วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2566

ศน.หนุนงบบูรณะศาสนสถาน 4 ศาสนา ให้มั่นคง-ปลอดภัย เป็นศูนย์กลางประกอบศาสนกิจ



เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2566 นายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม มุ่งเน้นการขับเคลื่อนให้ศาสนสถานของทุกศาสนาเป็นศูนย์กลางของประชาชน ส่งเสริมสนับสนุนให้ศาสนิกชนเข้าไปประกอบศาสนกิจตามศาสนาที่ตนนับถือ ซึ่งศาสนสถานนั้นควรมีสภาพที่มั่นคง ปลอดภัย สะอาดและสวยงาม เหมาะสม สำหรับการเข้าไปประกอบกิจกรรมทางศาสนา แต่เมื่อมีการใช้ศาสนสถานเป็นเวลานานย่อมเกิดความเสียหาย ทรุดโทรม และเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา หรือได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากภัยพิบัติ เช่น อุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย เป็นต้น รวมถึงเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้ศาสนิกชนไม่สามารถใช้ศาสนสถานประกอบศาสนกิจได้ตามปกติ

อธิบดี ศน. กล่าวว่า กรมการศาสนาได้รับการจัดสรรงบประมาณจากสำนักงบประมาณ ประจำปี พ.ศ. 2566 รวมทั้งสิ้น 12,650,000 บาท ในการดำเนินโครงการเงินอุดหนุนการบูรณะศาสนสถาน เพื่อสมทบในการบูรณะซ่อมแซมศาสนสถานที่ทางราชการรับรอง ประกอบด้วย ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาซิกข์ ยกเว้นวัดในพระพุทธศาสนาเป็นภารกิจของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เพื่อให้ศาสนสถานทั้ง 4 ศาสนา สามารถใช้ในการประกอบศาสนกิจได้ตามความเหมาะสม คุ้มค่า โดยไม่จำเป็นต้องสร้างศาสนสถานขึ้นใหม่ สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ได้มีการจัดสรรเงินอุดหนุนการบูรณะซ่อมแซมศาสนสถานในส่วนภูมิภาค กรณีประสบภัย ไปแล้ว จำนวน 10 จังหวัด รวมทั้งสิ้น 27 แห่ง ประกอบด้วย มัสยิด 20 แห่ง และโบสถ์คริสต์ 7 แห่ง

@siampongnews #หนังสือสวดมนต์กระแตปกแข็ง ♬ Dj Jalan Pargoy X Goyang Jaypong - DJ MIFTAH

นายชัยพล กล่าวต่อว่า ต่อมาในการประชุมคณะกรรมการพิจารณาจัดสรรเงินอุดหนุน โครงการเงินอุดหนุนการบูรณะศาสนสถาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ครั้งที่ 2/2566 ในเดือนสิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา เพื่อพิจารณาแบบคำขอรับเงินอุดหนุนบูรณะศาสนสถาน กรณีประสบภัยและกรณีปกติ จำนวน 60 จังหวัด รวมทั้งสิ้น 618 แห่ง แบ่งเป็น มัสยิด 501 แห่ง โบสถ์คริสต์ 115 แห่ง เทวสถานพราหมณ์ – ฮินดู 1 แห่ง และคุรุดวาราซิกข์ 1 แห่ง ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ และให้ดำเนินการอนุมัติจัดสรรงบประมาณสนับสนุนศาสนสถานในการบูรณะซ่อมแซม จำนวนกว่า 500 แห่ง เพื่อให้กลับมามีสภาพมั่นคง ปลอดภัย พร้อมสำหรับการส่งเสริมศาสนิกชนเข้าไปประกอบศาสนกิจตามศาสนาที่ตนนับถือต่อไป โดยศาสนสถานเหล่านี้ ได้ใช้เป็นแหล่งยึดเหนี่ยวจิตใจของศาสนิกให้สงบร่มเย็น สังคมสงบสุข เป็นการนำมิติทางศาสนามาส่งเสริมให้เกิดความเป็นปึกแผ่นของคนในสังคมได้อย่างมั่นคง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์

  การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...