วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2561
ปั้นเณรช่อสะอาดเป็นฐานชุมชนสะอาดทั่วไทย7หมื่นหมู่บ้าน
วันที่ 3 เม.ย.2561 พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ(IBSC) ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ผู้อำนวยการโครงการสามเณรช่อสะอาด บ้านท่าคอยนาง จ.ศรีสะเกษ เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊ก "Hansa Dhammahaso"ความว่า สามเณรช่อสะอาด: อะไร และอย่างไร
พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ" แปลว่า "ในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย ผู้ฝึกตนดีแล้ว เป็นผู้ประเสริฐที่สุด" ฉะนั้น เด็กยุวชนจะแปลงร่างเป็นสามเณรช่อสะอาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็เพราะการฝึก ยิ่งจะเป็นสามเณรช่อสะอาดด้วยแล้ว จำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องสะอาดทั้งกาย พฤติกรรม จิตใจ และปัญญา ด้วยเหตุนี้ กรอบแนวคิดหลักที่ใช้เป็นหลักสูตรพัฒนาสามเณรช่อสะอาด จึงประกอบด้วย 4 มิติ คือ มิติการพัฒนากาย มิติการพฤติกรรมสะอาด มิติการพัฒนาจิตใจ และมิติการพัฒนาปัญญา
หากจะถามว่า เป้าหมายหลักของการพัฒนาและฝึกอบรมสามเณร (Learning Outcome) นั้น คือสิ่งใด?!? คำตอบคือ ผลจากการพัฒนาตามหลักสูตรนั้น "เราต้องการสามเณรช่อสะอาด" ฉะนั้น สามเณรช่อสะอาดตามหลักสูตรจึงต้องเป็นสามเณรที่ยึดมั่นใจในความซื่อสัตย์สุจริต ไม่เกี่ยวข้องกับอบายมุข มีชิวิตที่สะอาด ทั้งกาย พฤติกรรม จิตใจ และปัญญา มีจิตสาธารณะ มุ่งมั่นในสันติวิถี และยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต
หลังจากสามเณรได้รับการพัฒนาและฝึกอบรมตลอดระยะเวลา 15 วัน เชื่อมั่นอย่างแรงกล้าว่า ชุมชนและสังคม จะได้ยุวชนรุ่นใหม่ ที่ถูกหล่อหลอมให้เกลียดและกลัวการทุจริต มีชีวิตที่ยึดมั่นใจสุจริตวัฒนธรรม น้อมนำศาสตร์พระราชาที่ว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต และมีจิตสาธารณะพร้อมช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ในชุมชนและสังคมตามสันติวิถีต่อไป ด้วยเหตุนี้ ความสะอาดในชุมชนและสังคม จึงเริ่มต้นจากสามเณรช่อสะอาดเหล่านี้ ที่จะเป็นพลังสำคัญในการเปลี่ยนแปลงชุมชนฐานรากกว่า 70,000 หมู่บ้านทั่วทั้งประเทศไทย
จากความสำคัญดังกล่าว จึงไม่มีเหตุผลอันใดที่ชุมชนและสังคมจะไม่ร่วมแรงแรงร่วมใจสนับสนุนการฝึกฝนและพัฒนายุวชนเหล่านี้ให้เป็นสามเณรช่อสะอาด เพื่อกลับออกมาเป็นยุวชนช่อสะอาดที่ทรงคุณค่าต่อการพัฒนาประเทศ เพราะในที่สุดแล้ว ชุมชนและสังคมก็จะตกอยู่ภายใต้เงื่อมมือของยุวชนเหล่านี้ ในขณะที่ยุวชนกำลังแปลงร่างสู่สามเณรช่อสะอาด ขอท่านได้โปรดชื่นชม กระตุ้น และให้แรงบันดาลใจด้วยวิถีอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อเป็นร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเสริมสร้างพลังยุวชนช่อสะอาดให้ประเทศไทยใสสะอาดต่อไปตราบนิจนิรันดร์
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
วิเคราะห์คาถาธรรมบท พราหมณวรรคที่ ๒๖
วิเคราะห์คาถาธรรมบท พราหมณวรรคที่ ๒๖ ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 17 ขุททกนิกาย ธรรมบท บทนำ คาถาธรรมบท พราหมณวรรคที่ ๒๖ ใน...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น