วันพฤหัสบดีที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2566

"นาคกี้" Sotf Power นวัตกรรมเณรทำ จากมุมมืดสู่มุมสว่าง วธ.นำโชว์กลางกรุง



เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2566 พระปราโมทย์ วาทโกวิโท, ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) แลกเปลี่ยนเรียนรู้สร้างแรงบันดาลใจให้เด็กและสามเณรที่มีความเปราะบางทางสังคม เข้ามาศึกษาเล่าเรียนทางธรรมบาลีเพราะสภาพปัญหาของยาเสพติดในสังคม และความรุนแรงในครอบครัว จึงผลักจากมุมมืด มาสู่มุมสว่าง ซึ่งมีการขับเคลื่อนโดย พระมหาศรายุทธ อคฺคธมฺโม ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดศรีสามัคคีธรรม ตำบลศรีวิไล อำเภอศรีวิไล  จังหวัดบึงกาฬ ซึ่งพระอาจารย์มีฐานของศิลปะ เห็นปัญหาสังคม จึงมีปณิธานอย่างแรงกล้าในการแก้ปัญหาสังคมและป้องกันความรุนแรงในสังคมผ่านพุทธนวัตกรรม   จึงพัฒนาเป็นกระปุกออมสิน “นาคกี้”  พลังศรัทธาแห่งลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อโอกาสทางการศึกษาของเด็กๆ  สู่พลังแห่งการสร้างสรรค์ผลงาน ด้วยสองมือเล็กๆ ของสามเณรน้อย   

ด้วยแนวความคิด บนพื้นฐานความรู้ทางศิลปะของพระอาจารย์ “พระมหาศรายุทธ อคฺคธมฺโม” ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดศรีสามัคคีธรรม โดยได้รับคำแนะนำจาก อ.ขาบ สุทธิพงษ์สุริยะ เจ้าของพิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต ที่อยากให้สามเณรน้อย ได้มีโอกาสแสดงผลงาน เพื่อตอบแทนพลังบุญ แทนคำอนุโมทนาบุญ มอบแด่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคปัจจัย เพื่อมอบโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็กๆ ได้บวชเรียน ได้เรียนหนังสือในเส้นทางธรรม จนเข้าสู่ระดับมหาวิทยาลัย 

น้อง “นาคกี้” เป็นกระปุกออมสินนาคตัวเล็กๆ เสมือนเป็นตัวแทนของเด็กๆ ที่สามารถนำไปเป็นของตกแต่งบ้านได้อย่างน่าเอ็นดู และไม่ขัดเขิน โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ เป็นผู้วาดภาพลายเส้นเริ่มต้น และพระอาจารย์เป็นผู้หล่อแบบ หลังจากนั้นทุกชิ้น คือผลงานจากสองมือของสามเณรน้อย ที่ใช้เวลาว่างหลังเลิกเรียนในทุกๆ วัน รวมถึงวันหยุด ช่วยกันทำในทุกๆ ขั้นตอน ซึ่งใช้เวลากว่า 1 สัปดาห์จึงจะเสร็จสิ้น เป็นรูปร่างอย่างที่เห็น โดยสามารถผลิตได้วันละ 15-20 ตัว

“นาคกี้” เปิดตัวครั้งแรกในงานศิลปะร่วมสมัยลุ่มแม่น้ำโขง เป็นงานสถาปนาจังหวัดบึงกาฬ ครบรอบ 12 ปี และได้รับแรงสนับสนุนจากทุกภาคส่วน ที่มาช่วยกระจายข่าว เป็นสะพานบุญ เพื่อเผยแพร่เรื่องราว การจัดจำหน่าย และการสั่งจอง  จากผู้มีจิตอันเป็นกุศล ช่วยประชาสัมพันธ์ให้นาคกี้

รายได้ทั้งหมดของการจำหน่ายนาคกี้ เป็นค่าภัตตาหารเพล ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเทอมสำหรับสามเณรที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษา ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (วิทยาเขตหนองคาย) ซึ่งล้วนเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็น ต่อการสร้างโอกาสทางการศึกษาให้เด็กๆ ที่ยากไร้และขาดแคลน ในท้องถิ่นและพื้นที่ใกล้เคียง และวัดก็เป็นที่พึ่งที่จะช่วยพวกเขา ให้เติบโต ต่อยอดไปในเส้นทางที่ดีงาม เพื่อให้อยู่รอด สืบทอดเจตนารมณ์ ส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ให้ยั่งยืนไปอีกยาวนาน



ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผลงาน “นาคกี้” กรมการศาสนา ได้นำมาแสดงในการประชุมเชิงปฏิบัติการ “คณะกรรมการศาสนิกสัมพันธ์ส่วนกลางและจังหวัด” เพื่อเสริมสร้างพัฒนาสังคมพหุวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง ระหว่างวันที่ 18 - 19 สิงหาคม 2566 พร้อมจัดเวทีเสวนา “การส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากด้วย Soft Power ในมิติทางศาสนา” นำผลิตภัณฑ์ชุมชนอันเป็นทุนวัฒนธรรม ต่อยอดขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ในวันที่ 20 สิงหาคม 2566 ภายในงานมหกรรมศาสนิกสัมพันธ์ “มหัศจรรย์ประทีปแห่งศรัทธามหาบารมี” ณ หอศิลป์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"มจร"สีเขียวยุคAI! จัดกิจกรรม "รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม คืนขยะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน"

กิจกรรม “รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม” เป็นตัวอย่างที่ดีของการผสมผสานระหว่างจริยธรรมและเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในยุคปัจจุบัน ด้วยหล...