่ถูกต้อง (Right Education) เท่านั้น จึงจะสามารถประคองและสร้างสันติภาพที่ยั่งยืนให้แก่โลกนี้ได้
การศึกษาที่ถูกต้องคืออะไร? องค์การยูเนสโกได้จัดวางกรอบเป็นเสาหลัก 4 เสา ในการจัดการศึกษา คือ การศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้ การศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพ การศึกษาเพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ และการศึกษาเพื่อการเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
การศึกษาที่ถูกต้องจึงจำเป็นต้องพัฒนาทั้งสองทางไปพร้อมกัน คือ การศึกษาใน (Inner Education) กับการศึกษานอก (Outer Education) ซึ่งเน้นทั้งปริยัติ และปฏิบัติ
การศึกษานอก เป็นการพัฒนาองค์ความรู้ และพัฒนาทักษะชีวิตและการทำงานให้สอดรับกับสังคมในพุทธศตวรรษที่ 26 อันเป็นสังคมยุคดิจิทัล เน้นการสร้างนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ (Disruptive Innovation) การศึกษานอกจึงจำเป็นต้องพัฒนาให้สอดรับกับความต้องการของวิถีโลกและสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป
การศึกษานอกควรมุ่งเน้นให้นำองค์ความรู้และทักษะไปสร้างสรรค์ให้มนุษย์ สังคม เทคโนโลยี และธรรมชาติสิ่งแวดล้อมให้เกิดดุลยภาพ และสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างถ้อยทีถ้อยอาศัยซึ่งกัน ไม่เข้าไปเบียดเบียน คุกคาม ลดทอน และบั่นทอนคุณค่าของกันและกัน การใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ และรู้เท่าทัน รวมถึงการใช้สอยทรัพยากรธรรมชาติอย่างพอเพียง
สิ่งที่จะทำให้การศึกษานอกบรรลุเป้าหมายดังกล่าว จำเป็นต้องใช้การศึกษาในเข้าไปช่วยกระตุ้นและเสริมแรง ให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีสติ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง และมีพฤติกรรมเชิงบวกต่อการเข้าไปสัมพันธ์กับสังคม เทคโนโลยี และธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
การศึกษาใน จึงเป็นการเรียนรู้ที่มีสติเป็นฐาน (Mindfulness Based Learning) สติจะทำหน้าที่ในการพัฒนาพฤติกรรม จิตใจ และปัญญา เพื่อให้การศึกษานอกไม่หลงทิศผิดทาง การศึกษาในจึงเป็นการเริ่มต้นพัฒนาขันธ์ 5 คือ พัฒนาทั้งรูปและนาม หรือพัฒนาวัตถุควบคู่กับจิตใจ เพื่อใจสามารถออกแบบวัตถุ และอยู่ร่วมกับวัตถุโดยไม่กระทบต่อสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม
มหาวิทยาลัยซึ่งเป็นแหล่งพัฒนา และจัดการศึกษาจำนวนมาก พัฒนาการศึกษาแบบแยกส่วน บางแห่งเน้นเฉพาะเทคโนโลยีสร้างนวัตกรรม รวมถึงปัญญาประดิษฐ์(AI) เพื่อตอบสนองความสะดวกสบาย แต่กลับหลงลืมมิติของจิตใจที่จะเข้าไปส่งเสริมคุณธรรม และความสุขภายใน ฉะนั้น การศึกษาเช่นนี้ ไม่ทำให้มนุษย์มีความอิ่มเอมกับสิ่งที่สร้างขึ้นมา ยิ่งกว่านั้น กลับแปลกแยกกับสิ่งที่สร้างขึ้น
มหาวิทยาลัยเฉพาะทาง อาจจะทำให้สามารถกระตุ้นอัตลักษณ์ และความเชี่ยวชาญของตัวเองออกมารับใช้สังคม แต่ในอีกด้านหนึ่ง อาจจะทำให้หลงลืมมิติอื่นๆ ที่จำเป็นต้องเชื่อมสมานมนุษย์ สังคม เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมให้สามารถอยู่ร่วมกันอย่างประสมกลมกลื่น
มหาจุฬาฯ เน้นวิสัยทัศน์การพัฒนาการศึกษา โดยกระตุ้นให้จัดการศึกษา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม ซึ่งถือเป็นสมรรถนะหลัก การจัดการศึกษาจึงไม่แยกส่วนระหว่างวัตถุกับจิตใจ เป็นการศึกษาที่เน้นมนุษย์เป็นฐาน กระตุ้นให้มนุษย์ตระหนักรู้ในคุณค่าของการศึกษาใน การศึกษาเช่นนี้ จึงเป็นการระเบิดออกจากภายในให้มนุษย์เกิดการตื่นรู้ เพื่อสร้างสังคมตื่นรู้ เพื่อสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งการตื่นรู้ต่อไป"
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
เพลงคาถาบูชาพระเขี้ยวแก้ว
ເນື້ອເພງ : ດຣສົມພົງສ໌ ທຳນອງ - ຮ້ອງໂດຍ : suno คลิกฟังเพลงที่นี่ (Verse 1) สาธุ ข้าพเจ้าขอกราบไหว้ พระบรมสารีริกธาตุ พระผู้ทรงชัย พระพุทธ...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น