วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2566

นิสิตปริญญาโทสันติศึกษา"มจร" ลงพื้นที่ฝึกไกล่เกลี่ยภาคสนามที่ศาลอาญาพระโขนง



เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2566  ผศ.ดร. ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์  อาจารย์ประจำหลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) นำนิสิตระดับปริญญาโท รุ่น 9 หลักสูตรสันติศึกษา มจร ฝึกปฏิบัติการงานการไกล่เกลี่ย ณ ศาลอาญาพระโขนง ในรายวิชา “ปฏิบัติการจัดการความขัดแย้งโดยพุทธสันติวิธี” เพื่อฝึกปฏิบัติการภาคสนามจริงตามบันทึกข้อตกลง MOU ระหว่างสำนักงานศาลยุติธรรม กับ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เพื่อขับเคลื่อนงานวิชาการสู่การปฏิบัติการ  โดยนิสิตระดับปริญญาโท 

ถือว่าเป็นคนรุ่นใหม่ที่สามารถนำเครื่องมือไปสู่การปฏิบัติโดยเน้นการลงสู่การปฏิบัติจากการศึกษาทฤษฎีนำมาสู่จินตามยปัญญา คือการคิดวิเคราะห์  การเรียนระดับปริญญาโทจึงมุ่งเน้นการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงสัมผัสประสบการณ์ตรงในพื้นที่จริง โดยมุ่งเน้นกระบวนการประนีประนอมในศาลเพื่อหาข้อยุติข้อขัดแย้ง ซึ่งปัจจุบันหลักสูตรระดับปริญญาโทกำลังเปิดรับนิสิตรุ่น 11  เพื่อยกระดับเป็นวิศวกรสันติภาพ ซึ่งสามารถจบภายใน 2 ปี อย่างมีคุณภาพ  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หนังสือ: จริยธรรมปัญญาประดิษฐ์บริบทพุทธสันติวิธี

คิดเขียนโดยดร.สำราญ สมพงษ์ - แชทจีพีที (เป็นกรณีศึกษา) 1. บทนำ: ภาพรวมของปัญญาประดิษฐ์และจริยธรรม คำนิยามและแนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับปัญญาประ...