เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พระพล.ต.อ.ดร. วิระชัย ทรงเมตตา อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หลังจากเกษียณอายุราชการแล้วได้อุปสมบทในพระพุทธศาสนา พร้อมกันนี้ได้ทราบว่า ได้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก หลักสูตรสันติศึกษา ที่วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ (IBSC) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ทั้งนี้จากการเปิดเผยของพระเมธีวัชรบัณฑิต (ศ.ดร.พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส) ผู้อำนวยการหลักสูตร
@siampongnews พระ #พลตํารวจเอกวิระชัย ทรงเมตตา ทำดอกเตอร์ #สันติศึกษา อีกหนึ่งใบ แนะ 5 สาเหตุขัดแย้งเทียบผิดศีล 5 #ข่าวtiktok #tiktokshopครีเอเตอร์ ♬ เสียงต้นฉบับ ดร.สำราญสมพงษ์นักข่าวป.ธ.5
ทั้งนี้จะทำให้ พระพล.ต.อ.ดร. วิระชัย ทรงเมตตาเข้าใจหลักพุทธสันติวิธีคืออริยสัจโมลประยุกต์กับหลักสันติวิธีสากล เข้าใจว่าสาเหตุของความขัดแย้งรุนแรงของคริสโตเฟอร์ มอร์ (Christopher Moore) 5 ประการคือ ความขัดแย้งด้านข้อมูลข่าวสาร ความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ ความขัดแย้งด้านความสัมพันธ์ ความขัดแย้งด้านค่านิยม ความขัดแย้งด้านโครงสร้าง
เทียบได้กับการผิดศีล 5 คือ ดังนี้ ผิดศีลข้อที่ 1 เทียบได้กับความขัดแย้งด้านโครงสร้าง ผิดศีลข้อที่ 2 เทียบได้กับความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ ผิดศีลข้อที่ 3 เทียบได้กับความขัดแย้งด้านความสัมพันธ์ ผิดศีลข้อที่ 4 เทียบได้กับความขัดแย้งด้านข้อมูลข่าวสาร และผิดศีลข้อที่ 5 เทียบได้กับความขัดแย้งด้านค่านิยม ซึ่งจะทำให้ พระพล.ต.อ.ดร. วิระชัย เข้าใจต่อยอดหลักคิดของนักรบสันติภาพอย่างพล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ ผู้ล่วงลับ เป็นกำลังเป็นเข็มทิศชาวประชาต่อไป
พระเมธีวัชรบัณฑิต ได้ระบุในเฟซบุ๊กส่วนตัว ความว่า "ท่านวีรชัย ทรงเมตตา เรียนปริญญาเอกใบที่ 2 สาขาสันติศึกษา หลักสูตรอินเตอร์ IBSC หลังจากบวชเป็นพระ แล้วค้นพบทางออกจากทุกข์แล้ว ให้อภัยเจ้ากรรมนายเวรด้วยการถอนฟ้องทุกคดีความแล้ว ท่านหลวงพี่วีรชัยซึ่งมีหลวงพ่อกิตติเชษฐ์ แห่งสำนักพุทธเมตตาเป็นกัลยาณมืตร ได้ตัดสินใจเรียนปริญญาเอกใบที่สอง สาขาสันติศึกษา ด้วยมุ่งแสวงหาสันติภายในในเรือนใจ และพัฒนาเทคนิค และเครื่องมือสำหรับการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์เพิ่มเติม เชื่อว่าชุมชนและสังคมจักได้ประโยชน์ในระยะสั้นและยาวต่อไป
ทั้งนี้ ต้องขอบคุณหลวงพ่อกิตติเชษฐ์ สิริวัฑฒโก ที่เมตตาแนะนำ รวมถึงกระตุ้นท่านหลวงพี่วันชัย พร้อมด้วยศิษย์ของท่านหลายรูป/คนมาขยายผลการเรียนรู้ให้สอดรับกับพุทธประสงค์ที่ว่า พึงศึกษาสันติเท่านั้น (สันติเมว สิกเขยยะ) สิกขาจึงเป็นการเริ่มต้นจากการทำความรู้จักตนเอง (ส+อิกขะ) จนพบสันติในกายใจแล้วขยายผลออกไปส่งมอบสันติดูแลกายใจเพื่อนมนุษย์"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น