วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2561

พระติวเข้ม"CSR"!สู่การวิจัยความรับผิดชอบต่อสังคม



พระติวเข้ม"CSR"!สู่การวิจัยความรับผิดชอบต่อสังคม พบจริยธรรมส่วนบุคคลจะส่งผลต่อพฤติกรรมสากลคนทั้งโลก 



วันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๖๑ พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)เปิดเผยว่า  รวมประชุมสนทนากลุ่ม (Focus group Discussion) เพื่อเรียนรู้เป็นประสบการณ์ตรงในงานวิจัยระดับปริญญาเอก เรื่อง "การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา" ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้องประชุม ๔๐๙ ชั้น ๔ อาคาร ๑๐๐ ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ บัณฑิตวิทยาลัย ซึ่งเป็นการตกปลานอกหมู่บ้าน 




เพื่อเรียนรู้จากนักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ในมิติของงานวิจัยเพื่อสังคม ซึ่งแนวคิดของ CSR เริ่มจากการประชุมระดับโลก ที่กรุงริโอเดอจาเนโร ประเทศบราซิลในปี ๒๕๓๕ เป็นการกล่าวถึง "การพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development" โดยเป็นการเรียกร้องให้เกิดการพัฒนาที่เอาใจใส่ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นการเรียกร้องเพื่อกดดันองค์กรธุรกิจให้คำนึงถึงปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่คำนึงถึงแต่ผลกำไร โดยไม่ใส่ใจต่อปัญหาสังคม จึงเรียกว่า "Corporate Social Responsibility" เรียกย่อๆ ว่า "CSR" 

พระอาจารย์ปราโมทย์ กล่าวต่อว่า ทำให้ทราบจะต้องร่วมรับผิดชอบต่อสังคม เราไม่จำเป็นต้องเป็นมหาเศรษฐี นักการเมือง ผู้มีอำนาจ แต่เราสามารถเปลี่ยนแปลงสังคมได้จากที่เรายืนอยู่ เราอยู่ตรงไหนเรามีทัศนคติที่ดีต่อโลกต่อสังคม มีความรู้ที่ดี มีศักยภาพเราเปลี่ยนได้ทุกจุด แม้ว่าเราจะถูกหยิบไปวางไว้ตรงไหนของโลก เริ่มจากชุมชนของเรา เป็นความรับผิดชอบต่อสังคมซึ่งทำในแบบของเราในแบบบริบทของเรา แต่เราต้อง เอาชนะคำคน เอาชนะของสังขาร เอาชนะทั้งปณิธานของตนเอง ใครมีหัวใจนักสู้ไม่มีใครแพ้ ที่เเพ้เพราะเรายอมแพ้เอง หลักเศรษฐศาสตร์ของพระพุทธเจ้าเปลี่ยนแปลงชีวิตได้ ด้วยการขยันหา รักษาดี มีกัลยาณมิตร 

"สิ่งสำคัญที่สะท้อนสังคมคือ การทำเพื่อคนอื่นของตูน บอดี้แสลม พอลงมือทำมีคนเชื่อและคนแช่ง มีคนด่าและคนชม แต่สิ่งที่ตูนทำเป็นธรรมะ เราจะหาธรรมะข้อใดก็ได้จากสิ่งที่คุณตูนทำ สมาธิ ปัญญา วิริยะ ระหว่างทางผู้ชายคนนี้หว่านโปรยความสุข ถือว่าเป็นการปฏิบัติธรรมให้เห็น และสร้างรับผิดชอบสังคมจำนวน ๑,๒๐๐ ล้าน จึงถามว่าในฐานะเราเป็นพระสงฆ์หรือคนในสังคมเราจะรับผิดชอบทางสังคมอย่างไร เพราะพื้นฐานของสังคมไทยเป็นพื้นฐานแห่งการให้และแบ่งปัน ซึ่งจริงๆแล้วสิ่งที่สถานศึกษากระทำล้วนแต่เป็น CSR ถ้าเราถอดรหัสและบูรณาการ"พระอาจารย์ปราโมทย์ กล่าวและว่า



สิ่งที่เรียนรู้นิสิตขาดการเชื่อมโยงของงานและบูรณาการสู่การปฏิบัติ ประเด็นจะต้องชัดเจน คำว่า การบริหารสถานศึกษาด้วยการรับผิดชอบต่อสังคมที่แท้จริงคืออะไร? จะต้องมีความชัดเจนจนสามารถนำไปสู่รูปแบบของ CSR และรูปแบบที่สถานศึกษาปฏิบัติมาแล้ว เราต้องศึกษารูปแบบจริงๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์เป็นประเด็นหัวใจคือ สร้างเครื่องมือให้เหมาะสมกับงานวิจัยที่เราทำ

..........


(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก Pramote OD Pantapat)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"เสริมดวงรับปีใหม่ 2567: เหรียญมงคลหลวงปู่ดุสิต วัดไผ่แขก"

รายงานข่าวจาก วัดไผ่แขก อ.เมืองสุพรรบุรี แจ้งว่าเมื่อวันศุกร์ ที่ 15 พฤศจิกายน 2567ผ่านมา ทางวัดโดยทีมงานพี่เสือนำโดยป้อม สกลนคร และ นิภัทร์...