วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2566

วันหยุดกมธ.ศาสนาฯสภาฯไม่หยุด! ลงพื้นที่ประจวบฯ-ชุมพรแก้ปัญหาขอใช้ที่ดินของวัดละเมาะ-วัดหูรอ



เมื่อวันเสาร์ที่ 28 มกราคม 2566 คณะกรรมาธิการลงพื้นศึกษาดูงาน วัดละเมาะ ตำบลหนองพลับ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นำโดยนายเพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล รองประธานคณะกรรมาธิการและคณะที่ปรึกษา อนุกรรมาธิการด้านศาสนาฯ ศิลปะและวัฒนธรรม รวมทั้งข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ร่วมศึกษาพื้นที่การขอใช้พื้นที่ตั้งวัดจำนวน 15 ไร่ โดยพระอุโบสถตั้งอยู่นอกพื้นที่ที่ได้รับอนุญาต ดังนั้น จึงต้องปรับรูปแบบแผนที่ให้มีพระอุโบสถตั้งอยู่ใน15 ไร่ด้วย จึงขอให้วัดละเมาะ ปรับรูปแผนที่และประสานงานร่วมกับสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 10 สาขาเพชรบุรี และผู้อำนวยการสำนักพระพุทธศาสนาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ร่วมกันดำเนินการต่อไป 



หลังจากนั้นเดินทางต่อไปจังหวัดชุมพร ถึงวัดหูรอ อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพรเวลา 16.00 น. เข้ากราบนมัสการเจ้าอาวาสวัดหูรอ เข้ารับฟังความคิดเห็น กรณีคณะกรรมาธิการเดินทางไปปรึกษาราชการกับอธิบดีกรมชลประทานเพื่อขอใช้ที่ดินของกรมชลประทานเพื่อตั้งวัดเขาน้อยคงคาราม จังหวัดนครราชสีมาซึ่งกรมชลประทานไม่ได้ใช้ประโยชน์บริเวณที่ขอตั้งวัด และส่งคืนกรมธนารักษ์เพื่อให้สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดนครราชสีมาขอใช้พื้นที่ตั้งวัดได้สำเร็จแล้ว เกิดจากความร่วมมือของส่วนราชการโดยคณะกรรมาธิการร่วมลงพื้นที่และติดตามความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง



จึงทราบว่าวัดหูรอได้ยื่นฟ้องกรมชลประทานให้รื้อถอนถังพักน้ำและท่อส่งน้ำออกไปจากที่ดินของวัด เป็นคดีละเมิด การพิจารณาคดีถึงศาลฎีกา พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น คือให้รื้อถอนถังพักน้ำและท่อส่งน้ำออกไปจากที่ดินของวัด

คณะกรรมาธิการเดินทางไปศึกษาดูงานที่จังหวัดชุมพรจึงเข้ากราบนมัสการและศึกษาเรื่องดังกล่าวร่วมท่านเจ้าอาวาส มีความเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์แก่วัดและประชาชนคือให้กรมชลประทานมอบถังพักน้ำและต่อท่อจากแหล่งน้ำถาวรเพื่อใช้ในการทำเกตรของชาวบ้านตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ต่อไป



ต่อมาเวลา 17.30 เดินทางเดินทางเข้ากราบนมัสการเจ้าคณะจังหวัดชุมพร พระราชวิจิตรปฏิภาณ (มหานิกาย) เจ้าอาวาสวัดราชบุรณะ อำเภอหลังสวน ถวายรายงานการแก้ไขปัญหาเพื่ออุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"มจร"สีเขียวยุคAI! จัดกิจกรรม "รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม คืนขยะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน"

กิจกรรม “รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม” เป็นตัวอย่างที่ดีของการผสมผสานระหว่างจริยธรรมและเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในยุคปัจจุบัน ด้วยหล...