วันอังคารที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566

รองผู้ว่าฯปัตตานีถวายต้อนรับประธานขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล 5 หนใต้ที่วัดหัวควนโคกโพธิ์ หวังเป็นฐานสร้างสังคมสันติสุขยั่งยืน



เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2566   พระราชวรเวที ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อน โครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ประจำหนใต้ พระเถระนุเถระ พระสังฆาธิการ 5 จังหวัดชายแดนภาคติ เป็นคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ ติดตามโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา "หมู่บ้านรักษาศีล 5" ณ วัดหัวควน ตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

ว่าที่ร้อยตรี ตระกูล โทธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี กล่าวต้อนรับ รายงานสภาพทั่วไปของบ้านหัวควน หมู่ที่ 6 ตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ซึ่งชุมชนบ้านหัวควนประชาชนในพื้นที่ มีการดำเนินชีวิตตามวิถีชีวิตชุมชนแบบเรียบง่าย อยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม โดยมีวัดในหมู่บ้าน คือ วัดหัวควน เป็นศูนย์ร่วมจิตใจของพุทธศาสนิกชน อาชีพหลักของประชาชนในชุมชน คือ ด้านเกษตรกรรม ทำสวนยางพารา รองลงมาเป็นอาชีพค้าขาย ประชาชนในหมู่บ้านมีการสืบทอดและอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของหมู่บ้านที่สำคัญ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

@siampongnews ผ้ามุ้ง#ผ้ามุ้งกลดพระธุดงค์ ♬ Ready - Official Sound Studio

ชุมชนบ้านหัวควน ได้รับการสนับสนุนจากวัดหัวควนเป็นศูนย์กลาง ในการส่งเสริมให้ประชาชนดำเนินชีวิต ตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาด้วยการรักษาศีล 5 ส่งเสริมวิถีวัฒนธรรมชาวพุทธที่สำคัญ และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชน ส่งเสริมความสุจริตโปร่งใสของหมู่บ้าน ส่งเสริมสัมมาชีพ มีจุดเด่นการรีไซเคิลขยะ คือ ศูนย์เรียนรู้สิ่งประดิษฐ์จากขยะรีไซเคิล และมีศูนย์เรียนรู้โรงเรียนสูงวัยทักษิณานาเกตุ มีอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายให้กับประชาชนในหมู่บ้าน มีการนำขยะมาแลกภาษี โดยการจัดตั้งกลุ่มสัมมาชีพชุมชน "หลาด สว." ตลอดจนเป็นผู้นำในการชี้แนะทิศทางการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนในอนาคต

ทั้งนี้ ผู้นำชุมชนและคณะกรรมหมู่บ้าน ได้ดำเนินการจัดทำกิจกรรม และโครงการต่าง ๆ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนตลอดมา โดยภาพรวมแล้วประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากผลผลิตกลุ่มสัมมาชีพของคนในชุมชน มีจิตสำนึก แสดงออกถึงความรับผิดชอบ มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สังคมถิ่นกำเนิดของตนเอง ด้วยการสร้าง ความรัก ความสามัคคี และความเข้าใจในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข สอดคล้องกับคำว่า มีศีล มีสุข มีความปรองดอง มีสมานฉันท์ สังคมสันติสุข เพื่อประโยชน์แห่งประชาชน และเพื่อประเทศชาติอย่างแท้จริง


ที่มา - https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG230823115602157

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์

  การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...