วันจันทร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2566

กรมศิลป์สำรวจสภาพชำรุด พระพุทธรูปบริเวณระเบียงคดวัดอรุณราชวรารามและพระพุทธรูปวัดแจงร้อน



กรมศิลปากรสำรวจสภาพความชำรุดพระพุทธรูปบริเวณระเบียงคด วัดอรุณราชวราราม และพระพุทธรูปภายในวิหารวัดแจงร้อน เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร

 เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2566  นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจากกองโบราณคดี กรณีพระพุทธรูปปูนปั้นโบราณ ปางมารวิชัย บริเวณพระระเบียง พระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม และพระพุทธรูปหินทราย วัดแจงร้อน เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพฯ เกิดความชำรุดเสียหาย ทั้งนี้ในปี พ.ศ. 2564 วัดอรุณราชวราราม เคยมีหนังสือขอความอนุเคราะห์กรมศิลปากรเกี่ยวกับการบูรณปฏิสังขรณ์พระระเบียง พระพุทธรูป และจิตรกรรมฝาผนังภายในพระระเบียง วัดอรุณราชวราราม กรมศิลปากรได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่กลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมและประติมากรรม กองโบราณคดี  เข้าสำรวจสภาพความชำรุดเสียหายของพระพุทธรูปปูนปั้นโบราณปางมารวิชัย และจิตรกรรมกรรมฝาผนังบริเวณพระระเบียง พบว่า ความชำรุดดังกล่าวเกิดจากการใช้วัสดุผิดประเภทในการซ่อมแซม ทำให้เกิดความชื้น ซึ่งกรมศิลปากรได้แจ้งสาเหตุของความชำรุดเสียหายดังกล่าวกับทางวัดเรียบร้อยแล้ว โดยทางวัดจะเป็นผู้ดำเนินการใช้งบประมาณของทางวัดในการบูรณะ 

@siampongnews #จี้สร้อยคอ #พระพิฆเนศ ♬ Toyik Mana - Derix Mail

สำหรับกรณีสภาพความชำรุดเสียหายพระพุทธรูปหินทราย ภายในวิหารวัดแจงร้อน เขตราษฎร์บูรณะนั้น ปี พ.ศ. 2565 กรมศิลปากร ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปสำรวจสภาพพระพุทธรูป พบว่า มีปัญหาจากความชื้นและเกลือขั้นรุนแรง จึงได้ให้คำแนะนำทางวัดถึงแนวทางการซ่อมแซม ซึ่งในการอนุรักษ์ประติมากรรมประเภทหินทราย จะต้องรีบลดความชื้นโดยด่วน ก่อนที่จะดำเนินการบูรณะในขั้นตอนต่อไป 









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์

  การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...