วันพุธที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2566

"ผอ.สันติศึกษาป.โท มจร" ร่วมอธิษฐานพรรษาที่วัดมหาจุฬาลงกรณราชูทิศกรุงเก่า



วันที่ ๓   สิงหาคม  ๒๕๖๖ ที่วัดมหาจุฬาราชูทิศ จ.พระนครศรีอยุธยา พระปราโมทย์ วาทโกวิโท, ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา ปริญญาโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)    เปิดเผยว่า ในฐานะผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)  ร่วมอธิษฐานจำพรรษาซึ่งสะท้อนถึงสันติวัฒนธรรมในการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่างทางนิกาย ภายใต้คำว่า "จงเชื่อหนึ่งแต่เคารพที่หลากหลาย" โดยการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่าง จึงมอง ๕ มิติ ประกอบด้วย  

@siampongnews #หนังสือมนต์พิธี ♬ Stel Kendo Stel Kenceng Jedag Jedug - Rian DTM

๑)มิติ ศาสนาสร้างสามัคคีเป็นฐานสร้างสันติสุขในสังคม  โดยมองว่าศาสนาในสังคมไทยมี ๒ รูปแบบ ประกอบด้วย ศาสนาลอยตัวมุ่งเชิงรับ และศาสนาพัวพันมุ่งเชิงรุก เพื่อไปช่วยเหลือสังคมรวมถึงเผยแพร่คำสอนที่ทันสมัยเข้าถึงสามารถนำไปปฏิบัติได้ เป็นศาสนาเพื่อสังคม ศาสนายุคใหม่จึงต้องมองความเป็นมนุษย์เป็นศาสนาที่สร้างความสามัคคีผ่านคำว่า "แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง" จะต้องเรียนรู้ เคารพ ยอมรับ อดทนในความแตกต่าง  ซึ่งพลังของศาสนาจึงเป็นฐานอยู่การอยู่รอดของมวลมนุษยชาติ  ทุกศาสนาจึงควรสันติสนทนาสื่อสารกันผ่าน "การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน พร้อมแสวงจุดร่วมสงวนจุดต่าง" จึงย้ำว่าถ้าเราหาสันติภาพไม่ได้ในศาสนา ไม่มีทางจะหาสันติภาพจากที่อื่นได้ เพราะการก่อตั้งของศาสนาคือสันติสุข ศาสนาจึงต้องมุ่งสร้างความสามัคคี ในฐานะศาสนิกของศาสนาต้องระวังการเสียดสีในทางศาสนา 

๒)มิติ เข้าใจศาสนาของตนอย่างลึกซึ้งและเรียนรู้ศาสนาอื่น  โดยนักวิชาการทางศาสนากล่าวว่า บุคคลที่ป่วยทางจิตมาจากการศึกษาศาสนาที่ไม่ครบสมบูรณ์ ซึ่งการเรียนรู้ศาสนาไม่ได้ศึกษาเพื่อถกเถียงเอาชนะแต่เพื่อศึกษาสร้างความเข้าใจระหว่างศาสนา หลวงปู่ติชนัทฮันห์เคยกล่าวว่า "จงอย่าบ้าคลั่งหลักการและทฤษฎีทางศาสนา" เพราะแท้จริงแล้วโลกต้องมีศาสนาครบทุกชนิด มีศาสนาเดียวไม่ได้ ทำให้หลวงพ่อพุทธทาสมีปณิธานอันแน่วแน่ ๓ ประการหนึ่งในนั้นคือ  "ทำความเข้าใจระหว่างศาสนา" โดยผู้นำและศาสนิกสันติสนทนากันบ่อยๆ แต่ถ้าจะมองกันจริงๆ แล้วเราไม่มีศาสนาเป็นการก้าวข้ามสมมุติบัญญัติ ทำให้มองมิติหลากหลาย เช่น ศาสนาเชิงปริยัติคัมภีร์  เชิงปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน  เชิงสังคมช่วยเหลือสังคม  เชิงพิธีกรรมประเพณีวัฒนธรรม และปัจจุบันไม่ขอนับถือศาสนาใดๆ เลย ซึ่งแม้ในพระพุทธศาสนาแยกออกเป็น ๓ นิกาย คือ นิกายเถรวาท นิกายมหายาน และนิกายวัชรยาน แต่หัวใจของพระพุทธศาสนาคือ การรักษาศีล การให้ทาน และเจริญสติพัฒนาจิตใจ 

ในทางพระพุทธศาสนามีสันติวัฒนธรรมถือว่าเป็นเครื่องมือป้องกันความขัดแย้งประกอบด้วย ๑)สามีจิกรรม เป็นการขอขมาขอโทษในสิ่งที่ล่วงเกิน  ๒)ปวารณา เป็นการการวัฒนธรรมเตือนกันได้ วัฒนธรรมเตือนกันได้ ๓)แสดงอาบัติ เป็นการยอมรับในความผิดพลาดเล็กน้อยมีสติแล้วสัญญาว่าจะไม่กระทำอีก ๔)ระบบอาวุโส เป็นการเคารพกันตามลำดับบวชก่อนหลัง เคารพให้เกียรติกัน   

๓)มิติ ศาสนาเป็นรากฐานของวัฒนธรรม เป็นการสะท้อนว่ายุคหลังสงครามเย็นจะยุติความขัดแย้งทางอุดมการณ์ทางการเมือง แต่จะเริ่มขัดแย้งทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นคำเตือนของฮันติงตันระวังความขัดแย้งทางวัฒนธรรม ระหว่างแต่ละศาสนาขัดแย้งกัน ในอดีตใช้ศรัทธาเพื่อศึกษาศาสนาแต่ปัจจุบันมีกระบวนการเรียนศาสนาเพื่อลดความขัดแย้งในศาสนา เพราะอุดมการณ์ทางศาสนาฝังรากลึก โดยศาสนาเป็นรากฐานแห่งวัฒนธรรม ความขัดแย้งมาจากวัฒนธรรมต่างกัน ทำให้สหประชาชาติย้ำว่า "ไม่ให้นำศาสนาเป็นเครื่องมือสร้างความขัดแย้ง" เพราะศาสนาเป็นต้นตอสันติภาพและศาสนาเป็นต้นเหตุสงคราม ซึ่งอดีตที่ผ่านมาศาสนาเคยถูกใช้เป็นเครื่องมือสร้างความขัดแย้ง จึงประกาศประโยคที่ว่า  No more wars in the name of religion  แปลว่า ไม่ยอมให้มีสงครามในนามของศาสนาอีกต่อไป ซึ่งที่ผ่านศาสนาถูกอ้างเป็นเครื่องมือ " สงครามกับศาสนาเป็นของคู่กัน" ศาสนาจึงเป็นต้นเหตุ เครื่องมือ นำมาแทนที่ และอ้างอย่างผิดๆ ในการสร้างความขัดแย้งและนำไปสู่ความรุนแรง แต่แท้จริงแล้วความแตกต่างคือมรดกโลกจงอย่างทำลาย เช่น ศาสนา วัฒนธรรม เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ สีผิว ชาติพันธุ์ การเมือง ความเชื่อ  ภาษา และ  Gen  เป็นต้น โดยความแตกต่างทางศาสนาเป็นเสน่ห์อย่าให้ปากกาหักแต่จงสันติสนทนาก่อนบ่อยๆ "จงเลือกหนึ่งแต่จงเคารพที่หลากหลาย" 

๔)มิติ มองความเป็นสากลในฐานะมนุษย์-สิทธิมนุษยชน โดยมนุษย์ทุกศาสนาล้วนมีความทุกข์เหมือนกันมีภาวะแห่งความเปราะบาง เช่น หิว โกรธ เหงา เหนื่อย กลัว ขัดแย้ง เป็นต้น แต่ถ้ามองลึกๆ แล้ว ทุกคนในโลกแม้ต่างชาติ ภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม แต่ทุกคนมีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ ความเป็นมนุษย์ ซึ่งเป็นศักดิ์ศรีที่มีมาตั้งแต่กำเนิดและศักดิ์ศรีนี้มาพร้อมกับสิทธิเท่าเทียมกัน ไม่มีใครจะเอาไปจากตัวเราได้  แต่สิ่งที่น่ากลัวคือเราไปติดกับชาว จึงมองไม่เห็นความเป็นมนุษย์ เช่น ชาวพุทธ ชาวคริสต์ ชาวอิสลาม ชาวซิกส์ และชาวฮินดู  ทำให้เราเกลียดชาวอื่นที่ไม่ใช่ชาวเราทำให้เกิดการล่วงเกิดขึ้น เช่น ล่วงละเมิด ล่วงเลย ล่วงล้ำ ล่วงเกิน รวมถึงการล่วงลับ แท้จริงแล้วเรามีความสากลประกอบด้วย มนุษย์สากล เมตตากรุณาสากล ปัญญาสากล  และสันติภาพสากล  จึงต้องเรื่องสิทธิมนุษยชนย้ำว่า "จะไม่ทำให้ผู้ใดเสียชีวิตแม้ตนเองจะต้องตาย"  โดยพื้นฐานของมวลมนุษย์เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติจะต้องเคารพกัน ๕ ประการคือ ๑)เคารพในชีวิต ๒)เคารพในทรัพย์สิน ๓)เคารพในครอบครัว ๔)เคารพในสังคมและการสื่อสาร ๕)เคารพในสุขภาพ  โดยการเป็นนักสันติวัฒนธรรมจะต้องมีความหนักแน่นทั้งอายตนะคือ ตาหนัก หูหนัก จมูกหนัก ลิ้นหนัก กายหนัก และใจหนัก หนักในสิ่งที่มีความแตกต่างกันซึ่งความแตกต่างทำให้โลกสวยงามแต่การไม่ยอมรับความแตกต่างนำไปสู่ความรุนแรง ในอดีตจึงมีวิธีการจัดการกับผู้เห็นต่าง เช่น ใช้กฎหมายจัดการ ใส่ร้าย ควบคุม รวมถึงใช้ความรุนแรง ทำลายล้าง ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เป็นต้น ทำให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาขันติวาที ซึ่งองค์ประกอบของขันติธรรมทางศาสนาประกอบด้วย ๑)การอนญาตในความแตกต่าง ๒)การอยู่ร่วมในความแตกต่าง ๓)การเคารพในความแตกต่าง ๔)การยอมรับในความแตกต่าง โดยชาวพุทธจึงวัดกันที่การมีขันติธรรม ซึ่งการประเมินขันติธรรมทางศาสนาจึงประเมินความอดกลั้น และประเมินความใจกว้าง ทำให้พหุศาสนาหรือพหุวัฒนธรรมมอง ๓ มิติประกอบด้วย ๑)พหุนิยม มองความเป็นพหุวัฒนธรรม ๒)การยอมรับ มองขันติธรรมทางศาสนา ๓)ความเป็นอื่น มองถึงความแตกต่างหลากหลาย   

๕)มิติ ผู้นำศาสนาวิถีใหม่ปรับตัวอย่างไรในภาวะหักศอก เด็กรุ่นใหม่ไม่ได้โจมตีหลักศาสนาแต่เพียงสะท้อนวิธีการสื่อสารของศาสนา โดยศาสนาจะต้องไม่ใช้อำนาจเหนือแต่ควรใช้อำนาจร่วมและอำนาจภายใน โดยมุ่งสอนที่เป็นใบไม้กำมือเดียว อย่าเอามาสอนทั้งป่า ผู้นำศาสนาต้องปรับตัวด้านการสื่อสารทางศาสนาผ่านS M C R ประกอบด้วย S เป็นผู้นำศาสนาที่สื่อสาร M เป็นเนื้อหาคำสอนทางศาสนา C เป็นวิธีการกิจกรรมการนำเสนคำสอนทางศาสนา R เป็นศาสนิกแต่ละศาสนาที่มีความพึงพอใจสามารถนำคำสอนไปปรับใช้ได้ ศาสนาแต่ละศาสนาจะต้องเปิดใจกว้างรับฟังคนรุ่นใหม่ผ่านการ Research เพื่อให้เกิด Result  จึงต้องหาจุดร่วมของทุกศาสนาผู้นำศาสนาร่วมกันมือกัน โดยมองอนาคตไปด้วยกันผ่าน SOAR หาจุดแข็งพัฒนาจุดแข็งร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ ยกระดับไปสู่วิถีศาสนาแบบ Download จะสามารถอยู่รอดเพราะรับฟังศาสนิกผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น ศาสนาทุกศาสนาในพื้นที่จึงต้อง Interfaith for Peace กันอย่างสม่ำเสมอเพื่อสร้างความเข้าใจกันพร้อมร่วมพัฒนาชุมชน สังคมร่วมกันไปในฐานะมนุษย์เหมือนกัน   

ดังนั้น สันติวัฒนธรรมในพระพุทธศาสนาและการเกิดสังคมสันติสุข จะต้องเคารพในความแตกต่างที่มีความหลากหลาย ไม่ใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบเมื่อเกิดความขัดแย้งและสามารถเตือนกันได้ให้อภัยกันได้  จึงแสดงให้เห็นว่าสันติจะเกิดความยั่งยืนจะต้องมีสันติวัฒนธรรมเป็นฐาน   



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"วราวุธ" เผย พม.จับมือ พศ.- กรมการศาสนา ตั้งศูนย์คุ้มครองเด็กและสามเณร สร้างพื้นที่ปลอดภัยแก่เด็กและเยาวชนหากถูกละเมิด

เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2567  นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมยุษย์ (รมว.พม.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีเด็ก ...