วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2566

"เศรษฐา" นำคณะลงพื้นที่สมุทรสงครามแก้ปัญหาประมง ตั้ง "ธรรมนัส" โผล่ประกบเป็นหัวหน้าทีม



เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2566 เวลา 10.15 น. ที่ท่าเทียบเรือ โรงน้ำแข็งศิริไพโรจน์ จ.สมุทรสงคราม นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นางมนพร เจริญศรี ว่าที่รมช.คมนาคม และคณะทำงานด้านการประมงของพรรคเพื่อไทยอาทิ นายปลอดประสพ สุรัสวดี อดีตรองนายกฯ นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส. บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ลงพื้นที่ เพื่อรับฟังปัญหาจากตัวแทนชาวประมงในพื้นที่ ที่ได้รับถึงผลกระทบจากประกาศของ IUU และแนวทางในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องชาวประมง มีนายสมนึก พรหมเขียว ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม รอให้การต้อนรับ

@siampongnews #เศรษฐาทวีสิน นำคณะลงพื้นที่ สมุทรสงครามแก้ #ประมง ตั้ง #ธรรมนัส หัวหน้าทีม #ข่าวtiktok #tiktokshopครีเอเตอร์ ♬ เสียงต้นฉบับ ดร.สำราญสมพงษ์นักข่าวป.ธ.5

นอกจากนี้ยังมี ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ และ ว่าที่ รมว.เกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายไผ่ ลิกค์ ว่าที่ รมช.พาณิชย์ ร่วมลงพื้นที่ด้วย

ทันทีที่มาถึง นายกฯ และคณะได้เดินไปยังบริเวณท่าเรือเพื่อดูเรือประมงที่จอดไว้โดยไม่สามารถออกไปทำประมงได้ รวมถึงดูการขึ้นปลา และการตรวจนับลูกเรือที่ออกไปทำประมงที่มีความสำคัญ หากไม่เป็นไปตามที่ IUU กำหนดจะถูกปรับเป็นเงินจำนวนมาก

@siampongnews

กระบอกฉีดบ่นยา-ปุ๋ยการเกษตร

♬ Thank You for Being You - OctaSounds

โดย นายเศรษฐา กล่าวทักทายประชาชนว่า วันนี้ตนมาในอีกสถานะหนึ่ง ตอนมาหาเสียงเลือกตั้งได้มาพูดคุยเรื่องการประมงที่เป็นปัญหาใหญ่ของประเทศ ก่อนมี IUU ไทยส่งออกสินค้าด้านการประมง 3.5 แสนล้านบาท แต่ตอนนี้เรานำเข้า 1.5 แสนล้านบาท ทำให้เราเสียหายจำนวนมาก วันนี้พรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาล เรามั่นใจว่าที่รัฐมนตรี ที่มาด้วยกันวันนี้มีความสามารถ มีความรู้ทำงานเรื่องการประมงมานาน เราต้องการแก้ปัญหาอย่างบูรณาการ ทั้งกฎหมายภายใน และการเจรจาระหว่างประเทศควบคู่กันไป

จากนั้นตัวแทนกลุ่มประมงได้สะท้อนปัญหาการทำประมงแก่นายกฯและคณะ เช่นขอให้แก้กฎหมายต่างๆที่เป็นปัญหาต่อการทำประมง จำนวน 13 ฉบับ ที่จะสามารถทำให้การประมงสามารถขับเคลื่อนได้ และขอให้การบังคับใช้แรงงานต่างด้าวในภาคประมงเหมือนกับแรงงานต่างด้าวที่ทำงานบนฝั่งที่ภาคประมงจะใช้เวลานานรวมถึงเสนอว่าการขึ้นค่าแรงที่จะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ขอให้ทำทีละขั้นไม่ให้ภาคธุรกิจสะดุด

โดยนายเศรษฐา กล่าวว่า ได้เห็นถึงความลำบากและปัญหา ตั้งแต่ตนรับสนองพระบรมราชโองการมาไปดูเรื่องการท่องเที่ยว การแก้ปัญหาหนี้สิน และเรื่องที่สามคือเรื่องประมง เป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาลจะให้ความสำคัญสูงสุด เรื่องปัญหาแรงงานเราจะแก้ปัญหา ให้เอกสารอยู่ในวันสต๊อปช็อปได้ อะไรอยู่ในอำนาจคระรัฐมนตรี จะตั้งคณะทำงานขึ้นมาให้ ร.อ.ธรรมนัส เป็นหัวหน้า และเชิญผู้เกี่ยวข้องมาพูดคุยกัน หลายอย่างอาจทำไม่ได้ในคราวเดียวขอให้อดทน และขอให้มั่นใจรัฐบาลเพื่อไทยอะไรทำได้เราจะทะยอยทำไปก่อนเพื่อให้ท่านลืมตาอ้าปากได้ เรื่องใหญ่ๆอย่างเช่นเรื่องน่านน้ำ ที่ประเทศอินโดนีเซีย มีทรัพยากรเยอะมาก แต่ไม่มีความสามารถในการจับสัตว์น้ำ ดังนั้นขอให้ความมั่นใจเราจะเดินหน้าเต็มที่ในการเปิดประตูการค้า ซึ่งเป็นเรื่องที่ตนให้ความสำคัญ

จากนั้น นายเศรษฐา ให้สัมภาษณ์ กรณีการจัดการวันสต็อปช็อปว่า ต้องให้คณะทำงานดูก่อน วันนี้มาดูแล้วเห็นปัญหาว่าแรงงานที่จะทำงานต้องมีเอกสารจำนวนมาก มีหลายกระทรวงเข้ามาเกี่ยวข้อง หากเอกสารขาดก็เห็นใจ อีกทั้งเอกสารต่างๆก็ยังเป็นกระดาษก็อยากให้เข้าระบบออนไลน์ทั้งหมดเพื่อความสะดวก และในแง่การตรวจก็จะดีขึ้น

เมื่อถามว่าที่ระบุให้ ร.อ.ธรรมนัส เป็นผู้ดูแลเรื่องประมง จะดูแลเฉพาะเรื่องประมง หรือหมายรวมไปถึงเรื่องเกษตรทั้งหมด นายเศรษฐา กล่าวว่า เมื่อเป็นว่าที่ รมว.เกษตรและสหกรณ์ก็ต้องดูทั้งหมดด้วย และจากที่ตนเรียนไป สัปดาห์ก่อนไปดูเรื่องท่องเที่ยว ตามด้วยเรื่องการแก้ปัญหาหนี้สิน เรื่องประมงเป็นเรื่องที่ 3 ที่ตนมาดูเอง เชื่อว่าเรื่องนี้เราพร้อมช่วยเหลือเต็มที่เข้ามาทำงานร่วมกับผู้ประกอบการและจัดการแก้ปัญหาโดยเร็ว ยอมรับว่าปัญหาใหญ่ปัญหาเยอะ อะไรที่ทำได้เราจะทำก่อน

เมื่อถามว่าเท่าที่รับฟังปัญหาอะไรทำได้ทำทันที นายเศรษฐา กล่าวว่าขอพิจารณา อะไรที่เกี่ยวกับกฎกระทรวงทบวงกรม หรือเข้าคณะรัฐมนตรี และต้องเจรจาการค้าระหว่างประเทศก็อาจจะนานหน่อย เช่นเรื่องวิทยุมดขวา มดดำ (วิทยุสื่อสารระหว่างเรือประมง) ที่เพิ่งมีการบังคับใช้ในระยะหลังทั้งทีเรามีการสื่อสารทางวิทยุกันอยู่แล้ว

เมื่อถามถึง พ.ร.บ.บริหารจัดการแรงงานต่างด้าว มาตรา 14 ที่เป็นปัญหาสำหรับแรงงานต่างด้าวจะสามารถแก้ได้ทันทีหรือไม่ นายเศรษฐา กล่าวว่าต้องศึกษาร่วมกับกระทรวงแรงงานด้วย เพราะเป็นเรื่องใหญ่ ต้องมาพูดคุยกันทุกฝ่าย

เมื่อถามว่า น่านน้ำอินโดนิเซีย จะสามารถเข้าไปเจรจาได้เลยหรือไม่ นายเศรษฐา กล่าวว่า ขอดูก่อน แต่ถือเป็นประเทศอาเซียนด้วยเหมือนกัน และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเรา และไม่ถึอว่าแย่งกันทำงาน เพราะเขามีทรัพยากร เรามีความรู้ทางการทำประมง ถ้ามาร่วมกันได้กันแบ่งปันผลประโยชน์ก็น่าจะลงตัวและเดินหน้าด้วยกันได้

เมื่อถามว่าที่มามุ่งปัญหาประมงเพราะปัญหา 8-9 ปีทำให้ประเทศติดหล่มใช่หรือไม่ นายเศรษฐา กล่าวว่า ประเทศเสียหายรายได้เป็นจำนวนปีละ 5 แลนล้านผ่านมากี่ปีแล้วเป็นเงินเท่าไหร่ เราก็ต้องมาแก้ไขเดินหน้าดีกว่าอย่ามองเรื่องปัญหาเก่าอย่าไปว่าใครเลยดีกว่า และมั่นใจว่ากฎหมายต่างๆที่ผู้ประกอบการประมงเสนอมามั่นใจสามารถแก้ไขได้ ต้องฝาก ร.อ.ธรรมนัสเป็นผู้รับผิดชอบ

นายเศราฐา กล่าวต่อว่า สำหรับเรื่องค่าแรงที่ทางผู้ประกอบการบอกว่าจะหมุนเศรษฐกิจได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งเรื่องค่าแรงเป็นนโยบายหลักของทุกพรรคการขึ้นค่าแรงก็ต้องระมัดระวังในการขึ้น เพราะเป็นการขึ้นภาระค่าใช้จ่ายของทุกภาคส่วน แต่มีความจำเป็นเพราะค่าครองชีพสูงขึ้น แต่ที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดคือการเน้นเพิ่มรายได้ ถ้าเราเพิ่มรายได้ให้เอสเอ็มอีได้ เขาก็จะสามารถเพิ่มค่าแรงได้ ซึ่งจะเร่งทำทันทีก็อาจจะช่วงปีใหม่แต่ต้องคุยกับพรรคร่วมอีกครั้ง เพราะเราทำงานเป็นรัฐบาลที่มีพรรคร่วม

เมื่อถามว่าลักษณะการทำงานของนายกฯหลังจากนี้จะไปควบคู่กับรัฐมนตรีที่มาจากพรรคต่างๆใช่หรือไม่ นายเศรษฐา กล่าวว่าเป็นธรรมดา ที่ต้องร่วมกับรัฐมนตรี อยากให้มองเป็นองค์รวมว่าไม่ใช่รัฐบาลของพรรคเพื่อไทย แต่เป็นรัฐบาลของประชาชน ประกอบกับหลายพรรคการเมือง เชื่อว่าทุกรัฐมนตรีที่ได้รับการพูดถึงทุกท่านมีความเป็นห่วงปัญหาปากท้องของประชาชนและมีความปราถนาดีของประเทศขอแค่โอกาส

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากรับฟังปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องชาวประมง จากนั้น นายกฯและคณะ ได้รับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน ซึ่งเมนูอาหารประกอบด้วย แกงเขียวหวานลูกชิ้นปลากราย ผัดกระเพราทะเล และปลาทูทอดหวาน โดยนายกฯได้ลงมือตักอาหารรับประทานด้วยตัวเองด้วย.


"พระพรหมบัณฑิต" สอบถาม "อนุชา ถึงผลการดำเนินการโคล้านครอบครัว โอกาส "บิ๊กตู่" มอบให้เข้าถวายเครื่องราชสักการะเข้าพรรษา



เมื่อเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2566 เวลา 08.00 น. ที่วัดประยูรวงศาวาสวรวิหาร ถนนประชาธิปก เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มอบหมายให้นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้แทนถวายเครื่องราชสักการะเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษา ประจำปี 2566  แด่พระพรหมบัณฑิต เจ้าอาวาสวัดประยูรวงศาวาสวรวิหาร กรรมการมหาเถรสมาคม อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) 

จากนั้น นายอนุชา ได้สนทนาธรรมกับพระพรหมบัณฑิต โดยพระพรหมบัณฑิต ได้สอบถามถึงปัญหา อุปสรรค รวมทั้งให้คำแนะนำในการทำงาน ขอยึดหลักของประชาชนและประเทศชาติเป็นสำคัญ ทั้งนี้พระพรหมบัญฑิตได้ชื่นชมในการทำหน้าที่กำกับสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ซึ่งเป็นเสาหลักที่สำคัญอีกเสาหนึ่งของประเทศ เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ต้องช่วยกันทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา

@siampongnews #หนังสือสวดมนต์กระแตปกแข็ง ♬ Dj Jalan Pargoy X Goyang Jaypong - DJ MIFTAH

นอกจากนี้ พระพรหมบัณฑิตยังได้สอบถามถึงผลการดำเนินโครงการโคล้านครอบครัว ในกำกับการดูแลของนายอนุชา ถือเป็นโครงการเศรษฐกิจฐานรากสร้างประโยชน์โดยตรงต่อประชาชนในท้องถิ่น หากช่วยกันขับเคลื่อนโครงการจนประสบความสำเร็จจะส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวม ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่คนประชาชนระดับฐานรากมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามมา ช่วงท้ายของการสนทนาธรรม พระพรหมบัณฑิต ได้ให้พรขอให้นายอนุชา มีสุขภาพแข็งแรง ทั้งกาย และใจ มีกำลังทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไป ขอให้การดำเนินงานทุกอย่างประสบความสำเร็จ


"ลอรี่" แนะ“ก้าวไกล” เลิกเล่นเกม “สภาล่ม” ประเทศสูญภาษี ประชาชนเสียโอกาส แฉพรรคมี 149 สส. แต่ไม่โผล่แสดงตน



เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2566   นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ รองโฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ  (รทสช.) เปิดหลังเหตุการณ์สภาล่ม เมื่อเย็นวัน 31สค. ที่ผ่านมาว่า “การที่สภาฯล่มทุกครั้งล้วนเจ็บปวด ไม่ใช่แค่ฝ่ายรัฐบาล แต่เป็นหน้าที่ของ ฝ่ายค้าน และสส.ทุกคน ที่ต้องช่วยรักษาองค์ประชุม รับผิดชอบร่วมกันหมด เพราะล่มแต่ละครั้งมีค่าเสียหายตกกับภาษีกว่า 4 ล้านบาท และสูญเสียโอกาสในการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน

ทั้งนี้ ระหว่างเสนอญัตติแก้ปัญหาเกษตรกรราคากุ้งตกต่ำ เมื่อวันที่ 31 ส.ค.ที่ผ่านมาเสนอโดยน.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล สส.นครศรีธรรมราช พรรครวมไทยสร้างชาติกลับถูกขัดขวาง เมื่อพรรคก้าวไกลให้เสนอนับองค์ประชุมช่วงเย็นในจังหวะที่สส.หลายคนกำลังปฏิบัติหน้าที่อื่นในสภาฯ จนคนเข้ามาไม่ครบ ประธานสภาฯต้องสั่งปิดประชุม

@siampongnews #หนังสือสวดมนต์กระแตปกแข็ง ♬ Dj Jalan Pargoy X Goyang Jaypong - DJ MIFTAH

รองโฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ กล่าวว่า การสร้างคอนเท้นต์ “สภาล่ม” เอามาเป็นผลงานอย่างภูมิใจ แล้วกล่าวร้ายใส่ฝ่ายพรรครัฐบาล ว่า ไม่เห็นหัวเกษตรกรเป็นเรื่องไม่สร้างสรรค์ ที่สำคัญพึงระวังว่า สส.พรรคที่ขาดมากกว่าใครก็คือพรรคก้าวไกลเองมีสส. 149 คนแทบไม่โผล่มาซักหัว จึงเรียนมาเพื่อความกระจ่าง ให้เลิกวาทกรรม “คนอื่นทำผิด เต็มประตู ทีกูไม่เป็นอะไร” เลิกได้แล้ว ก่อนที่ภาคประชาชนจะเรียกร้องให้ สส. ต้องมาทำหน้าที่ในสภา ด้วยข้อบังคับ ขาดตัดเงิน แจกใบเหลืองใบแดง รายงานผล real time ในแอปตลอดการประชุม ถ้าอยากเอาแบบนั้น พร้อมยื่นสนองทันที จะได้รู้ สส.ฝั่งไหนทำหน้าที่ และเคารพประชาธิปไตยมากกว่ากัน”

 


"บิ๊กป้อม" ประธานเปิดกิจกรรมรองรับ" วันน้ำโลก ปี 66 " ห่วงวิกฤตน้ำในอนาคต วอนคนไทย มีส่วนร่วมเห็นคุณค่า

 


"บิ๊กป้อม" ประธานเปิดกิจกรรมรองรับ" วันน้ำโลก ปี 66 " ห่วงวิกฤตน้ำในอนาคต  วอนคนไทย มีส่วนร่วมเห็นคุณค่า/ฟื้นฟู/ใช้ประโยชน์ ประหยัดและยั่งยืน 

เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2566  เวลา 09.30 น. พล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผู้ช่วยโฆษกรองนายกรัฐมนตรี  เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองรองนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปเป็นประธานจัดกิจกรรม " ความร่วมมือ และการมีส่วนร่วมบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เนื่องใน "วันน้ำโลก ประจำปี 2566"  ณ ห้องแคทลียา โรงแรมรามาการ์เด้นส์  กทม.

พล.อ.ประวิตร  ได้เดินชมนิทรรศการพร้อมมอบใบประกาศเกียรติคุณให้แก่หน่วยงานที่รับผิดชอบและสนับสนุนการดำเนินงานการบริหารจัดการน้ำที่ผ่านมา ก่อนเข้าบริเวณพิธีจัดงานพร้อมรับชมวีดีทัศน์ "ความร่วมมือ และการมีส่วนร่วมบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ" จากนั้นรับทราบรายงานวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมดังกล่าว จาก ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาฯ สทนช. ต่อจากนั้น พล.อ.ประวิตร ได้เป็นประธานพิธีเปิดงาน พร้อมกล่าวเจตนารมย์ของไทยเนื่องใน วันน้ำโลก ประจำปี 2566 โดยมีสาระสำคัญ คือ "น้ำ"ถือเป็นทรัพยากรที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ต่อการดำรงชีวิต และการพัฒนาในทุกมิติ  ซึ่ง UN ได้กำหนดให้วันที่ 22 มีนาคม ทุกปีเป็นวันน้ำโลก (World Water Day) โดยให้ประชาคมโลกร่วมกันรณรงค์ให้เกิดการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้ำ อย่างยั่งยืน เร่งการเปลี่ยนแปลงด้วยการลงมือปฏิบัติ เพื่อลดวิกฤติด้านน้ำ และสุขาภิบาล ทั้งนี้ ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับการบริหารทรัพยากรน้ำในทุกมิติ ที่ผ่านมา โดยมีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการขับเคลื่อนการบริหารจัดการ แบบพลวัต ด้วยความร่วมมือของคณะกรรมการลุ่มน้ำ ซึ่งจะเป็นข้อกลางเชื่อมโยงการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ตั้งแต่ระดับชุมชนพร้อมกับการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึง การใช้น้ำที่มีคุณภาพ เพียงพอ และเท่าเทียมกัน

@siampongnews #หนังสือสวดมนต์กระแตปกแข็ง ♬ Dj Jalan Pargoy X Goyang Jaypong - DJ MIFTAH

พล.อ.ประวิตร ได้เน้นย้ำถึง เจตนารมย์ของรัฐบาลไทยที่พร้อมเดินหน้าไปกับประเทศสมาชิก เพื่อยืนยันความร่วมมือ ภายใต้กรอบ UN และไทยพร้อมรับข้อเสนอและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหน่วยงาน และองค์กรด้านน้ำของประเทศสมาชิก เพื่อเพิ่มอัตราเร่งการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย ซึ่ง พล.อ.ประวิตร ยังได้ รณรงค์ขอให้ประชาชน และทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมบริหารจัดการน้ำ และใช้น้ำอย่างประหยัด เห็นคุณค่าในโอกาสนี้ด้วย


มส.หนุนโครงการสูงวัยอย่างสร้างสรรค์ รู้ทันมิจฉาชีพดิจิทัลมีศีล 5 เป็นฐาน



เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2566 เฟซบุ๊ก ศ.ดร.พระมหาบุญเลิศ ช่วยธานี ได้โพสต์มติมหาเถรสมาคม  ครั้งที่ 20/2566  ที่รับทราบโครงการสูงวัยอย่างสร้างสรรค์ รู้ทันมิจฉาชีพดิจิทัล โดย วิทยาลัยสงฆ์พุทปัญญาศรีทวารวดี สนับสนุนโดยกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ความว่า 




ขณะเดียวกันสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ร่วมกับหลายภาคส่วนจัดอบรมในลักษณะเดียวกันนี้

@siampongnews #หนังสือสวดมนต์กระแตปกแข็ง ♬ Dj Jalan Pargoy X Goyang Jaypong - DJ MIFTAH

"รองผู้ว่าฯแม่ฮ่องสอน-คกก.ขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล 5" ตรวจเยี่ยมประเมินผลงานที่วัดแม่ลาหลวง


 

วันที่ 31 สิงหาคม 2566 เวลา 13.00 น. ณ วัดแม่ลาหลวง ตำบลแม่ลาหลวง อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน พระเทพรัตนนายก ประธานคณะกรรมการโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ประจำหนเหนือ พร้อมคณะ เดินทางตรวจเยี่ยมติดตาม-ประเมินผล การดำเนินงานโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา "หมู่บ้านรักษาศีล 5" จังหวัดแม่ฮ่องสอน (ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี) ประจำปี 2566 พระสุมณฑ์ศาสนกิตติ์ ดร. เจ้าคณะจังหวัดแม่ฮ่องสอน เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยกองมู พระครูอนุสิฐธีรคุณ เจ้าคณะตำบลแม่ลาหลวง /เจ้าอาวาสวัดแม่ลาหลวง นำคณะสงฆ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน และหัวหน้าส่วนราชการ ร่วมพิธี โดยมีนายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นประธานฝ่ายฆราวาส

นายกฤตพล รชตเมธานนท์ นายอำเภอแม่ลาน้อย นายอุดม สุจา กำนันตำบลแม่ลาหลวง นำหน่วยงานในพื้นที่ตำบลแม่ลาหลวง เช่น โรงเรียนชุมชนแม่ลาศึกษา รพ.สต.แม่ลาหลวง สภ.แม่ลาหลวง องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลาหลวง ผู้นำท้องถิ่น ภาคีเครือข่ายชุมชน และพุทธศาสนิกชนชาวตำบลแม่ลาหลวง ร่วมให้การต้อนรับคณะ ฯ ด้วยความยินดียิ่ง

@siampongnews #หนังสือสวดมนต์กระแตปกแข็ง ♬ Dj Jalan Pargoy X Goyang Jaypong - DJ MIFTAH

ทั้งนี้ พระเทพรัตนนายก ประธานคณะกรรมการโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ประจำหนเหนือ ได้มอบโล่เกียรติคุณ หมู่บ้านรักษาศีล 5 หนเหนือ ประจำปี 2566 ให้กับ หมู่บ้านสันติพัฒนา หมู่ที่ 7 หมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ ประจำปี 2566 และมอบเกียรติบัตร ให้กับหน่วยงาน ผู้ที่ทำคุณประโยชน์ ในโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา "หมู่บ้านรักษาศีล 5 " ประจำปี 2566 จังหวัดแม่ฮ่องสอน

สำหับบ้านสันติพัฒนา หมู่ที่ 7 ตำบลแม่ลาหลวง อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นชุมชนเล็ก ๆ ที่แยกออกจากบ้านแม่ลาหลวง หมู่ที่ 1 มีการอยู่ร่วมกันของกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ คนพื้นเมือง และปาเกอญอ ด้วยความสงบสุข มีความรัก ความสามัคคีในชุมชน มีวัดแม่ลาหลวง โดยพระครูอนุสิฐธีรคุณ เจ้าคณะตำบลแม่ลาหลวง /เจ้าอาวาสวัด เป็นศูนย์กลางและเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชน น้อมนำเอาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา หลักศีล 5 มาปรับใช้ในการดำเนินวิถีชีวิตบนความพอเพียง อยู่ในหลักของความรู้และความมีเหตุผลคนในชุมชน รักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น ร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ขับเคลื่อนโครงการเพื่อพัฒนาชุมชน ด้วยพลัง บวร บ้าน วัด โรงเรียน และส่วนราชการ

ปัจจัยต่าง ๆ อันโดดเด่นเหล่านี้ และด้วยวิสัยทัศน์คณะสงฆ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดแม่ฮ่องสอน และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงได้ขับเคลื่อนชุมชนบ้านสันติพัฒนา ให้เกิดความปรองดองสมานฉันท์ ชาติพันธุ์อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ประชาชนประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา พึ่งพากันและกัน โดยมีศีล 5 เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ


ศน.หนุนงบบูรณะศาสนสถาน 4 ศาสนา ให้มั่นคง-ปลอดภัย เป็นศูนย์กลางประกอบศาสนกิจ



เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2566 นายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม มุ่งเน้นการขับเคลื่อนให้ศาสนสถานของทุกศาสนาเป็นศูนย์กลางของประชาชน ส่งเสริมสนับสนุนให้ศาสนิกชนเข้าไปประกอบศาสนกิจตามศาสนาที่ตนนับถือ ซึ่งศาสนสถานนั้นควรมีสภาพที่มั่นคง ปลอดภัย สะอาดและสวยงาม เหมาะสม สำหรับการเข้าไปประกอบกิจกรรมทางศาสนา แต่เมื่อมีการใช้ศาสนสถานเป็นเวลานานย่อมเกิดความเสียหาย ทรุดโทรม และเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา หรือได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากภัยพิบัติ เช่น อุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย เป็นต้น รวมถึงเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้ศาสนิกชนไม่สามารถใช้ศาสนสถานประกอบศาสนกิจได้ตามปกติ

อธิบดี ศน. กล่าวว่า กรมการศาสนาได้รับการจัดสรรงบประมาณจากสำนักงบประมาณ ประจำปี พ.ศ. 2566 รวมทั้งสิ้น 12,650,000 บาท ในการดำเนินโครงการเงินอุดหนุนการบูรณะศาสนสถาน เพื่อสมทบในการบูรณะซ่อมแซมศาสนสถานที่ทางราชการรับรอง ประกอบด้วย ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาซิกข์ ยกเว้นวัดในพระพุทธศาสนาเป็นภารกิจของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เพื่อให้ศาสนสถานทั้ง 4 ศาสนา สามารถใช้ในการประกอบศาสนกิจได้ตามความเหมาะสม คุ้มค่า โดยไม่จำเป็นต้องสร้างศาสนสถานขึ้นใหม่ สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ได้มีการจัดสรรเงินอุดหนุนการบูรณะซ่อมแซมศาสนสถานในส่วนภูมิภาค กรณีประสบภัย ไปแล้ว จำนวน 10 จังหวัด รวมทั้งสิ้น 27 แห่ง ประกอบด้วย มัสยิด 20 แห่ง และโบสถ์คริสต์ 7 แห่ง

@siampongnews #หนังสือสวดมนต์กระแตปกแข็ง ♬ Dj Jalan Pargoy X Goyang Jaypong - DJ MIFTAH

นายชัยพล กล่าวต่อว่า ต่อมาในการประชุมคณะกรรมการพิจารณาจัดสรรเงินอุดหนุน โครงการเงินอุดหนุนการบูรณะศาสนสถาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ครั้งที่ 2/2566 ในเดือนสิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา เพื่อพิจารณาแบบคำขอรับเงินอุดหนุนบูรณะศาสนสถาน กรณีประสบภัยและกรณีปกติ จำนวน 60 จังหวัด รวมทั้งสิ้น 618 แห่ง แบ่งเป็น มัสยิด 501 แห่ง โบสถ์คริสต์ 115 แห่ง เทวสถานพราหมณ์ – ฮินดู 1 แห่ง และคุรุดวาราซิกข์ 1 แห่ง ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ และให้ดำเนินการอนุมัติจัดสรรงบประมาณสนับสนุนศาสนสถานในการบูรณะซ่อมแซม จำนวนกว่า 500 แห่ง เพื่อให้กลับมามีสภาพมั่นคง ปลอดภัย พร้อมสำหรับการส่งเสริมศาสนิกชนเข้าไปประกอบศาสนกิจตามศาสนาที่ตนนับถือต่อไป โดยศาสนสถานเหล่านี้ ได้ใช้เป็นแหล่งยึดเหนี่ยวจิตใจของศาสนิกให้สงบร่มเย็น สังคมสงบสุข เป็นการนำมิติทางศาสนามาส่งเสริมให้เกิดความเป็นปึกแผ่นของคนในสังคมได้อย่างมั่นคง


"ภูมิใจไทย" ยื่นร่าง พ.ร.บ."กิจการฮัจญ์ -สันติภาพ" หวังคุ้มครองชาวมุสลิม



เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2566  นายสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง สมาชิกผู้แทนราษฏร จังหวัดกระบี่ พรรคภูมิใจไทย และตัวแทน สส. ของพรรคอีก 16 คน แถลงถึงกรณีความคืบหน้าในการยื่นร่าง พ.ร.บ.ฮัจญ์ ว่า ขณะนี้พรรคภูมิใจไทยได้ดำเนินการส่งร่างกฎหมายเกี่ยวกับพี่น้องชาวมุสลิมเข้าสภาไปแล้ว จำนวน 2 เรื่อง ประกอบด้วย พ.ร.บ.ฮัจญ์ และ พ.ร.บ.สันติภาพ จากทั้งหมด 11 นโยบาย รวม 51 มาตรา เพื่อคุ้มครองพี่น้องชาวมุสลิม และสร้างหลักประกันในชีวิตครอบคลุมทุกมิติ

นายนัจมุดดีน อูมา สมาชิกพรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า เมื่อวันที่ 30 ส.ค. 66 เราได้ยื่นเสนอร่างรัฐธรรมนูญต่อสภาผู้แทนราษฎร มีหลักการสำคัญ ดังนี้

1 คณะกรรมการกิจการฮัจญ์ ซึ่งคณะนี้เป็นบอร์ดใหญ่ จะเป็นที่กำกับดูแลเรื่องฮัจญ์

2.ให้มีคณะกรรมการผู้แทนฮัจญ์ทางการ ซึ่งคณะนี้จะมี 12 คน จะหน้าที่กำกับดูแลในการปฎิบัติ

3ให้มีสำนักงานกิจการฮัจญ์ เป็นการตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบขึ้นมาใหม่ โดยไม่ใช่หน่วยงานของรัฐ ไม่เป็นศูนย์ราชการ ไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ โดยมีเลขาธิการเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด โดยที่จะมีการยกเลิก พ.ร.บ.ส่งเสริมกิจการฮัจญ์ปี 2524, 2532 และ 2559 โดยใช้ร่างฉบับผู้แทนราษฎร

@siampongnews #หนังสือสวดมนต์กระแตปกแข็ง ♬ Dj Jalan Pargoy X Goyang Jaypong - DJ MIFTAH

4.ให้มีการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมกิจการฮัจญ์ในสำนักงาน เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของสำนักงาน

ด้านนายสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง สส. กระบี่ กล่าวว่า เนื่องจากสส.ของพรรคภูมิใจไทย ทั้ง 71 คน เล็งเห็นว่า ที่ผ่านมา มีพี่น้องชาวมุสลิมจำนวนมาก ที่เดินทางไปแสวงบุญประกอบพิธีฮัจญ์ ที่ซาอุดีอาระเบีย แต่ถูกทัวร์เอารัดเอาเปรียบ โดนลอยแพ และเก็บค่านายหน้าที่สูงเกินกว่าความเป็นจริง จึงประสงค์ให้ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 เร่งรับรอง และพิจารณานำร่างกฎหมายดังกล่าวเข้าสู่สภาต่อไป เพื่อสร้างหลักประกันด้านความปลอดภัยให้กับพี่น้องประชาชนชาวมุสลิม และป้องกันการหาผลประโยชน์จากการเดินทางไปประกอบพิธีทางศาสนา โดยผลักดันให้มีกองทุนฉุกเฉินให้กู้ยืมโดยไม่มีดอกเบี้ย และหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นธรรมที่สุด

แพทย์หญิงเพชรดาว โต๊ะมีนา สมาชิกพรรคภูมิใจไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า เรื่องของพ.ร.บ.กิจการฮัจญ์ ซึ่งจะต้องมีการแก้ไข ปรับปรุงเพิ่มเติม รวมทั้งจะมีการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลส่งเสริมกิจการพิธีฮัจญ์ ซึ่งต้องเป็นหน่วยงานอิสระ เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้บริโภคให้มากที่สุด และแก้ไขปัญหาเมื่อเดินไปทำพิธีฮัจญ์แล้วค่าใช้จ่ายสูงกว่าประเทศอื่นๆ


ที่มา : TheReporters


วันพุธที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2566

กรมคุ้มครองสิทธิฯ ระดมความคิดเห็นเพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์การไกล่เกลี่ยฯ



กรมคุ้มครองสิทธิฯ ประเมินผลสัมฤทธิ์การไกล่เกลี่ยฯ พร้อมปรับปรุงพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 มุ่งเพิ่มประสิทธิภาพในการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน

วันพุธที่ 30 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุม Graduate studio อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ โดย นายเรืองศักดิ์ สุวารี อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ธนภัทร ปัจฉิมม์ คณบดีโรงเรียนกฎหมายและการเมือง จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นในการประเมินผลสัมฤทธิ์พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 โดยมี นางประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์ ประธานมูลนิธิสถาบันศึกษาและพัฒนาการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี พร้อมด้วย ดร.ธปภัค บูรณะสิงห์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการระงับข้อพิพาท เข้าร่วม

@siampongnews #หนังสือสวดมนต์กระแตปกแข็ง ♬ Dj Jalan Pargoy X Goyang Jaypong - DJ MIFTAH

นายเรืองศักดิ์ เปิดเผยว่า สืบเนื่องจาก กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้เป็นหน่วยงานรับผิดชอบการประเมินผลสัมฤทธิ์ พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2562 โดยเป็นกฎหมายกลาง ให้หน่วยงานของรัฐ พนักงานสอบสวน และศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน ใช้ในการยุติหรือระงับข้อพิพาททางแพ่งและข้อพิพาททางอาญาแทนการฟ้องคดี ช่วยให้ประชาชนเข้าถึงความยุติธรรมได้อย่างสะดวก รวดเร็ว เป็นธรรม และไม่เสียค่าใช้จ่าย

นายเรืองศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การรับฟังความคิดเห็นในการประเมินผลสัมฤทธิ์พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 ในครั้งนี้ มีผู้แทนหน่วยงานของรัฐซึ่งดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ผู้ไกล่เกลี่ย คณะทำงานบริหารประจำศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน และประชาชน เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นกว่า 100 คน ซึ่งกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ จะนำผลจากการรับฟังความคิดเห็น ไปปรับปรุง พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 ให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพการปัจจุบัน เพิ่มประสิทธิภาพในการอำนวยความยุติธรรมให้ประชาชนเข้าถึงการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่งและข้อพิพาททางอาญา ทั้งก่อนฟ้องคดี และหลังศาลมีคำพิพากษา ลดปริมาณคดีขึ้นสู่ศาล ลดปัญหาความขัดแย้ง และเสริมสร้างความสมานฉันท์ในสังคม ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป


เจ้าคณะจังหวัดสมุทรสงคราม ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อน "หมู่บ้านรักษาศีล 5"



เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2566  ที่ศาลาอเนกประสงค์ วัดเพชรสมุทรวรวิหาร พระภาวนาวิสุทธิโสภณ เจ้าคณะจังหวัดสมุทรสงคราม พร้อมด้วยพระราชสมุทรวชิรโสภณ ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสมุทรสงคราม เจ้าอาวาสวัดเพชรสมุทรวรวิหาร เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นายกรกฎ วงษ์สุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ในการประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา "หมู่บ้านรักษาศีล 5" โดยมีคณะสงฆ์ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และคณะกรรมการฯ เข้าร่วมประชุม ตามที่คณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา(หมู่บ้านรักษาศีล 5) ประจำหน มีกำหนดการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานโครงการฯ ของจังหวัดสมุทรสงคราม ในวันที่ 21 กันยายน 2566 คณะสงฆ์อำเภอเมืองสมุทรสงคราม ได้มีการพิจารณาเสนอ(หมู่บ้านรักษาศีล 5) อำเภอเมืองสมุทรสงคราม ได้แก่ หมู่บ้านคลองโคน หมู่ที่ 2 ตำบลคลองโคน อำเภอเมืองสมุทรสงคราม เป็นวัดศูนย์กลางในการขับเคลื่อน มีนายธีระ ดอกไม้จีน ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน โดยจัดสถานที่ต้อนรับคณะกรรมการตรวจเยี่ยมผลการดำเนินงาน ณ โรงเรียนวัดคลองโคนตำบลคลองโคน อำเภอเมืองสมุทรสงคราม

@siampongnews ผ้ามุ้ง#ผ้ามุ้งกลดพระธุดงค์ ♬ Ready - Official Sound Studio


ทั้งนี้ เพื่อให้การเตรียมรับการติดตาม การประเมิน และรายงานผลการดำเนินงานโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา "หมู่บ้านรักษาศีล 5" จังหวัดสมุทรสงครามเป็นไปด้วยความเรียบร้อย อาศัยอำนาจตามข้อ 15 แห่งกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 23(พ.ศ.2541) ว่าด้วยระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ จึงแต่งตั้งคณะทำงานเตรียมรับการติดตาม การประเมิน และรายงานผลการดำเนินงานโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา "หมู่บ้านรักษาศีล 5" จังหวัดสมุทรสงคราม ดังนี้ สำหรับประเด็นการตรวจเยี่ยม ประกอบด้วย การจัดทำข้อมูลพื้นฐานหมู่บ้านและประชากร โครงการ/กิจกรรมที่หมู่บ้านดำเนินการ รางวัลเกียรติคุณที่หมู่บ้านได้รับ(ในรอบ 3 ปี) กิจกรรมที่สนับสนุนการดำเนินการร่วมกับหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล กิจกรรมที่สนับสนุนการดำเนินการโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ข้อมูลเกี่ยวกับคดีความในหมู่บ้านในรอบ 3 ปี ข้อมูลสาธารณสุขในหมู่บ้าน ในรอบ 3 ปี ข้อมูลเกี่ยวกับความสงบสุขในหมู่บ้านในรอบ 3 ปี อัตลักษณ์ที่โดดเด่นของหมู่บ้าน ปราชญ์ท้องถิ่น หรือบุคคลตัวอย่างของหมู่บ้าน และผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้ให้กับหมู่บ้าน 1 ชุมชน พร้อมจัดทำรายงานรูปเล่มพร้อมภาพประกอบ

ข้อมูลข่าวและที่มา https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG230830191636156


คกก.ขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล 5 ติดตามงานที่วัดลานแซะบ้านศาลาต้นรักพัทลุง


เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2566  ณ วัดลานแซะ บ้านศาลาต้นรัก หมู่ที่ 1 ตำบลนาขยาด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง คณะสงฆ์จากส่วนกลางและคณะสงฆ์ในภาคใต้ นำโดยพระเดชพระคุณพระราชวรเวที ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อน โครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ประจำหนใต้ พระเทพปัญญาโมลี รองประธานคณะกรรมการบริหารกลาง ขับเคลื่อนโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา "หมู่บ้านรักษาศีล 5" พร้อมคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามผลการดำเนินงาน โครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา "หมู่บ้านรักษาศีล 5" แผนยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 256 จังหวัดพัทลุง เพื่อพิจารณา “บ้านศาลาต้นรัก หมู่ที่ 1 ตำบลนาขยาด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง” เป็นหมู่บ้านต้นแบบตามโครงการฯดังกล่าว โดยมีนางนิศากร วิศิษฏ์สรอรรถ ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง กล่าวต้อนรับ

@siampongnews ผ้ามุ้ง#ผ้ามุ้งกลดพระธุดงค์ ♬ Ready - Official Sound Studio

โครงการฯดังกล่าวคณะสงฆ์จังหวัดพัทลุง และสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดพัทลุง ได้ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนร่วมดำเนินการสนับสนุนให้เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม เพื่อสร้างสังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน ตามแนวทางของพระพุทธศาสนาโดยให้ประชาชนดำรงตนยึดมั่นและปฏิบัติตามหลักศีล 5 ในทุกพื้นที่ของจังหวัดต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน มีนักเรียน สถานศึกษา หน่วยงานราชการ และประชาชน ร่วมกิจกรรมเข้าวัดปฏิบัติธรรมในวันธรรมสวนะ กิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา โดยใช้นำหลักธรรมเพื่อการพัฒนาองค์กรและการพัฒนาตน จึงได้นำเสนอ “บ้านศาลาต้นรัก หมู่ที่ 1 ตำบลนาขยาด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง” เข้าร่วมโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

ขณะเดียวกันคณะสงฆ์ผู้พิจารณาหมู่บ้านต้นแบบ โครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ได้เยี่ยมชมกิจกรรมที่ นักเรียน ประชาชน หน่วยงาน และวัด ในพื้นที่ร่วมกันจัดทำ อย่างเช่น พิพิธภัณฑ์ ที่สะสมของเก่าโบราณ วีถีชีวิตของคนชาวบ้านศาลาต้นรัก สินค้าทางด้านการเกษตร และการรำมโนราห์ ซึ่งมีพระครูศาสนกิจจาทร เจ้าอาวาสวัดลานแซะ รองเจ้าคณะอำเภอควนขนุน สนับสนุนสถานที่และต้อนรับคณะตรวจเยี่ยมของคณะสงฆ์ และผู้ร่วมกิจกรรม และต่อจากนั้นได้เดินทางไปยัง ที่ศาลาหมู่บ้าน บ้านศาลาต้นรัก เพื่อตรวจเยี่ยม และชมการจัดแสดงผลงาน ของหมู่บ้าน ซึ่งหมู่บ้านศาลาต้นรัก เป้นหมู่บ้านสุจริตต้นแบบของอำเภอควนขนุน ในทุกครั้งที่ผ่านมา หมู่บ้านนี้ มีประชากรออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุดของอำเภอ และการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านในทุกๆ ครั้ง ไม่มีการซื้อสิทธิ์-ขายเสียงกัน และทุกคนในหมู่บ้าน ล้วนมีแต่ความรักสามัคคีปรองดองซึ่งกันและกัน

ข้อมูลข่าวและที่มา https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG230830160444098


ผู้แทนยูเอ็นเข้าแสดงความยินดีกับ "เศรษฐา" พร้อมทำงานร่วมกันบนฐานพัฒนาที่ยั่งยืน



เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2566  นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี  ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "เศรษฐา ทวีสิน - Srettha Thavisin" ความว่า ขอบคุณผู้แทนองค์การสหประชาชาติ (UN) ที่มาแสดงความยินดี รัฐบาลภายใต้การนำโดยพรรคเพื่อไทยพร้อมที่จะทำงานร่วมกับองค์การสหประชาชาติในทุกมิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายที่ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งรวมถึงการลดการปล่อยคาร์บอน และการดูแลสวัสดิภาพของประชาชนครับ



เจ้าคุณประสารฝากงานด้านพระพุทธศาสนากับรัฐมนตรีคนใหม่"พวงเพ็ชร-พิชิต"

 


เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2566 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือเจ้าคุณประสาร เลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย ได้กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลเศรษฐา1 กำลังจัดสรรผู้คนลงในตำแหน่งต่างๆในคณะรัฐมนตรีชุดใหม่นั้นและในจำนวนรัฐมนตรีทั้ง 35 คนที่ปรากฎตามสื่อต่างๆนั้นปรากฎชื่อรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 2 คนคือนางพวงเพ็ชร ชุนละเอียดและนายพิชิต ชื่นบาน แน่นอนว่าหนึ่งในสองคนนั้นจะได้กำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ         

พระราชวัชรสารบัณฑิต กล่าวต่อไปว่า สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นส่วนราชการสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลด้านพระพุทธศาสนา เป็นหน่วยงานกลางระหว่างรัฐบาลและคณะสงฆ์ จริงๆแล้วควรจะมีพระสงฆ์หรือคฤหัสถ์ที่เป็นผู้ประสานอีกชั้นหนึ่งด้วยเหมือนอย่างกระทรรวงกลาโหมกับรัฐบาลด้วยซ้ำไป จะได้ง่ายและสะดวกในการขับเคลื่อนงานพระศาสนาให้เจริญก้าวหน้า สำหรับตัวบุคคลที่ปรากฎตามข่าวนั้นนางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด เป็นคนที่เคารพนับถือพระสงฆ์สามเณรและมั่นคงในพระรัตนตรัย มีภาวะผู้นำ จิตใจดี 

@siampongnews ผ้ามุ้ง#ผ้ามุ้งกลดพระธุดงค์ ♬ Ready - Official Sound Studio

ส่วนคุณพิชิต ชื่นบาน นั้นเป็นศิษย์วัด อยู่กับพระอยู่กับวัดมาตลอด เป็นสัมมาทิฏฐิ เข้าใจงานพระศาสนา ดังนั้นท่านทั้งสองจึงเป็นคนที่มีคุณสมบัติเหมาะสม จึงขอฝากว่างานด้านพระพุทธศาสนานั้นเป็นงานหลัก เป็นงานสำคัญ เป็นเรื่องของศีลธรรมอันดีงามของคนทั้งประเทศ ถ้าเข้าใจงานและตั้งใจไว้ชอบก็จะสามารถพัฒนางานด้านนี้ได้อีกมากมายและยังจะเพิ่มความเข้าใจอีนดีด้านนโยบายระหว่างรัฐกับศาสนาได้อีกทางด้วย        

"ยินดีต้อนรับรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีคนใหม่ที่จะมาดูแลงานด้านพระพุทธศาสนา งานด้านนี้ขอเพียงให้เข้าใจ ปราศจากอคติก็จะสามารถเดินหน้าเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติได้มากมาย" พระราชวัชรสารบัณฑิต กล่าวในตอนท้าย



วัดพระธาตุดอยเวียงแก้ว "พระครูบาบุญชุ่ม" ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแล้ว


เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2566  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานวิสุงคามสีมา 176 วัด ในจำนวนนั้นมีวัดพระธาตุดอยเวียงแก้ว ตำบลโหล่งขอด อำเภอพ้าว จังหวัดเชียงใหม่ ที่สร้างถวายพระครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร อรัญวาสีภิกขุ รวมอยู่ด้วย






วันอังคารที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2566

ผู้ว่าฯเชียงใหม่ร่วมตรวจเยี่ยมหมู่บ้านรักษาศีล 5 วัดขันแก้ว ผลงานเด่นเล็งยกเป็นต้นแบบ



เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2566 ที่วัดขันแก้ว บ้านหารแก้ว ต.หารแก้ว อ.หางดง จ.เชียงใหม่ คณะกรรมการโครงการขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล 5 นำโดย พระพรหมเสนาบดี เจ้าอาวาสวัดปทุมคงคา กรรมการมหาเถรสมาคม(มส.) เจ้าคณะภาค 7 รองประธานอำนวยการโครงการฯ พระธรรมวชิรานุวัตร เจ้าอาวาสวัดไร่ขิง จ.นครปฐม เจ้าคณะภาค 14 ประธานกรรมการบริหารกลางโครงการฯ พระเทพปัญญาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดตากฟ้า จ.นครสวรรค์ รองเจ้าคณะภาค 4 รองประธานกรรมการบริหารกลางโครงการฯ พระเทพรัตนนายก เจ้าอาวาสวัดพระธาตุหริภุญชัย เจ้าคณะจ.ลำพูน ประธานกรรมการโครงการฯ หนเหนือ ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 วัดขันแก้ว เพื่อประเมินให้เป็นหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบต่อไป 

ทั้งนี้คณะกรรมการโครงการฯได้ชื่นชมนายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ที่ร่วมลงพื้นที่ติดตามประเมินผลหมู่บ้านรักษาศีล 5 ด้วย ว่า นายนิรัตน์ นับเป็นผู้ว่าฯ คนแรกที่ร่วมลงพื้นที่กับคณะกรรมการโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5

พระธรรมวชิรานุวัตร กล่าวว่า การลงพื้นที่เพื่อมาให้กำลังใจคณะสงฆ์ที่ดำเนินการโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ซึ่งหลังจากนี้หมู่บ้านรักษาศีล 5 จะมีการดำเนินการร่วมกับสำนักปฏิบัติธรรมทั่วประเทศ ตามนโยบายของ สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม กรรมการมส. เจ้าคณะใหญ่หนกลาง ประธานอำนวยการโครงการฯ ซึ่งในเร็วๆนี้จะมีการประชุมสำนักปฏิบัติธรรมทั่วประเทศ เพื่อหาแนวทางในการดำเนินการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ร่วมกัน

@siampongnews #หนังสือสวดมนต์กระแตปกแข็ง ♬ Dj Jalan Pargoy X Goyang Jaypong - DJ MIFTAH

นายจักราวุธ กันมะโณ นายกเทศมนตรีตำบลหารแก้ว กล่าวว่า วัดขันแก้วมีการดำเนินกิจกรรมตามโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ที่มีความโดดเด่น โดยขับเคลื่อนตามแนวทาง บวร (บ้าน วัด โรงเรียน) มีองค์กปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุน มีการดำเนินงานส่งเสริมศีล 5 เพื่อให้ประชาชนได้อยู่ในกรอบกติกาของชุมชน ไม่ขัดต่อศีลธรรม ผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่เห็นความสำคัญ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการด้านต่างๆ และประสานความร่วมมือกับชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านตำลบลหารแก้ว ในการออกตรวจพื้นที่ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา รวมทั้งสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับประชาชน มีการแต่งตั้ง คณะทำงานช่วยเหลือโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 มีการดำเนินการกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหารแก้ว (ออมวันละบาท) โครงการกองทุนฌาปนกิจหมู่บ้าน โครงการลานธรรม ลานวิถีไทย มีการดำเนินการกิจกรรมงดเหล้าเข้าพรรษา งานบุญปลอดเหล้า ปลอดอบายมุข เป็นศูนย์ปฎิบัติธรรมประจำตำบลหารแก้ว อำเภอหางดง เป็นศูนย์ปฎิบัติธรรม สาขาวัดอรัญญวาส เชียงใหม่ แห่งที่ 17 มีการดำเนินการกิจกรรมวิถีพุทธส่งเสริมโรงเรียนการรักษาศีล 5 โรงเรียนสุจริต ทั้งมีการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรม อัตลักษณ์ชุมชน ประเพณีสรงน้ำพระธาตุประเพณีตานหลังหิงไฟพระเจ้า มีการส่งเสริมอาชีพกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปัญธ์รักษณษณ์(กาแฟล่าณายร์) โคมไฟ ปั้นหม้อ เป็นต้น

ขอบคุณภาพจากเฟซบุ๊กพระครูสมุห์ศุภโชค โพธิสาโร



โคกหนองนาศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนสังขะสุรินทร์เข้าตาอธิบดี"พช."


เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2566 เพจวัดนายโรง หลังเซ็นทรัลปิ่นเกล้า กรุงเทพฯ ได้โพสต์ข้อความว่า วันนี้ 29 สิงหาคม 2566 นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน และ ดร.จักรพันธ์ พรนิมตร อดีต สส. เขตบางกอกน้อย กทม. มาเยี่ยมชมวัดนายโรง และถือโอกาสนี้ รายงานการจัดพิธีเปิดป้ายศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน จ.สุรินทร์หรือโคกหนองนา เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2566 ที่บ้านทุ่งเจริญ ตำบลพระแก้ว อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ให้ท่านได้รับทราบ ในฐานะที่ท่านได้สั่งการให้พัฒนาการจังหวัดสุรินทร์ พัฒนาการอำเภอสังขะ เป็นผู้ดูแลในการจัดงานที่ผ่านมา ทำให้งานสำเร็จลุล่วง และประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี

@siampongnews ผ้ามุ้ง#ผ้ามุ้งกลดพระธุดงค์ ♬ Ready - Official Sound Studio

ผู้ว่าฯลพบุรีเปิดลพบุรีเมืองแห่งการเรียนรู้ทุกช่วงวัยปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมมีหลักศีล 5 เป็นฐาน



วันที่ 29 สิงหาคม 2566 เวลา 09.00 น. ที่วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี แห่งที่ 2 อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี นายอำพล อังคภากรณ์กุล ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี เป็นประธานเปิดโครงการลพบุรีเมืองแห่งการเรียนรู้ทุกช่วงวัย กิจกรรมเสริมสร้างค่านิยมและปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 รุ่นที่ 4 โดยมี พระครูวิจิตรธรรมพิทักษ์ ดร.รองเจ้าคณะอำเภอโคกสำโรง เจ้าอาวาสวัดเขาจระเข้ หัวหน้าส่วนราชการ คณะพระวิทยากร คณะอาจารย์และเจ้าหน้าที่ร่วมเปิดโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย นักเรียน นักศึกษา และเยาวชน ของวิทยาลัยเทคนิคลพบุรี แห่งที่ 2 จำนวน 300 คน

ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี กล่าวว่า ปัจจุบันความเจริญทางด้านวัตถุมีมากขึ้น เด็ก นักเรียน นักศึกษา และประชาชนสามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลได้ง่ายขึ้น ซึ่งมีทั้งด้านดี และด้านลบ ประกอบกับสภาพปัญหาสังคม ทั้งด้านเศรษฐกิจ และการเมืองมีความสลับชับซ้อนและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของทุกคน ทำให้เกิดปัญหาในการดำเนินชีวิตมากมาย ซึ่งการนำหลักธรรมทางศาสนามาปรับใช้ในวิถีชีวิต จะทำให้การดำเนินชีวิตเป็นไปด้วยความซื่อสัตย์สุจริต อดทน มีความเพียร มีสติปัญญาและมีความรอบคอบ มีตระหนักในความสำคัญของความเป็นชาติไทย การยึดมั่นในหลักศีลธรรมของศาสนา และการจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ทำให้เกิดสมดุลและพร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว อีกทั้งสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมและมีเหตุผล โดยการน้อมนำหลักศีล 5 และคำสอนไปปฏิบัติจะทำให้เกิดความร่มเย็นทางจิตใจและสงบสุข ตรงตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัย โดยมีสัมมาชีพตามความถนัดของตนเองประกอบกับประเด็นยุทธศาสตร์ของจังหวัดลพบุรีที่ 4 ด้านพัฒนาสังคมคุณภาพชีวิตทุกช่วงวัย เรียนรู้ตลอดชีวิต และเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีเมืองลพบุรีมีความสงบสุขต่อไป

@siampongnews #หนังสือสวดมนต์กระแตปกแข็ง ♬ Dj Jalan Pargoy X Goyang Jaypong - DJ MIFTAH

ซึ่งกิจกรรมตามโครงการลพบุรีเมืองแห่งการเรียนรู้ทุกช่วงวัย ฯ ประจำปีงบประมาณ 2566 มีเป้าหมายการจัดอบรมนักเรียน นักศึกษา เยาวชน จำนวน 1,500 คน โดยแบ่งออกเป็น 5 รุ่น ๆ ละ 300 คน ซึ่งการดำเนินการครั้งนี้ เป็นรุ่นที่ 4 และจะมีการจัดกิจกรรมอีกครั้งรุ่นที่ 5 ในวันที่ 30 สิงหาคม 2566 วิทยาลัยเทคนิคโคกสำโรง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี

ข้อมูลข่าวและที่มา - https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG230829140331682


คกก.ขับเคลื่อน “หมู่บ้านรักษาศีล 5” ลงพื้นที่ตรวงเยี่ยมโครงการที่วัดเลียบคลองหอยโข่งสงขลา



เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2566 เวลา 08.30 น. พระเทพปัญญาโมลี คณะกรรมการบริหารกลาง พระราชวรเวที ประธานคณะกรรมการฯ ประจำหนใต้ พระสิริจริยาลังการ รองประธานคณะกรรมการฯ ประจำหนใต้ นำคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล 5” ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล 5” ณ วัดเลียบ ตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา โดยมี พระอาจารย์ภัตร อริโย รองเจ้าคณะจังหวัดสงขลา เจ้าอาวาสวัดนาทวี พระครูสิทธิสุตากร เจ้าคณะอำเภอคลองหอยโข่ง เจ้าอาวาสวัดเลียบ พร้อมด้วยนายมานิต บริพันธ์ นายอำเภอคลองหอยโข่ง นางสาวสุภาพร เกตุสุริยงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสงขลา ตลอดจนหัวหน้าส่วนราชการ คณะสงฆ์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาชน และนักเรียนน้อมถวายการต้อนรับ

ด้วยคณะสงฆ์จังหวัดสงขลา ร่วมกับจังหวัดสงขลา ได้คัดเลือกหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบระดับจังหวัด จำนวน 1 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่บ้านบ้านโหนด หมู่ที่ 2 ตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลาซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีการรักษาศีลอย่างต่อเนื่อง มีกิจกรรมที่ส่งเสริมวิถีวัฒนธรรมเชิงพุทธ โดยการบูรณาการร่วมกับคณะสงฆ์ หน่วยงานราชการ ภาคีเครือข่าย มีการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้โครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ส่งผลให้เกิดความสงบสันติสุข ความปรองดองสมานฉันท์แก่ประชาชนในหมู่บ้าน

@siampongnews #หนังสือสวดมนต์กระแตปกแข็ง ♬ Dj Jalan Pargoy X Goyang Jaypong - DJ MIFTAH


ในโอกาสนี้ พระเทพปัญญาโมลี คณะกรรมการบริหารกลาง พระราชวรเวที ประธานคณะกรรมการฯ ประจำหนใต้ และคณะกรรมการ ได้มอบเกียรติบัตรแก่ผู้ให้การสนับสนุนโครงการฯ หมู่บ้านรักษาศีล 5 จากนั้นในช่วงบ่าย คณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล 5” พร้อมด้วยส่วนราชการ ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามการดำเนินโครงการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน หมู่บ้านบ้านโหนด หมู่ที่ 2 ตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง ซึ่งชาวบ้านได้ใช้เวลาว่างรวมตัวตั้งกลุ่มทำผลิตภัณฑ์ ทำให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชน สร้างรายได้แก่คนในพื้นที่ โดยน้อมนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาด้วยหลักของศีล 5 มาประพฤติปฏิบัติในการดำเนินชีวิต จึงเกิดความรักความสามัคคีและอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข


ข้อมูลข่าวและที่มา https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG230829152033724


 


"สภา มจร" อนุมัติปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ "เพลิน พรหมแดน" เข็มเกียรติคุณ"ไผ่ พงศธร"



เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2566 เวลา 13.00 น. ที่อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) พระพรหมวชิราธิบดี นายกสภามหาวิทยาลัย เป็นประธานการประชุมสภามหาวิทยาลัย โดยมี พระธรรมวัชรบัณฑิต อธิการบดี  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม วาระการประชุมที่สำคัญมีหลายวาระด้วยกัน หนึ่งในนั่นคือ ที่ประชุมได้อนุมัติปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 74 รูป/คน เข็มเกียรติคุณ 43 คน รวม 117 รูป/คน ส่วนนิสิตจบการศึกษารวมทั้งสิ้นประมาณ 4 พันรูป/คน พร้อมกำหนดวันประทานปริญญาบัตรวันที่ 9 -10 ธันวาคม 2566 นี้

พระราชวัชรสารบัณฑิต  รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา ในฐานะเลขานุการสภามหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า วันนี้มีหลายวาระด้วยกัน แต่ที่สำคัญที่สุดคือ  วาระการอนุมัติผู้จบการศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรี โท และเอก รวมทั้งรายชื่อผู้สมควรได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์  มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ และเข็มเกียรติคุณผู้ทำ“ที่ประชุมอันมี พระพรหมวชิราธิบดี นายกสภามหาวิทยาลัย พระธรรมวัชรบัณฑิต อธิการบดี มจร รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิและตัวแทนคณาจารย์ ได้อนุมัติเห็นชอบ พระภิกษ์สงฆ์ผู้เป็นที่เคารพสักการะ ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาทั้งในประเทศและนานาชาติรับ ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ อาทิ หลวงพ่อ พระพรหมวชิรมงคล เจ้าอาวาสวัดราชาธิวาส  พระพรหมมุนี  วัดพระศรีมหาธาตุบางเขน  พระธรรมวชิรดิลก วัดสุทัศนเทพวราราม พระเทพปัญญาภรณ์ วัดตากฟ้า พระราชเสนาบดี วัดบางพลีใหญ่ 

@siampongnews ผ้ามุ้ง#ผ้ามุ้งกลดพระธุดงค์ ♬ Ready - Official Sound Studio

ส่วนพระเถระผู้ใหญ่ต่างประเทศ มี ประธานนิกายมหาเย็น หรือ รามัญธรรมยุติ จากมอญ รวมทั้งรองประธานคณะสงฆ์รามัญนิกาย ที่ มจร ของเราไปเชื่อมสัมพันธ์ด้านการศึกษาเอาไว้ ในส่วนของฆราวาสมีทั้งต่างประเทศ และในประเทศ อาทิ คุณวิภาวรรณ พรหมวิหาร ภริยาประธานสภาแห่งชาติลาว คุณพายัพ ชินวัตร  คุณกฤษฎา จ่างใจมนต์  CEO เนเจอร์กิฟ นายปัญญา นิรันดร์กุล ประธานบริษัท เวิร์คพอยท์ คุณเอกพันธ์ บรรลือฤทธิ์   ดังนี้เป็นต้น และที่ประชุมได้กำหนดวันประทานปริญญาประจำปีนี้ไว้ ระหว่างวันที่ 9 – 10 ธันวาคม 2566 สำหรับวันที่ 9 เป็นวันซ้อม ส่วนวันที่ 10 เป็นวันรับจริง ซึ่งปีนี้ฝ่ายทะเบียนแจ้งว่ามีนิสิตจบการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรี โท และปริญญาเอก ประมาณ 4 พันรูป/คน การมอบทั้ง ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์  ปริญญาเอก โท และปริญญาตรี รวมทั้งเข็มเกียรติคุณ 



นอกจากรายชื่อดังกล่าวแล้ว ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ยังได้อนุมัติผู้สมควรได้รับ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ เช่น  พระเทพมุนี วัดปากน้ำภาษีเจริญ พระราชรัตนโมลี เจ้าคณะจังหวัดมุกดาหาร พระครูคัมภีร์ปัญญาวิกรม วัดอรุณราชวราราม แม่ชีสิรินกานต์ สุขประเสริฐ กรรมการมูลนิธิพุทธะมหาเมตตาและมูลนิธิบุญญานุภาพ นายอนุรุธ ว่องวานิช ประธานกลุ่มบริษัทอังกฤษตรางู นายไกรสอน กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น นายประเสริฐ วรปัญญา อดีตวุฒิสมาชิกจังหวัดลพบุรี น.ส.จิรฐา ทองเมตตา ประธานบริษัท แอ๊บโซลูท คลีน เอ็นเนอร์จี้ จำกัด (มหาชน) นายอธิวัฒน์ สนิทวงศ์ ณ อธุยา นายสมส่วน พรหมสว่าง (เพลิน พรหมแดน) นายพันธ์รบ กำลา ผู้ก่อนตั้งบริษัทชายสี่ บะหมี่เกี๊ยว น.ส.ปัทมาวรรณ ศักดิ์ภิรมย์ ผู้จัดการสมาคมผู้ทำคุณประโยชน์เพื่อพระพุทธศาสนา เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีผู้ได้รับการอนุมัติให้ได้ด้รับเข็มเกียรติคุณ เช่น ไผ่ พงศธร นักร้องนักแสดง น.ส.รัชนก ศรีโลพันธุ์ ศิลปินนักร้อง นักแสดง นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายสุภชัย วีระภูชงค์ รองกรรมการผู้จัดการบริษัท ไทยนครพัฒนา จำกัด นางทัศนี จ่างใจมนต์ ผู้บริหารเนเจอร์กีฟ Miss Nandar Mor Myint Thu age ตำแหน่ง CEO of Shwe Nay Min Gyi Co;Lte;Managing Director of Goden Oriental Leaf Co;Ltd.  Mr.Han Myint Thu ตำแหน่ง CEO of Rain Forest Co;Ltd; Managing Director of Myanmar intrenational School และ Mr. Min Kon Son ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา เป็นต้น

"อธิการบดี มจร" แนะนำอริยสัจโมเดลเป็นฐาน ออกแบบหลักสูตรจริยธรรมต่อต้านการทุจริตสำหรับเยาวชน ของมูลนิธิต่อต้านการทุจริต



วันที่ 29 สิงหาคม 2566 ที่ห้องพุทธเมตตา หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) มูลนิธิต่อต้านการทุจริตโดยคณะทำงานในการจัดทำหลักสูตรการอบรมจริยธรรมและการต่อต้านการทุจริต ศูนย์ฝึกอบรมต่อต้านการทุจริตแห่งประเทศไทย ร่วมกับ มจร  จัดการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ในประเด็นหัวข้อ “การออกแบบหลักสูตรจริยธรรมต่อต้านการทุจริตสำหรับเยาวชน” เพื่อนำองค์ความรู้จากผลการสนทนากลุ่มไปเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนจัดทำกรอบหลักสูตรจริยธรรมต่อต้านการทุจริตสำหรับเยาวชน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาและฝึกอบรมจริยธรรมเพื่อการต่อต้านการทุจริตสำหรับเยาวชนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยพลเอกธีระเดช ฉัตรเสถียรพงศ์ รองประธานกรรมการมูลนิธิต่อต้านการทุจริต  กล่าวถึงที่มาและวัตถุประสงค์ของการพัฒนาหลักสูตรดังกล่าว



ต่อมาพระธรรมวัชรบัณฑิต, ศ.ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปาฐกถาหัวข้อ “จริยธรรมสำหรับการป้องกันทุจริต”  โดยกล่าวประเด็นสำคัญว่า ขออนุโมทนาในกุศลจิตในการมาร่วมเพื่อการออกหลักสูตรจริยธรรมเพื่อการต่อต้านการทุจริตสำหรับเยาวชน จะต้องทำอย่างต่อเนื่องเพราะเป็นคุณงามความดี จึงต้องสร้างปรโตโฆสะรูปแบบของการแนะนำคำสั่งของบุคคล และช่องทางต่างๆ ให้เด็กเยาวชนละชั่วทำความดี  เป็นอาหารในทางใจ  สร้างบรรยากาศแห่งคุณงามความดี เช่น สวดมนต์ ปฏิบัติธรรม มีวัฒนธรรมที่ดี  สร้างบุคคลต้นแบบเชิดชูในการสร้างคุณงามความดี โดยชื่อหลักสูตรจะต้องไม่แข็งเกินไปจะต้องนุ่มนวลอยากเรียนรู้ 

สัทธรรมในทางพระพุทธศาสนาประกอบด้วย 1)ปริยัติสัทธรรม เป็นหลักวิชาการเกี่ยวกับจริยธรรม โดยจริยธรรมเป็นเนื้อหาเป็นหลักการปฏิบัติที่ดีงาม โดยต้องตอบคำถาม 5 ข้อ ประกอบด้วย 1)ชีวิตคืออะไร   2)ชีวิตเป็นอย่างไร  3)ชีวิตเป็นไปอย่างไร 4)ชีวิตควรเป็นอย่างไร  5) ชีวิตควรเป็นอยู่อย่างไร ซึ่งเป็นวิชาการเป็นปริยัติอย่างหลักสูตรเป็นเพียงปริยัติ ความรู้ทางวิชาการไม่เพียงพอแต่มุ่งเก่ง  2)ปฏิบัติสัทธรรม เป็นการลงมือปฏิบัติโดยมุ่งเฉพาะไตรสิกขา ประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นการฝึกอบรมกล่อมเกลาผ่านศีล จิตใจนำไปสู่เกิดการปัญญา เป็นการฝึกอบรมควรคู่กันไปแต่มุ่งความดี  3)ปฏิเวธสัทธรรม ผลที่เกิดขึ้นรู้ดีทำได้ใช้เป็น   



หลักสูตรที่จะออกแบบจะต้องมีหลักการ วิธีการ กระบวนการ ผ่านการเก่ง ดี มีความสุข จะต้องพัฒนาจิตใจให้ดีงาม ควรบูรณาการหลากหลายรูปแบบเพื่อให้จิตใจดีงาม ผ่านกระบวนการไตรสิกขาถือว่าเป็นจริยธรรม สอดรับกับพระพุทธเจ้าในการตรัสรู้ผ่านอริยสัจ 4  จึงต้องมุ่งหาตัวทุกข์ให้เจอว่าทุกข์อะไรอย่างไร กับมุ่งสาเหตุของปัญหาของตัวทุกข์ คำถามเด็กเยาวชนมีปัญหาอะไรอย่างไร ซึ่งเด็กเยาวชนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการพัฒนาชีวิต จะทำให้กลับมาสู่ความดียาก จึงต้องมองสมุทัยให้ลึกซึ่งเป็นสาเหตุที่แท้จริงของเด็กเยาวชน จึงต้องมองนิโรธซึ่งเป็นเป้าหมายของการพัฒนาหลักสูตร หลักสูตรจึงเป็นนิโรธ แต่มรรคเป็นสิ่งสำคัญที่สุดซึ่งเป็นวิธีการ ซึ่งการไปสู่นิโรธไม่ใช่ปริยัติแต่เป็นปฏิบัติสัทธรรม เพราะถ้าคนเก่งมากจะเป็นมิจฉาทิฐิเพราะหลงว่าตนเองเก่ง จึงต้องพัฒนาสติสมาธิให้เป็นคนดีจึงนำไปสู่ปัญญา ซึ่งปัญญาสามารถเกิดขึ้นได้จากการพัฒนาผ่านสติและสมาธิ จะต้องมองให้ชัดถึงอริยสัจโมเดลผ่านปัญหา สาเหตุ เป้าหมาย และวิธีการ    


วันจันทร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2566

"พระมหาสมนึก"รองประธานสมัชชาศีล 5 หนกลาง ออกตรวจเยี่ยมผู้ป่วยติดเตียงประจำเดือน



เมื่อวันที่  28  สิงหาคม 2566 พระมหาสมนึก จนฺทโชโต รองประธานสมัชชาศีล 5  หนกลาง พร้อมด้วย  พระปลัดนพพร  ฐิตปญฺโญ พระสมุห์อำนาจ จนฺทโชโต พระใบฏีกาธนศักดิ์ กนฺตนนฺทโญ สมัชชาศีล ๕ จังหวัดเพชรบุรี ได้ร่วมกับ ร่วมกับคณะสงฆ์อำเภอท่ายาง ออกตรวจเยี่ยมผู้ป่วยติดเตียง  นำโดยพระครูวัชรชลธรรม  เจ้าคณะอำเภอท่ายาง   นายจงรัก   เพชรเสน  นายอำเภอท่ายางเหล่ากาชาติ  อสม. ผู้นำชุมชน มอบของอุปโภคบริโภค มอบขวัญกำลังใจ แก่ผู้ป่วยติดเตียง ซึ่งทำเป็นประจำทุกวันที่ 28  ของทุกเดือน ของคณะสงฆ์อำเภอท่ายาง  "สีลํ โลเก อนุตฺตรํ ศีลเป็นเยี่ยมในโลก" "ปุญฺญกเขตฺตํ โลกสฺส  พระสงฆ์เป็นนาบุญของชาวโลก"  เป็นทั้งผู้รับ และผู้ให้ สาธุ

@siampongnews ผ้ามุ้ง#ผ้ามุ้งกลดพระธุดงค์ ♬ Ready - Official Sound Studio

"พระอาจารย์ มจร เชียงใหม่" กังวลสามเณรไร้สัญชาติในไทยไม่ได้เรียนหนังสือ

 


เมื่อวันที่ 27 สิงหาคมที่ผ่านมา พระครูสิริบรมธาตุพิทักษ์, ผศ.ดร. รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้านการศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนาศิลปวัฒนธรรม ร่วมกับสำนักวิปัสสนากัมมัฏฐานวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) จังหวัดเชียงใหม่ โดยพระภาวนาธรรมาภิรัช วิ. เจ้าอาวาสวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) คณะสงฆ์เมืองยอง  โดยสมเด็จอัคคราชคุรุอาชญาธรรม สังฆนายกะเมืองยอง และคณะโคปกะ (คณะวัฒนธรรมพื้นเมือง) เมืองยอง โดยขนานมหาแดง ประธานคณะวัฒนธรรมพื้นเมือง เมืองยอง เพื่อร่วมมือกันในการศึกษา วิจัย เผยแพร่ และทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาศิลปวัฒนธรรม ให้ธำรงอยู่เป็นอัตลักษณ์ในภูมิภาคนี้สืบไป ณ วัดราชฐานหลวงหัวข่วง เมืองยอง รัฐฉาน สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์



พร้อมเปิดโครงการอบรมวิปัสสนากัมมัฏฐาน สานสัมพันธ์พระพุทธศาสนา เชียงใหม่-เมืองยอง-เชียงตุง โดยมีสมเด็จอัคคราชคุรุอาชญาธรรม (คนฺธรสวํโส) สังฆนายกะเมืองยอง ประธานในพิธี กล่าวเปิดโครงการอบรมวิปัสสนากัมมัฏฐาน ในการนี้มี พระภาวนาธรรมาภิรัช วิ. เจ้าสำนักปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) เจ้าคณะอำเภอเมืองเชียงใหม่ ให้โอวาทกัมมัฏฐาน พร้อมทั้งนำสอนการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฏฐาน  ณ วัดพระธาตุจอมยอง เมืองยอง รัฐฉาน สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์

"พระอาจารย์ มจร เชียงใหม่" กังวลสามเณรไร้สัญชาติในไทยไม่ได้เรียนหนังสือ

อย่างไรก็ตามพระวิสิทธิ์ ฐิตวิสิทฺโธ (วงใส) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร.) วิทยาเขตเชียงใหม่  เปิดเผยว่า  เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคมที่ผ่านมา ได้มีโอกาสเดินทางไปยังจังหวัดเชียงตุง รัฐฉานตะวันออก ประเทศพม่า เพื่อไปศึกษาประเด็นปัญหาสามเณรไร้รัฐไร้สัญชาติในพื้นที่ประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากประเทศไทยเป็นพื้นที่ปลายน้ำที่ลูกเณรเข้ามาพึ่งพาอาศัยลี้ภัยสงคราม เมื่อได้ลงพื้นที่ปรากฏว่าในประเทศพม่าก็มีการจัดการศึกษาให้กับสามเณรเช่นเดียวกัน เพียงแต่พวกเขาไม่จำเป็นต้องใช้เลขระบุสถานะทางทะเบียน และการจัดการศึกษาก็เพื่อให้กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ สามารถสื่อสารกันและกันได้เท่านั้น เพราะเป็นที่เข้าใจกันดีว่าประเทศพม่ามีหลากหลายชาติพันธุ์และพูดคุยกันคนละภาษา

พระวิสิทธิ์กล่าวว่า สามเณรสามารถแบ่งประเภทได้ 3 ส่วน คือ 1.สามเณรที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์เข้ารับการศึกษาโดยไม่ขึ้นตรงต่อรัฐบาลพม่า และอยู่ในพื้นที่เงียบสงบ 2.สามเณรที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่เข้ารับการศึกษาโดยมีรัฐบาลพม่าสนับสนุน 3.สามเณรกลุ่มชาติพันธุ์ที่ต่อต้านรัฐบาลพม่าและอยู่ในพื้นที่ที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งผู้ปกครอง พ่อแม่ของสามเณรบางส่วนเป็นผู้อพยพลี้ภัยทางการเมือง และนำลูกมาบวชเพราะต้องการปกป้องลูกให้อาศัยร่มกาสาวพัสตร์จากภัยสงคราม

"มีเด็กผู้หญิงบางคนที่จำเป็นต้องโกนผมเพื่อเข้าเรียนเช่นเดียวกัน หลายคนเป็นเด็กกำพร้าและหากสงครามยุติลงก็ไม่รู้ว่าพวกเขาจะมีโอกาสได้พบครอบครัวหรือไม่ เป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง หากสามเณรไร้รัฐไร้สัญชาติที่อยู่ในประเทศไทยไม่ได้รับการแก้ปัญหา และหากถูกส่งตัวกลับไปยังพื้นที่ต้นน้ำที่เป็นพื้นที่อันตรายนั้น ก็ไม่รู้ชะตาชีวิตของพวกเขานั้นจะเป็นอย่างไร" พระวิสิทธิ์ กล่าว

@siampongnews ผ้ามุ้ง#ผ้ามุ้งกลดพระธุดงค์ ♬ Ready - Official Sound Studio

นายปารมี ไวเจริญ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าถึงการตั้งคณะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญเพื่อพิจารณาแนวทางการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่ไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติไทย ว่าในวันที่ 3-4 กันยายน 2566 พรรคก้าวไกลและเครือข่ายภาคประชาสังคม จะลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่เพื่อศึกษารวบรวมข้อมูลเด็กนักเรียน เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาการออกรหัส G (Generate Code) แก่เด็กไร้สถานทางทะเบียนราษฎรทั่วประเทศ ซึ่งครอบคลุมไปถึงสามเณรที่ไร้รัฐไร้สัญชาติ โดยในระหว่างที่กำลังรอสภาผู้แทนฯบรรจุวาระก็ได้เร่งศึกษาและรวบรวมข้อมูลเด็กกลุ่มนี้เพิ่มเติม


 


ศน.นิมนต์พระพรหมบัณฑิตบรรยายเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์กับการพระพุทธศาสนา



ศน.สืบสานโบราณราชประเพณี สร้างการรับรู้งานพิธีกฐินพระราชทาน รักษามรดกทางวัฒนธรรมประเพณีอันทรงคุณค่าคู่แผ่นดินไทย

วันที่ 29 สิงหาคม 2566 เวลา 08.30 น. นายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา เป็นประธานการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องพระมหากษัตริย์กับการพระพุทธศาสนาและศาสนพิธี เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการสืบสานโบราณราชประเพณีที่เกี่ยวข้องกับงานด้านศาสนูปถัมภ์และศาสนพิธี โดยมี ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน รัฐวิสาหกิจ พ่อค้าประชาชน ผู้ขอรับผ้าพระกฐินพราชทาน เจ้าหน้าที่กรมการศาสนา และสื่อมวลชน เข้าร่วมในพิธี ณ ห้องอมรินทร์ ชั้น 3 โรงแรมเอสดี อเวนิว เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร

นายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา (อศน.) เปิดเผยว่า สังคมไทยถือเป็นสังคมที่มีอัตลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความเป็นชาติไทย ซึ่งมีสถาบันหลักอยู่ 3 สถาบัน ที่ถือเป็นเสาหลักของบ้านเมือง นั่นก็คือ สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ซึ่งนับเป็นความโชคดีของพสกนิกรชาวไทยที่มีพระมหากษัตริย์นับถือพระพุทธศาสนาสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ได้ส่งเสริมงานด้านพระพุทธศาสนาในฐานะที่ทรงเป็นพุทธมามกะ โดยทรงดำรงพระองค์เป็นแบบอย่างของพุทธศาสนิกชนที่ดี ทั้งด้านการศึกษาธรรม การทำนุบำรุงส่งเสริมการสืบสานประเพณีและศาสนพิธีมิให้ขาดหาย ทรงนำหลักการครองแผ่นดินโดยธรรมตามหลักทศพิธราชธรรม มาบริหารกิจการบ้านเมือง รวมทั้งทรงทำนุบำรุงส่งเสริมกิจการด้านพระพุทธศาสนาอย่างเต็มพระกำลัง ทำให้พระพุทธศาสนาในประเทศเจริญวัฒนาถาวร นำมาซึ่งความร่มเย็นเป็นสุขของพสกนิกรชาวไทย

@siampongnews ผ้ามุ้ง#ผ้ามุ้งกลดพระธุดงค์ ♬ Ready - Official Sound Studio

อธิบดีกรมการศาสนา (อศน.) กล่าวต่อไปว่า กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง พระมหากษัตริย์กับการพระพุทธศาสนาและศาสนพิธี ในครั้งนี้ ได้รับความเมตตาจากพระพรหมบัณฑิต กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส ซึ่งเป็นพระมหาเถระที่มีความรู้ ความสามารถ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิชาการมีผลงานบทความด้านวิชาการมากมาย และมีความรู้ความเข้าใจเฉพาะในด้านพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการสืบสานโบราณราชประเพณีที่เกี่ยวข้องกับงานพระพุทธศาสนา มาเป็นวิทยากรบรรยาย เรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์กับการพระพุทธศาสนา และยังมีวิทยากรจากกรมการศาสนา ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานด้านศาสนพิธี มาให้ความรู้ เรื่องข้อปฏิบัติเกี่ยวกับพระกฐินพระราชทาน อันเป็นผ้าพระกฐินที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานผ้าพระกฐินพร้อมเครื่องบริวารพระกฐิน ประกอบด้วย 1.ไตรจีวร 2.ผ้าห่มพระประธาน 3.เทียนพระปาติโมกข์ 4.ผ้าขาว 5. บาตรสแตนเลส พร้อมถลกบาตร 6.หมอนหนุนพร้อมปลอกสีเหลืองอ่อน 7. ผ้าห่มขนหนู 8. ผ้าแพรสีเหลืองอ่อน 9. ชุดโถข้าว 10. ชุดช้อน - ส้อม 11. ปิ่นโตคาว - หวาน 12. ชุดแก้วน้ำกระบะมุก 13. กระติกน้ำร้อนไฟฟ้า 14. โคมไฟตั้งโต๊ะ 15. นาฬิกาปลุก 16. ไฟฉาย 17. ชุดสว่านไฟฟ้าไร้สาย 18. กล่องบรรจุเครื่องพระกฐินพระราชทาน เพื่อน้อมนำไปทอดถวายยังพระอารามหลวงต่าง ๆ ซึ่งการเตรียมถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประกอบด้วย 1. การเตรียมสถานที่ในพระอุโบสถ 2. จัดทำกำหนดการถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน เพื่อให้มีความเรียบร้อยสวยงาม และสมพระเกียรติ 3. จัดเตรียมโต๊ะหมู่บูชา ประดับแจกัน พุ่มดอกไม้ โต๊ะหมู่ตัวกลางสูงสุดประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โต๊ะหมู่ตัวกลางแถวกลางประดิษฐานผ้าพระกฐินพระราชทาน ถัดลงมาตัวกลางแถวล่าง วางพานดอกไม้ธูปเทียนแพ (บนหลังธูปเทียนแพมีกระทงดอกไม้กรวยครอบ)

4. ตรวจสอบเครื่องพระกฐินพระราชทานครบตามจำนวนที่กรมการศาสนากำหนดไว้หรือไม่ 5. จัดเตรียมเทียนชนวน ที่กรวดน้ำ คำถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน 6. จัดเตรียมพานสำหรับประดิษฐานผ้าพระกฐินพระราชทาน เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ 7. จัดเตรียมโต๊ะ พานแว่นฟ้า และพานวางเทียนปาฏิโมกข์ ตั้งหน้าพระสงฆ์รูปที่ 2 สำหรับให้ผู้ขอรับพระราชทานผ้าพระกฐินวางผ้าพระกฐินพระราชทานถวายพระสงฆ์

ทั้งนี้ แนวทางการปฏิบัติงาน ดังนี้ 1. จัดแต่งธูปเทียนเครื่องนมัสการพระพุทธปฏิมาในพระอุโบสถให้เรียบร้อย 2. จัดโต๊ะหมู่บูชาเพื่อประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ตัวสูงสุด แถวกลางประดิษฐานผ้าพระกฐินพระราชทานไว้ที่ตัวกลาง แถวกลาง และวางพานดอกไม้ธูปเทียนแพไว้ที่โต๊ะหมู่ตัวกลางแถวล่าง 3. ผ้าพระกฐินพระราชทาน ให้นำพลาสติกออก แล้วจึงติดคำถวายบนผ้าพระกฐินพระราชทาน และวางผ้าห่มพระประธานไว้บนคำถวายผ้าพระกฐิน ควรใช้เทบใสยึดติดให้แน่นป้องกันไม่ให้เลื่อนตก (สำหรับพระอารามหลวงที่สังกัดธรรมยุตทั้งหมด และพระอารามหลวงที่สังกัดมหานิกาย ซึ่งมีอยู่ 7 พระอาราม ได้แก่ วัดชินวราราม จังหวัดปทุมธานี วัดเขาวัง จังหวัดราชบุรี วัดในวังจังหวัดสงขลา วัดเทวสังฆาราม จังหวัดกาญจนบุรี วัดปรมัยยิกาวาส จังหวัดนนทบุรี วัดทรงธรรม จังหวัดสมุทรปราการ และวัดเจริญสุขาราม จังหวัดสมุทรสาคร จะมีผ้าขาวด้วย ให้ใช้ริบบิ้นผูกผ้าขาว ติดกับผ้าพระกฐินพระราชทานไว้ให้เรียบร้อยก่อน แล้วจึงติดคำถวายไว้บนผ้าขาว และนำผ้าห่มพระประธานวางไว้บนคำถวาย และต้องใช้เทปติดให้แน่นเช่นกัน)

การอบรมฯ ดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติงานด้านศาสนพิธีในงานพระราชพิธี งานพระราชกุศล และงานศาสนพิธีที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ กอปรกับรัฐบาลได้เล็งเห็นถึงความสำคัญจึงได้กำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันทางสังคมใช้ศาสนาเป็นหลักในการส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และคนในสังคมมีศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรมตามหลักคำสอนทางศาสนา พร้อมทั้งได้มีนโยบายของรัฐบาลด้านการเรียนรู้ การทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม โดยเฉพาะการทำนุบำรุงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา และศาสนาอื่นๆ ตลอดจนสร้างสันติสุขและความปรองดองสมานฉันท์ในสังคมไทยอย่างยั่งยืน ปลูกฝังค่านิยม และจิตสำนึกที่ดี สอดคล้องกับค่านิยมหลักของไทยในด้านความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นสถาบันหลักของชาติ การรักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงามสืบไป


โครงสร้างนิยายเรื่อง "น่านรัก"

โครงสร้างนิยายเรื่อง "น่านรัก" 1. บทนำ เปิดเรื่อง : สันติสุข ชายหนุ่มนักเขียนนิยายธรรมะที่ต้องการค้นหามิติใหม่ของการเล่าเรื่องธรรม...