วันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2566

"รูปปั้นครูกายแก้ว" แยกรัชดา-ลาดพร้าว "ชัชชาติ"ฟังธงไม่ผิด พ.ร.บ.อาคาร ขอโรงแรมหาสิ่งปิดบังลดลดทัศนวิสัยคนดูไม่ปลื้ม



เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ที่ชั้น 2 สำนักนักงานเขตภาษีเจริญ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยถึงกรณีรูปปั้นครูกายแก้ว ว่า ไม่ได้กระทำผิดกฎหมายตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ควบคุมอาคาร ที่จะต้องขออนุญาตกรณีมีสิ่งปลูกสร้างอื่นตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป แต่รูปปั้นครูกายแก้วมีความสูง 5 เมตร  แต่ได้ขอความร่วมมือให้ทางโรงแรม ช่วยหาสิ่งปิดบังสายตา พร้อมกับทำหนังสือขอความเห็นไปยังกรมการศาสนา และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติว่าขัดต่อศีลธรรมอันดีหรือไม่  "เบื้องต้นช่วยลดทัศนวิสัยที่กระทบกระเทือนกับผู้ที่ไม่สบายใจ กทม.ไม่ได้ละเลย ก็พยายามดำเนินการตรงนี้อย่างเต็มที่ 

ลงพื้นที่ตรวจสอบ พร้อมหาทางออกรูปปั้น "ครูกายแก้ว"  

@siampongnews ชุด 3 #พระอรหันต์ พระไตรภาคีแห่งโชคลาภ เงินทอง กลัดพร้อมกล่อง #พระสิวลี #พระอุปคุต #พระสังกัจจายน์พระสีวลีพระอุปคุท ♬ ลองรักดูไหม - NOAH

ทั้งนี้เมื่อเวลา 14.30 น.วันที่ 18 สิงหาคม นายภิมุข สิมะโรจน์ เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยนายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร นายอภิวัฒน์ ด่านศรีชาญชัย สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) เขตจตุจักร และคณะ ลงพื้นที่ตรวจสอบรูปปั้น “ครูกายแก้ว” ที่ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าโรงแรมเดอะบาซ่าร์ กรุงเทพฯ แยกรัชดา-ลาดพร้าว เขตจตุจักร พร้อมหารือร่วมกับผู้แทนผู้บริหารโรงแรมเดอะบาซ่าร์ กรุงเทพฯ เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมร่วมกันในการลดความไม่สบายใจของทุกฝ่ายในสังคม โดยเบื้องต้น ทางผู้แทนผู้บริหารโรงแรมฯ ยินยอมที่จะสร้างที่กำบังเพื่อปิดบังสายตาการมองเห็น โดยหากได้ข้อสรุปเรื่องแบบก่อสร้างจะดำเนินการขออนุญาตก่อสร้างจากทางสำนักงานเขตจตุจักรต่อไป ในการนี้ สำนักงานเขตจตุจักร โดยผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่

เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า  วันนี้มาลงพื้นที่เพื่อติดตามปัญหาที่ได้รับการร้องเรียน โดยได้ตรวจสอบสิ่งปลูกสร้างครูกายแก้วพบว่ามีความสูงเพียง 5 เมตร ไม่เกิน 10 เมตร ซึ่งเป็นความสูงที่ต้องขออนุญาตตามกฎกระทรวงได้ตั้งไว้ รวมถึงตั้งไว้ในพื้นที่เอกชน เรื่องปลูกสร้างจึงถือว่าไม่มีปัญหาอะไร แต่ในส่วนที่เป็นปัญหาคือข้อร้องเรียนของกลุ่มที่คัดค้านเนื่องจากมองเห็นแล้วเกิดความไม่สบายใจ ในส่วนนี้เราเองต้องแยกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ศรัทธา กราบไหว้บูชา ถือว่าเป็นความเชื่อส่วนบุคคลและไม่มีปัญหาอะไร สำหรับกลุ่มที่ไม่สบายใจเราก็ต้องช่วยดูและแก้ปัญหาให้ด้วย ซึ่งเบื้องต้นได้คุยกับตัวแทนโรงแรมว่าอาจมีการสร้างอะไรขึ้นมาปิดบัง เพื่อไม่ให้คนที่ผ่านไปมามองเห็นได้ชัดเจนนัก โดยจะเห็นเฉพาะคนที่ตั้งใจเข้ามากราบไหว้บูชาจริง ๆ เพื่อความสบายใจของทั้ง 2 ฝ่าย

@siampongnews

ราชบัณฑิตแนะมีสติบูชา #ครูกายแก้ว รูปปั้นแยกรัชดา #ชัชชาติ ฟังธงไม่ผิด ขอรร.หาสิ่งปิดบังลดทัศนวิสัยไม่ปลื้ม ศาสตราจารย์พิเศษ ร้อยโท ดร.บรรจบ บรรณรุจิ ราชบัณฑิต ให้ความเห็นในการสัมมนางานนิพนธ์และงานวิจัย เรื่อง "บูชาครูกายแก้ว สังคมได้อะไร?" จัดโดย หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา พระพุทธศาสนา ภาคเสาร์-อาทิตย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๖

♬ เสียงต้นฉบับ - samran sompong

ด้านนายชาลี นพวงศ์ ณ อยุธยา เลขาประธานกรรมการบริหารโรงแรม กล่าวขอบคุณและเห็นด้วยกับกรุงเทพมหานคร ที่มีแนวคิดแก้ปัญหาเพื่อให้เกิดความสบายใจและลดกระแสต่อต้าน โดยทางโรงแรมยินดีสร้างสิ่งปิดบังเพื่อให้เกิดความพึงพอใจทั้งสองฝ่าย โดยในส่วนนี้ต้องขอความกรุณาจากกรุงเทพมหานครในการช่วยตรวจดูแบบก่อสร้างและระยะเวลาให้เหมาะสม ทางโรงแรมยินดีและพร้อมจะคุยกับผู้เช่า

เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ทางโรงแรมจะยังไม่มีการก่อสร้างใด ๆ จนกว่าจะได้มีการยื่นแบบก่อสร้าง ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวของของ กทม. พร้อมที่จะช่วยตรวจสอบความถูกต้องของแบบก่อสร้าง หากไม่ผิดกฎระเบียบใด ๆ ก็ยินดีอนุมัติให้สร้าง พร้อมกันนี้จะตรวจสอบเรื่องร้องเรียนต่าง ๆ ที่ขณะนี้มีเข้ามามากพอสมควร เพื่อดูว่ามีเรื่องใดผิดระเบียบอีกหรือไม่ โดย กทม. ยืนยันว่าจะให้ความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย

ขณะที่ศาสตราจารย์พิเศษ ร้อยโท ดร.บรรจบ บรรณรุจิ ราชบัณฑิต ให้ความเห็นในการสัมมนางานนิพนธ์และงานวิจัย เรื่อง "บูชาครูกายแก้ว สังคมได้อะไร?" จัดโดย หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา พระพุทธศาสนา ภาคเสาร์-อาทิตย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ความว่า  ปรากฏการณ์ของครูกายแก้วเราก็ไม่ตำหนิ เพราะว่าผมได้เรียนมาแล้วว่าระดับที่จะไม่อ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์เลย คือระดับพระโสดาบันซึ่งมีปัญญาคือสัมมาทิฏฐิเป็นพื้นฐาน และต้องมีกัลยาณมิตรชนคอยแนะนำ  ขณะที่ประชาชนทั่วไประดับชาวบ้านอาจจะมีปัญหาเรื่องของธุรกิจเศรษฐกิจต้องการความมั่นคงก็พยายามหาที่พึ่ง  พอใครไปสร้างปรากฏการณ์ของโครงการขึ้นมาก็ตื่นเต้นก็หวังจะเป็นที่พึ่งได้ ตนขอเรียนว่าถ้าจะกราบไหว้ในเมืองไทยนี้มีอยู่มากหมายไม่ต้องไปสร้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใหม่ขึ้นมาอีก


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์

  การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...