วันพุธที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2566

กรมคุ้มครองสิทธิฯ ระดมความคิดเห็นเพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์การไกล่เกลี่ยฯ



กรมคุ้มครองสิทธิฯ ประเมินผลสัมฤทธิ์การไกล่เกลี่ยฯ พร้อมปรับปรุงพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 มุ่งเพิ่มประสิทธิภาพในการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน

วันพุธที่ 30 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุม Graduate studio อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ โดย นายเรืองศักดิ์ สุวารี อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ธนภัทร ปัจฉิมม์ คณบดีโรงเรียนกฎหมายและการเมือง จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นในการประเมินผลสัมฤทธิ์พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 โดยมี นางประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์ ประธานมูลนิธิสถาบันศึกษาและพัฒนาการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี พร้อมด้วย ดร.ธปภัค บูรณะสิงห์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการระงับข้อพิพาท เข้าร่วม

@siampongnews #หนังสือสวดมนต์กระแตปกแข็ง ♬ Dj Jalan Pargoy X Goyang Jaypong - DJ MIFTAH

นายเรืองศักดิ์ เปิดเผยว่า สืบเนื่องจาก กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้เป็นหน่วยงานรับผิดชอบการประเมินผลสัมฤทธิ์ พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2562 โดยเป็นกฎหมายกลาง ให้หน่วยงานของรัฐ พนักงานสอบสวน และศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน ใช้ในการยุติหรือระงับข้อพิพาททางแพ่งและข้อพิพาททางอาญาแทนการฟ้องคดี ช่วยให้ประชาชนเข้าถึงความยุติธรรมได้อย่างสะดวก รวดเร็ว เป็นธรรม และไม่เสียค่าใช้จ่าย

นายเรืองศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การรับฟังความคิดเห็นในการประเมินผลสัมฤทธิ์พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 ในครั้งนี้ มีผู้แทนหน่วยงานของรัฐซึ่งดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ผู้ไกล่เกลี่ย คณะทำงานบริหารประจำศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน และประชาชน เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นกว่า 100 คน ซึ่งกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ จะนำผลจากการรับฟังความคิดเห็น ไปปรับปรุง พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 ให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพการปัจจุบัน เพิ่มประสิทธิภาพในการอำนวยความยุติธรรมให้ประชาชนเข้าถึงการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่งและข้อพิพาททางอาญา ทั้งก่อนฟ้องคดี และหลังศาลมีคำพิพากษา ลดปริมาณคดีขึ้นสู่ศาล ลดปัญหาความขัดแย้ง และเสริมสร้างความสมานฉันท์ในสังคม ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์

  การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...