วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2566

"ภูมิใจไทย" ยื่นร่าง พ.ร.บ."กิจการฮัจญ์ -สันติภาพ" หวังคุ้มครองชาวมุสลิม



เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2566  นายสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง สมาชิกผู้แทนราษฏร จังหวัดกระบี่ พรรคภูมิใจไทย และตัวแทน สส. ของพรรคอีก 16 คน แถลงถึงกรณีความคืบหน้าในการยื่นร่าง พ.ร.บ.ฮัจญ์ ว่า ขณะนี้พรรคภูมิใจไทยได้ดำเนินการส่งร่างกฎหมายเกี่ยวกับพี่น้องชาวมุสลิมเข้าสภาไปแล้ว จำนวน 2 เรื่อง ประกอบด้วย พ.ร.บ.ฮัจญ์ และ พ.ร.บ.สันติภาพ จากทั้งหมด 11 นโยบาย รวม 51 มาตรา เพื่อคุ้มครองพี่น้องชาวมุสลิม และสร้างหลักประกันในชีวิตครอบคลุมทุกมิติ

นายนัจมุดดีน อูมา สมาชิกพรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า เมื่อวันที่ 30 ส.ค. 66 เราได้ยื่นเสนอร่างรัฐธรรมนูญต่อสภาผู้แทนราษฎร มีหลักการสำคัญ ดังนี้

1 คณะกรรมการกิจการฮัจญ์ ซึ่งคณะนี้เป็นบอร์ดใหญ่ จะเป็นที่กำกับดูแลเรื่องฮัจญ์

2.ให้มีคณะกรรมการผู้แทนฮัจญ์ทางการ ซึ่งคณะนี้จะมี 12 คน จะหน้าที่กำกับดูแลในการปฎิบัติ

3ให้มีสำนักงานกิจการฮัจญ์ เป็นการตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบขึ้นมาใหม่ โดยไม่ใช่หน่วยงานของรัฐ ไม่เป็นศูนย์ราชการ ไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ โดยมีเลขาธิการเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด โดยที่จะมีการยกเลิก พ.ร.บ.ส่งเสริมกิจการฮัจญ์ปี 2524, 2532 และ 2559 โดยใช้ร่างฉบับผู้แทนราษฎร

@siampongnews #หนังสือสวดมนต์กระแตปกแข็ง ♬ Dj Jalan Pargoy X Goyang Jaypong - DJ MIFTAH

4.ให้มีการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมกิจการฮัจญ์ในสำนักงาน เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของสำนักงาน

ด้านนายสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง สส. กระบี่ กล่าวว่า เนื่องจากสส.ของพรรคภูมิใจไทย ทั้ง 71 คน เล็งเห็นว่า ที่ผ่านมา มีพี่น้องชาวมุสลิมจำนวนมาก ที่เดินทางไปแสวงบุญประกอบพิธีฮัจญ์ ที่ซาอุดีอาระเบีย แต่ถูกทัวร์เอารัดเอาเปรียบ โดนลอยแพ และเก็บค่านายหน้าที่สูงเกินกว่าความเป็นจริง จึงประสงค์ให้ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 เร่งรับรอง และพิจารณานำร่างกฎหมายดังกล่าวเข้าสู่สภาต่อไป เพื่อสร้างหลักประกันด้านความปลอดภัยให้กับพี่น้องประชาชนชาวมุสลิม และป้องกันการหาผลประโยชน์จากการเดินทางไปประกอบพิธีทางศาสนา โดยผลักดันให้มีกองทุนฉุกเฉินให้กู้ยืมโดยไม่มีดอกเบี้ย และหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นธรรมที่สุด

แพทย์หญิงเพชรดาว โต๊ะมีนา สมาชิกพรรคภูมิใจไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า เรื่องของพ.ร.บ.กิจการฮัจญ์ ซึ่งจะต้องมีการแก้ไข ปรับปรุงเพิ่มเติม รวมทั้งจะมีการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลส่งเสริมกิจการพิธีฮัจญ์ ซึ่งต้องเป็นหน่วยงานอิสระ เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้บริโภคให้มากที่สุด และแก้ไขปัญหาเมื่อเดินไปทำพิธีฮัจญ์แล้วค่าใช้จ่ายสูงกว่าประเทศอื่นๆ


ที่มา : TheReporters


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์

  การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...