วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2566

กมธ.อุตฯสภาฯบุกสุวรรณภูมิ ตรวจเฟส 3 ‘ธีรรัตน์’ หวั่น นทท.กระจุกตัวแน่นหนักคิวยาว



กมธ.อุตฯสภาฯบุกสุวรรณภูมิ ตรวจเฟส 3 ‘ธีรรัตน์’ ห่วงขยายพื้นที่ทุกอย่าง แต่ ตม.ไม่ขยายเพิ่ม หวั่น นทท.กระจุกตัวแน่นหนักคิวยาวกว่าเดิมแน่

วันที่ 27 มกราคม 2566  นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ส.ส.กทม. และโฆษกพรรคเพื่อไทย ในฐานะกรรมาธิการการอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎร  เข้าศึกษาแนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมการบิน ร่วมกับคณะอนุกรรมาธิการการส่งเสริมอุตสาหกรรมการบิน  ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยมีนายกิตติพงศ์ กิตติขจร ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ นายสุเมธ ลือตระกูล ตัวแทนผู้รับจ้างก่อสร้างรันเวย์ 3 และยังมีผู้แทนจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) บริษัท ไทยสมายล์แอร์เวย์ จำกัด บริษัท บางกอกไฟลท์ เซอร์วิส จำกัด  เพื่อติดตามการส่งเสริมอุตสาหกรรมการบิน เครื่องบิน บุคลากร โลจิสติกส์ และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สู่เป้าหมายการเป็นจุดแวะพัก จุดต่อเครื่องบิน  ไปจนถึงการเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาค และเตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งเป็นอีกช่องทางในการสร้างรายได้เข้าประเทศ 

นางสาวธีรรัตน์ กล่าวว่า ความคืบหน้าในโครงการพัฒนา ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 3 ที่มีทั้งการก่อสร้างรันเวย์ เส้นที่ 3 การก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 และการก่อสร้างส่วนต่อขยายอาคารผู้โดยสารทางทิศตะวันตก  อาคาร พบว่า ความคืบหน้าการก่อสร้างล่าช้ากว่าแผนเล็กน้อย ซึ่งจะไม่กระทบกับ กำหนดแล้วเสร็จภายในปี 2567 แต่มีข้อสังเกตว่าแม้จะมีการสร้างอาคารผู้โเยสารหรือรันเวย์เพิ่ม แต่ส่วนของการตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ยังอยู่ที่อาคารหลังเดิม ซึ่งจะทำให้การตรวจคนเข้าเมืองทำได้ล่าช้าและอาจจะกระจุกตัวมากยิ่งขึ้นหรือไม่ ซึ่งมองว่าเรื่องนี้ควรแก้ไขและต้องหาทางออกรองรับไว้ในอนาคต โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งประเมินจากการคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวทั้งภายในและนอกประเทศที่จะเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวหลังการระบาดของโควิดและเศรษฐกิจที่อาจจะฟื้นตัวด้วย 

“ทุกอย่างเพิ่มหมด แต่ส่วน ตม.ยังเหมือนเดิม เป็นปัญหาที่เราคิดว่าต้องรีบแก้ไข เพราะมีความกังวลว่าการเปิดรับนักท่องเที่ยวจะไม่สมบูรณ์แบบอย่างที่คิด จากสาเหตุของการจัดการที่ไม่รอบคอบหรือไม่” นางสาวธีรรัตน์ กล่าว


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"มจร"สีเขียวยุคAI! จัดกิจกรรม "รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม คืนขยะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน"

กิจกรรม “รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม” เป็นตัวอย่างที่ดีของการผสมผสานระหว่างจริยธรรมและเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในยุคปัจจุบัน ด้วยหล...