วันศุกร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2566

ปธ.สภาฯ พร้อมช่วยเหลือนศ.ไทยมีปัญหาเรื่องการรับรองวุฒิการศึกษาในอินโดนีเซีย



ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎรพร้อมช่วยเหลือนักศึกษาไทยในอินโดนีเซีย หลังพบว่ามีปัญหาเรื่องการรับรองวุฒิการศึกษาเมื่อเรียนจบ อีกทั้งมีปัญหาในเรื่องของการทำวีซ่า ยิ่งถ้าหากล่าช้า จะถูกปรับวันละ 3,000 บาท        

เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2566    นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยดร.อับดุลอายี สาแม็ง สส. จ.ยะลา พรรคประชาชาติ และนายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร สส.กทม. พรรคก้าวไกล ร่วมพูดคุยกับนักศึกษาไทยในสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ถึงความเป็นอยู่ในการใช้ชีวิตในสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ณ ร้านอาหาร Kun stkring (กุนสตริง) กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย      

นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวว่า จากการพูดคุยกับนักศึกษาไทยในสาธารณรัฐอินโดนีเซียนั้น พบว่านักศึกษาไทยที่ศึกษาอยู่ในกรุงจาการ์ตา มีจำนวน 10 คน ส่วนใหญ่นักศึกษาไทยที่มาเรียนที่สาธารณรัฐอินโดนีเซีย จะอยู่ที่เมืองอื่นๆ ที่ไม่ใช่กรุงจาการ์ตา ซึ่งนักศึกษาไทยที่เรียนในสาธารณรัฐอินโดนีเซียมีไม่น้อยกว่า 1,000 คน เพียงแต่ที่กรุงจาการ์ตา มีแค่ 10 คน นั้น เป็นเพราะค่าใช้จ่ายในกรุงจาการ์ตาค่อนข้างสูงมาก เนื่องจากมาตรฐานการศึกษาของประเทศอินโดนีเซียในทุกเมืองใกล้เคียงกัน ไม่เหมือนกับในบางประเทศ ที่การศึกษาในเมืองหลวงจะดีกว่า แต่ในสาธารณรัฐอินโดนีเซีย มีระบบจัดการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยและมัธยมใกล้เคียงกัน ดังนั้นนักศึกษาไทยจึงเลือกที่จะเรียนตามนอกเมืองหลวง เพราะค่าใช้จ่ายถูกกว่าครึ่งต่อครึ่ง  

@siampongnews #พระพิฆเนศ ♬ Dj Care Bebek Thailand Style (Remix) - MVC Project

ประธานรัฐสภา กล่าวอีกว่า วันนี้นักศึกษาไทยในสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ได้นำข้อกังวลเสนอมายังตนและอยากให้รัฐสภาไทยและรัฐบาลช่วยเหลือ คือ เมื่อจบการศึกษาละกลับไปยังเมืองไทยแล้ว วุฒิที่ได้รับการศึกษา ไม่ได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งตนได้บอกกับนักศึกษาไทยว่า การจัดการเรื่องการศึกษาของครูในประเทศไทยนั้น เป็นหน้าที่ของรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ เพราะในเรื่องของครู จะต้องมีจิตวิญญาณและมีการฝึกฝนในการฝึกสอนอย่างมีคุณภาพ เพราะประเทศไทยค่อนข้างเข้มงวด ดังนั้นนักศึกษาไทย จะต้องนำวิชาต่างๆ ไปเทียบหลักสูตรกับระทรวงศึกษาธิการของในประเทศไทย แต่หากกระทรวงศึกษาธิการยังไม่รับรองวุฒิการศึกษาของสาธารณรัฐอินโดนีเซียเหมือนที่ผ่านมา นักศึกษาไทยส่วนใหญ่จะกลับไปสอนโรงเรียนเอกชน       

อย่างไรก็ตามเรื่องนี้จะต้องมีคำร้องจากนักศึกษาไทยในสาธารณรัฐอินโดนีเซีย นำมาให้สภาผู้แทนราษฎร เพื่อทำหนังสือไปยังกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการจะขอหลักสูตรที่เรียน เพื่อให้กรมวิชาการรับรองคุณวุฒิที่มาจากต่างประเทศ เช่น บางครั้งมีการรับรองเป็นรายบุคคลหรือรับรองสถาบัน โดยที่ผ่านมาสภาผู้แทนราษฎร เคยทำเรื่องดังกล่าวมาหลายครั้งแล้ว เช่นนักศึกษาแพทย์ที่จบจากต่างประเทศ เมื่อกลับมายังประเทศไทย วุฒิทางด้านแพทย์ไม่รองรับ จึงมีการทำเรื่องโดยจะมีเงื่อนไขเพิ่มเติม เช่น ฝึกแพทย์ปฏิบัติในโรงพยาบาลที่กำหนดไว้ 1-2 ปี และสอบใบประกอบที่กำหนด รวมถึงจะต้องไปตามวิชาชีพด้วย       

อย่างไรก็ตามถือเป็นความยินดีที่นักศึกษาไทยมาศึกษาต่อที่นี่ เพราะการศึกษาเป็นเรื่องสำคัญและขอยืนยันว่า สภาผู้แทนราษฎร พร้อมช่วยเหลือนักศึกษาไทย ขอเพียงแค่นักศึกษาไทยทำหนังสือคำร้องมายังสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น     

ด้านนางสาวนูรอัยณีย์ สาเมาะ นักศึกษาไทยในมหาวิทยาลัย Muhammadiyah of Jakarta ( มูฮัมมาดียะห์ จาการ์ตา) กล่าวว่า สิ่งหนึ่งที่ตนขอความช่วยเหลือจากประธานสภาผู้แทนราษฎร คือ อยากให้นักศึกษาที่จบต่างประเทศในทุกๆ ด้าน เมื่อมีการจบศึกษากลับไปยังประเทศไทย อยากให้สามารถบรรจุหรือเข้ากระบวนการรับราชการที่สามารถทำงานปกติได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องไปเทียบวุฒิการศึกษาหรือต้องไปเรียนต่อ 2 ปี      

ขณะที่นายซูลฟาร์ มานิ๊ นักศึกษาไทยในมหาวิทยาลัย UIN Jakarta (วิน จากกาตาร์ ) ในสาธารณรัฐอินโดนีเซีย กล่าวว่า ได้นำเสนอปัญหากับประธานสภาเพื่อราษฎร คือ เรื่องค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากนักศึกษาที่อยู่ในอินโดนีเซีย ค่าครองชีพจะแพงกว่าที่อื่น ซึ่งนักศึกษาที่ได้ทุนมาเรียนในกรุงจาการ์ตานั้น จะได้แค่ค่าเทอม แต่ไม่ได้รับค่าครองชีพ      

นอกจากนี้เรื่องการทำวีซ่า ในสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ระบบของการทำวีซ่า จะมีการเปลี่ยนทุกปี ซึ่งปีล่าสุดจะใช้วีซ่านักศึกษาระบบออนไลน์กันหมด ซึ่งนักศึกษาไทยที่นี่ยังปรับตัวไม่ทัน และถ้าหากมีการต่อวีซ่าช้า จะถูกค่าปรับวันละ 3,000 บาท ยิ่งหากล่าช้าไปหลายวันจะถูกเก็บค่าใช้จ่ายอย่างมาก จึงอยากให้สภาผู้แทนราษฎรช่วยประสานเรื่องต่อวีซ่านักศึกษาไทยในสาธารณรัฐอินโดนีเซียให้ง่ายขึ้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"วราวุธ" เผย พม.จับมือ พศ.- กรมการศาสนา ตั้งศูนย์คุ้มครองเด็กและสามเณร สร้างพื้นที่ปลอดภัยแก่เด็กและเยาวชนหากถูกละเมิด

เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2567  นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมยุษย์ (รมว.พม.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีเด็ก ...