เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2566 เวลา 10.15 น. ที่ท่าเทียบเรือ โรงน้ำแข็งศิริไพโรจน์ จ.สมุทรสงคราม นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นางมนพร เจริญศรี ว่าที่รมช.คมนาคม และคณะทำงานด้านการประมงของพรรคเพื่อไทยอาทิ นายปลอดประสพ สุรัสวดี อดีตรองนายกฯ นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส. บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ลงพื้นที่ เพื่อรับฟังปัญหาจากตัวแทนชาวประมงในพื้นที่ ที่ได้รับถึงผลกระทบจากประกาศของ IUU และแนวทางในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องชาวประมง มีนายสมนึก พรหมเขียว ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม รอให้การต้อนรับ
@siampongnews #เศรษฐาทวีสิน นำคณะลงพื้นที่ สมุทรสงครามแก้ #ประมง ตั้ง #ธรรมนัส หัวหน้าทีม #ข่าวtiktok #tiktokshopครีเอเตอร์ ♬ เสียงต้นฉบับ ดร.สำราญสมพงษ์นักข่าวป.ธ.5
นอกจากนี้ยังมี ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ และ ว่าที่ รมว.เกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายไผ่ ลิกค์ ว่าที่ รมช.พาณิชย์ ร่วมลงพื้นที่ด้วย
ทันทีที่มาถึง นายกฯ และคณะได้เดินไปยังบริเวณท่าเรือเพื่อดูเรือประมงที่จอดไว้โดยไม่สามารถออกไปทำประมงได้ รวมถึงดูการขึ้นปลา และการตรวจนับลูกเรือที่ออกไปทำประมงที่มีความสำคัญ หากไม่เป็นไปตามที่ IUU กำหนดจะถูกปรับเป็นเงินจำนวนมาก
@siampongnews กระบอกฉีดบ่นยา-ปุ๋ยการเกษตร
♬ Thank You for Being You - OctaSounds
โดย นายเศรษฐา กล่าวทักทายประชาชนว่า วันนี้ตนมาในอีกสถานะหนึ่ง ตอนมาหาเสียงเลือกตั้งได้มาพูดคุยเรื่องการประมงที่เป็นปัญหาใหญ่ของประเทศ ก่อนมี IUU ไทยส่งออกสินค้าด้านการประมง 3.5 แสนล้านบาท แต่ตอนนี้เรานำเข้า 1.5 แสนล้านบาท ทำให้เราเสียหายจำนวนมาก วันนี้พรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาล เรามั่นใจว่าที่รัฐมนตรี ที่มาด้วยกันวันนี้มีความสามารถ มีความรู้ทำงานเรื่องการประมงมานาน เราต้องการแก้ปัญหาอย่างบูรณาการ ทั้งกฎหมายภายใน และการเจรจาระหว่างประเทศควบคู่กันไป
จากนั้นตัวแทนกลุ่มประมงได้สะท้อนปัญหาการทำประมงแก่นายกฯและคณะ เช่นขอให้แก้กฎหมายต่างๆที่เป็นปัญหาต่อการทำประมง จำนวน 13 ฉบับ ที่จะสามารถทำให้การประมงสามารถขับเคลื่อนได้ และขอให้การบังคับใช้แรงงานต่างด้าวในภาคประมงเหมือนกับแรงงานต่างด้าวที่ทำงานบนฝั่งที่ภาคประมงจะใช้เวลานานรวมถึงเสนอว่าการขึ้นค่าแรงที่จะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ขอให้ทำทีละขั้นไม่ให้ภาคธุรกิจสะดุด
โดยนายเศรษฐา กล่าวว่า ได้เห็นถึงความลำบากและปัญหา ตั้งแต่ตนรับสนองพระบรมราชโองการมาไปดูเรื่องการท่องเที่ยว การแก้ปัญหาหนี้สิน และเรื่องที่สามคือเรื่องประมง เป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาลจะให้ความสำคัญสูงสุด เรื่องปัญหาแรงงานเราจะแก้ปัญหา ให้เอกสารอยู่ในวันสต๊อปช็อปได้ อะไรอยู่ในอำนาจคระรัฐมนตรี จะตั้งคณะทำงานขึ้นมาให้ ร.อ.ธรรมนัส เป็นหัวหน้า และเชิญผู้เกี่ยวข้องมาพูดคุยกัน หลายอย่างอาจทำไม่ได้ในคราวเดียวขอให้อดทน และขอให้มั่นใจรัฐบาลเพื่อไทยอะไรทำได้เราจะทะยอยทำไปก่อนเพื่อให้ท่านลืมตาอ้าปากได้ เรื่องใหญ่ๆอย่างเช่นเรื่องน่านน้ำ ที่ประเทศอินโดนีเซีย มีทรัพยากรเยอะมาก แต่ไม่มีความสามารถในการจับสัตว์น้ำ ดังนั้นขอให้ความมั่นใจเราจะเดินหน้าเต็มที่ในการเปิดประตูการค้า ซึ่งเป็นเรื่องที่ตนให้ความสำคัญ
จากนั้น นายเศรษฐา ให้สัมภาษณ์ กรณีการจัดการวันสต็อปช็อปว่า ต้องให้คณะทำงานดูก่อน วันนี้มาดูแล้วเห็นปัญหาว่าแรงงานที่จะทำงานต้องมีเอกสารจำนวนมาก มีหลายกระทรวงเข้ามาเกี่ยวข้อง หากเอกสารขาดก็เห็นใจ อีกทั้งเอกสารต่างๆก็ยังเป็นกระดาษก็อยากให้เข้าระบบออนไลน์ทั้งหมดเพื่อความสะดวก และในแง่การตรวจก็จะดีขึ้น
เมื่อถามว่าที่ระบุให้ ร.อ.ธรรมนัส เป็นผู้ดูแลเรื่องประมง จะดูแลเฉพาะเรื่องประมง หรือหมายรวมไปถึงเรื่องเกษตรทั้งหมด นายเศรษฐา กล่าวว่า เมื่อเป็นว่าที่ รมว.เกษตรและสหกรณ์ก็ต้องดูทั้งหมดด้วย และจากที่ตนเรียนไป สัปดาห์ก่อนไปดูเรื่องท่องเที่ยว ตามด้วยเรื่องการแก้ปัญหาหนี้สิน เรื่องประมงเป็นเรื่องที่ 3 ที่ตนมาดูเอง เชื่อว่าเรื่องนี้เราพร้อมช่วยเหลือเต็มที่เข้ามาทำงานร่วมกับผู้ประกอบการและจัดการแก้ปัญหาโดยเร็ว ยอมรับว่าปัญหาใหญ่ปัญหาเยอะ อะไรที่ทำได้เราจะทำก่อน
เมื่อถามว่าเท่าที่รับฟังปัญหาอะไรทำได้ทำทันที นายเศรษฐา กล่าวว่าขอพิจารณา อะไรที่เกี่ยวกับกฎกระทรวงทบวงกรม หรือเข้าคณะรัฐมนตรี และต้องเจรจาการค้าระหว่างประเทศก็อาจจะนานหน่อย เช่นเรื่องวิทยุมดขวา มดดำ (วิทยุสื่อสารระหว่างเรือประมง) ที่เพิ่งมีการบังคับใช้ในระยะหลังทั้งทีเรามีการสื่อสารทางวิทยุกันอยู่แล้ว
เมื่อถามถึง พ.ร.บ.บริหารจัดการแรงงานต่างด้าว มาตรา 14 ที่เป็นปัญหาสำหรับแรงงานต่างด้าวจะสามารถแก้ได้ทันทีหรือไม่ นายเศรษฐา กล่าวว่าต้องศึกษาร่วมกับกระทรวงแรงงานด้วย เพราะเป็นเรื่องใหญ่ ต้องมาพูดคุยกันทุกฝ่าย
เมื่อถามว่า น่านน้ำอินโดนิเซีย จะสามารถเข้าไปเจรจาได้เลยหรือไม่ นายเศรษฐา กล่าวว่า ขอดูก่อน แต่ถือเป็นประเทศอาเซียนด้วยเหมือนกัน และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเรา และไม่ถึอว่าแย่งกันทำงาน เพราะเขามีทรัพยากร เรามีความรู้ทางการทำประมง ถ้ามาร่วมกันได้กันแบ่งปันผลประโยชน์ก็น่าจะลงตัวและเดินหน้าด้วยกันได้
เมื่อถามว่าที่มามุ่งปัญหาประมงเพราะปัญหา 8-9 ปีทำให้ประเทศติดหล่มใช่หรือไม่ นายเศรษฐา กล่าวว่า ประเทศเสียหายรายได้เป็นจำนวนปีละ 5 แลนล้านผ่านมากี่ปีแล้วเป็นเงินเท่าไหร่ เราก็ต้องมาแก้ไขเดินหน้าดีกว่าอย่ามองเรื่องปัญหาเก่าอย่าไปว่าใครเลยดีกว่า และมั่นใจว่ากฎหมายต่างๆที่ผู้ประกอบการประมงเสนอมามั่นใจสามารถแก้ไขได้ ต้องฝาก ร.อ.ธรรมนัสเป็นผู้รับผิดชอบ
นายเศราฐา กล่าวต่อว่า สำหรับเรื่องค่าแรงที่ทางผู้ประกอบการบอกว่าจะหมุนเศรษฐกิจได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งเรื่องค่าแรงเป็นนโยบายหลักของทุกพรรคการขึ้นค่าแรงก็ต้องระมัดระวังในการขึ้น เพราะเป็นการขึ้นภาระค่าใช้จ่ายของทุกภาคส่วน แต่มีความจำเป็นเพราะค่าครองชีพสูงขึ้น แต่ที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดคือการเน้นเพิ่มรายได้ ถ้าเราเพิ่มรายได้ให้เอสเอ็มอีได้ เขาก็จะสามารถเพิ่มค่าแรงได้ ซึ่งจะเร่งทำทันทีก็อาจจะช่วงปีใหม่แต่ต้องคุยกับพรรคร่วมอีกครั้ง เพราะเราทำงานเป็นรัฐบาลที่มีพรรคร่วม
เมื่อถามว่าลักษณะการทำงานของนายกฯหลังจากนี้จะไปควบคู่กับรัฐมนตรีที่มาจากพรรคต่างๆใช่หรือไม่ นายเศรษฐา กล่าวว่าเป็นธรรมดา ที่ต้องร่วมกับรัฐมนตรี อยากให้มองเป็นองค์รวมว่าไม่ใช่รัฐบาลของพรรคเพื่อไทย แต่เป็นรัฐบาลของประชาชน ประกอบกับหลายพรรคการเมือง เชื่อว่าทุกรัฐมนตรีที่ได้รับการพูดถึงทุกท่านมีความเป็นห่วงปัญหาปากท้องของประชาชนและมีความปราถนาดีของประเทศขอแค่โอกาส
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากรับฟังปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องชาวประมง จากนั้น นายกฯและคณะ ได้รับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน ซึ่งเมนูอาหารประกอบด้วย แกงเขียวหวานลูกชิ้นปลากราย ผัดกระเพราทะเล และปลาทูทอดหวาน โดยนายกฯได้ลงมือตักอาหารรับประทานด้วยตัวเองด้วย.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น