วันจันทร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2566

"พระอาจารย์ มจร เชียงใหม่" กังวลสามเณรไร้สัญชาติในไทยไม่ได้เรียนหนังสือ

 


เมื่อวันที่ 27 สิงหาคมที่ผ่านมา พระครูสิริบรมธาตุพิทักษ์, ผศ.ดร. รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้านการศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนาศิลปวัฒนธรรม ร่วมกับสำนักวิปัสสนากัมมัฏฐานวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) จังหวัดเชียงใหม่ โดยพระภาวนาธรรมาภิรัช วิ. เจ้าอาวาสวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) คณะสงฆ์เมืองยอง  โดยสมเด็จอัคคราชคุรุอาชญาธรรม สังฆนายกะเมืองยอง และคณะโคปกะ (คณะวัฒนธรรมพื้นเมือง) เมืองยอง โดยขนานมหาแดง ประธานคณะวัฒนธรรมพื้นเมือง เมืองยอง เพื่อร่วมมือกันในการศึกษา วิจัย เผยแพร่ และทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาศิลปวัฒนธรรม ให้ธำรงอยู่เป็นอัตลักษณ์ในภูมิภาคนี้สืบไป ณ วัดราชฐานหลวงหัวข่วง เมืองยอง รัฐฉาน สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์



พร้อมเปิดโครงการอบรมวิปัสสนากัมมัฏฐาน สานสัมพันธ์พระพุทธศาสนา เชียงใหม่-เมืองยอง-เชียงตุง โดยมีสมเด็จอัคคราชคุรุอาชญาธรรม (คนฺธรสวํโส) สังฆนายกะเมืองยอง ประธานในพิธี กล่าวเปิดโครงการอบรมวิปัสสนากัมมัฏฐาน ในการนี้มี พระภาวนาธรรมาภิรัช วิ. เจ้าสำนักปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) เจ้าคณะอำเภอเมืองเชียงใหม่ ให้โอวาทกัมมัฏฐาน พร้อมทั้งนำสอนการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฏฐาน  ณ วัดพระธาตุจอมยอง เมืองยอง รัฐฉาน สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์

"พระอาจารย์ มจร เชียงใหม่" กังวลสามเณรไร้สัญชาติในไทยไม่ได้เรียนหนังสือ

อย่างไรก็ตามพระวิสิทธิ์ ฐิตวิสิทฺโธ (วงใส) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร.) วิทยาเขตเชียงใหม่  เปิดเผยว่า  เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคมที่ผ่านมา ได้มีโอกาสเดินทางไปยังจังหวัดเชียงตุง รัฐฉานตะวันออก ประเทศพม่า เพื่อไปศึกษาประเด็นปัญหาสามเณรไร้รัฐไร้สัญชาติในพื้นที่ประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากประเทศไทยเป็นพื้นที่ปลายน้ำที่ลูกเณรเข้ามาพึ่งพาอาศัยลี้ภัยสงคราม เมื่อได้ลงพื้นที่ปรากฏว่าในประเทศพม่าก็มีการจัดการศึกษาให้กับสามเณรเช่นเดียวกัน เพียงแต่พวกเขาไม่จำเป็นต้องใช้เลขระบุสถานะทางทะเบียน และการจัดการศึกษาก็เพื่อให้กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ สามารถสื่อสารกันและกันได้เท่านั้น เพราะเป็นที่เข้าใจกันดีว่าประเทศพม่ามีหลากหลายชาติพันธุ์และพูดคุยกันคนละภาษา

พระวิสิทธิ์กล่าวว่า สามเณรสามารถแบ่งประเภทได้ 3 ส่วน คือ 1.สามเณรที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์เข้ารับการศึกษาโดยไม่ขึ้นตรงต่อรัฐบาลพม่า และอยู่ในพื้นที่เงียบสงบ 2.สามเณรที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่เข้ารับการศึกษาโดยมีรัฐบาลพม่าสนับสนุน 3.สามเณรกลุ่มชาติพันธุ์ที่ต่อต้านรัฐบาลพม่าและอยู่ในพื้นที่ที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งผู้ปกครอง พ่อแม่ของสามเณรบางส่วนเป็นผู้อพยพลี้ภัยทางการเมือง และนำลูกมาบวชเพราะต้องการปกป้องลูกให้อาศัยร่มกาสาวพัสตร์จากภัยสงคราม

"มีเด็กผู้หญิงบางคนที่จำเป็นต้องโกนผมเพื่อเข้าเรียนเช่นเดียวกัน หลายคนเป็นเด็กกำพร้าและหากสงครามยุติลงก็ไม่รู้ว่าพวกเขาจะมีโอกาสได้พบครอบครัวหรือไม่ เป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง หากสามเณรไร้รัฐไร้สัญชาติที่อยู่ในประเทศไทยไม่ได้รับการแก้ปัญหา และหากถูกส่งตัวกลับไปยังพื้นที่ต้นน้ำที่เป็นพื้นที่อันตรายนั้น ก็ไม่รู้ชะตาชีวิตของพวกเขานั้นจะเป็นอย่างไร" พระวิสิทธิ์ กล่าว

@siampongnews ผ้ามุ้ง#ผ้ามุ้งกลดพระธุดงค์ ♬ Ready - Official Sound Studio

นายปารมี ไวเจริญ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าถึงการตั้งคณะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญเพื่อพิจารณาแนวทางการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่ไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติไทย ว่าในวันที่ 3-4 กันยายน 2566 พรรคก้าวไกลและเครือข่ายภาคประชาสังคม จะลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่เพื่อศึกษารวบรวมข้อมูลเด็กนักเรียน เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาการออกรหัส G (Generate Code) แก่เด็กไร้สถานทางทะเบียนราษฎรทั่วประเทศ ซึ่งครอบคลุมไปถึงสามเณรที่ไร้รัฐไร้สัญชาติ โดยในระหว่างที่กำลังรอสภาผู้แทนฯบรรจุวาระก็ได้เร่งศึกษาและรวบรวมข้อมูลเด็กกลุ่มนี้เพิ่มเติม


 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์

  การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...