วันเสาร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2566

นิสิตปริญญาโทสันติศึกษา มจร เข้าห้องสมุดเพิ่มทักษะการเรียนรู้และวิจัย



วันที่ ๒๖  สิงหาคม ๒๕๖๖  พระปราโมทย์ วาทโกวิโท ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) และคณาจารย์นำพานิสิตหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท รุ่น ๑๐ รุ่น ๑๑  เข้าศึกษาเรียนรู้ส่วนหอสมุดกลางของ มจร  เพื่อเข้าใจวิธีการศึกษาอย่างเป็นระบบถือว่าเป็นห้องสมุดสร้างแรงบันดาลใจของชีวิต ณ ส่วนงานหอสมุดกลาง มจร   

ในสมัยเรียนปริญญาตรี วิชาหนึ่งที่นิสิต มจร จะต้องเรียนทุกรูปคือ " วิชาตรรกศาสตร์ " เป็นวิชาว่าด้วยศิลปะแห่งการนิยามความหมายและการใช้เหตุผล เพราะ "เหตุผลไม่จำเป็นจะต้องถูก แต่สิ่งที่ถูกจำเป็นต้องมีเหตุผล" ซึ่งสอนโดย ท่านอาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ ซึ่งอาจารย์ถือว่าเป็นนักปราชญ์ด้านพระพุทธศาสนา เป็นต้นแบบให้กับชาว มจร. ทุกรูป/ท่าน         

ประโยคที่สะท้อนให้เห็นว่าท่านอาจารย์ทำเพื่อคนอื่นและชาวมหาจุฬาอย่างประจักษ์ คือประโยคที่ว่า  " ขอมอบหนังสือที่ผมรักมากที่สุดในชีวิต ให้แก่มหาวิทยาลัยที่ผมรักมากที่สุด "  การมอบหนังสือให้ใครสักคนเหมือนกับการมอบแสงสว่างแห่งปัญญา ทุกครั้งที่มาห้องสมุดนี้ จะมีแรงบันดาลใจในการทำเพื่อคนอื่น และเป็นกำลังใจในการศึกษาต่อไป

โดยได้รับความเมตตาจากพระมหาประยุทธ์ ภูริปญฺโญ ผู้อำนวยการส่วนหอสมุดกลาง สำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ มจร และคณะ ซึ่งได้รับการมอบหมาย จากอาจารย์เจ้าคุณ พระศรีธรรมภาณี ดร. ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ มจร ในการปฏิบัติหน้าที่แทน โดยกล่าวประเด็นสำคัญว่า หลักสูตรสันติศึกษาระดับปริญญาโท มจร ถือว่าเป็นหลักสูตรแรกที่เข้ามาเรียนรู้ภายในห้องจำนงค์ ทองประเสริฐ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ ซึ่งหลวงพ่อสมเด็จวัดปากน้ำได้ให้การอุปถัมภ์ในการสร้างอาคารหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ มจร  โดยมุ่งให้ มจร เป็นวัดมหาวิทยาลัย เป็นสถานที่ศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูง สำหรับพระสงฆ์และบุคคลทั่วไป  ซึ่งอยากเป็นนักปราชญ์ให้อ่านหนังสือ ๒ เล่ม โดย มิลินทปัญญา และ ศรีธนนชัย  

จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้แนะนำการใช้งานห้องสมุด การสมัครสมาชิกก้องสมุด วิธีการศึกษาการสืบค้นข้อมูลและการค้นคว้า ศึกษางานวิจัยต้นแบบ เพื่อเป็นฐานให้นิสิตได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ผ่านการค้น การคว้า การคีย์ การคลุก การคิด และคมธรรมต่อไป  

           


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์

  การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...