วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

สิ้นหลวงพ่อชาญบางบ่อเกจิ104ปี!ปิดตำนานของขลังตระกูลเสือ



เมื่อเวลา 7.03 น.วันที่ 10 ก.ค.2561 พระมงคลวรากร (ชาญ อิณมุตฺโต) เจ้าอาวาสวัดบางบ่อ  อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ อายุ 104 ปี  ละสังขารแล้ว 

พระมงคลวรากร นามเดิมชื่อ ชาญ รอดทอง เกิดวันที่ 3 เมษายน พ.ศ.2457 ที่ตำบลเกาะไร่ อำเภอบางโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา เรียนจบชั้น ป.5 จากโรงเรียนอภัยพิทยาคาร ( วัดแก้วพิจิตร) จังหวัดปราจีนบุรี กลับมาช่วยบิดามารดาทำนากระทั่งอายุครบบวชได้อุปสมบทที่วัดคลองสวน ตำบลเกาะไร่ อำเภอบ้านโพธิ์ที่เป็นบ้านเกิด และไปจำพรรษาที่วัดนิยมยาตรา อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบางบ่อ เมื่อ พ.ศ. 2510 และได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อ พ.ศ. 2511 และได้เป็นเจ้าคณะอำเภอบางบ่อเมื่อ พ.ศ. 2513 ถึง พ.ศ. 2541 เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอบางบ่อ 

ผลงานที่ได้ปฏิบัติตั้งแต่เป็นเจ้าอาวาสวัดบางบ่อ กระทั่งถึงปัจจุบันส่วนใหญ่ คือ เป็นพระอุปัชฌาย์ บวชพระเณรเป็นจำนวนมาก นับได้มากกว่า 5,000 รูป เนื่องจากท่านเป็นผู้มีคุณธรรมและปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย มีอัธยาศัยดีต่อทุกคนเสมอเหมือนกัน จึงเป็นที่นับถือ และเลื่อมใสศรัทธาแก่ประชาชนทั่วไปจะเห็นได้จากการบวชพระตามวัดต่างๆ ถึงแม้ว่าวัดนั้นจะมีพระอุปัชฌาย์อยู่แล้วผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาต่อท่านยังได้นิมนต์ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ให้ 

นอกจากนั้นยังได้ปฏิบัติศาสนกิจอื่นๆได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์เช่นการพัฒนาวัด อุดหนุนให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่ขาดแคลนรับกิจนิมนต์โดยไม่ปฏิเสธหากมีเวลา ปี พ.ศ. 2548 เป็นพระครูชั้นพิเศษ ปี พ.ศ.2556 ไดัรับพระราชทานดำรงตำแหน่งพระราชาคณะนามพระมงคลวรากร  

หลวงพ่อชาญเป็นพระเถระที่มีแต่ความเย็น ใครได้เข้าใกล้ท่านแล้วจะเกิดแต่ความร่มเย็น โดยปกติแล้วท่านเป็นพระที่มีความสงบเยือกเย็นกิริยามารยาทนุ่มนวล มีความสันโดษสมถะ เคร่งครัดในพระธรรมวินัยของสงฆ์ให้ความเมตตาแก่พระลูกวัด ตลอดถึงญาติโยมที่ไปหาที่วัดด้วยความเป็นกันเอง ผู้ที่ได้พบเห็นท่านแล้วก็จะเกิดความศรัทธาเลื่อมใส แม้ว่าวัยจะล่วงเลยมามากว่า 100 ปี แต่หลวงพ่อยังเมตตารับกิจนิมนต์ไปนั่งปรกปลุกเสกวัตถุมงคลให้วัดต่างๆ อย่างไม่ขาด  

เครื่องรางของขลังที่มีชื่อเสียงคือเสือหลวงพ่อชาญวัดบางบ่อ นับเป็นเครื่องรางของขลังประเภทมหาอำนาจคงจะเรียกได้ว่า "เสือ" เป็นเครื่องรางที่หนึ่งตลอดกาล ดังจะเห็นได้จาก "เขี้ยวเสือแกะหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย" เป็นต้น

หลวงพ่อชาญ วัดบางบ่อ ท่านสืบสายวิชามาจากหลวงพ่อปานเต็มๆ ถึงแม้ว่าหลวงพ่อท่านจะเกิดไม่ทันหลวงพ่อปานก็ตาม แต่หลวงพ่อไผ่อดีตเจ้าอาวาสวัดบางบ่อรูปก่อน ท่านได้เรียนวิชามาจากหลวงพ่อปานแน่นอน ดังนั้นหลวงพ่อชาญท่านได้สืบทอดวิชามาจากหลวงพ่อไผ่เต็มๆ และยังมีอาจารย์อีกหลายรูปที่หลวงพ่อชาญท่านได้เรียนวิชามาเช่น หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก หลวงพ่อคำ วัดนิยมยาตรา และหลวงพ่อไผ่ วัดบางบ่อ เกจิที่กล่าวมาข้างต้นล้วนแล้วเป็นศิษย์หลวงพ่อปานทั้งสิ้น 

การสร้างเครื่องรางของหลวงพ่อชาญ วัดบางบ่อ เริ่มอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2530  เป็นเครื่องรางประเภทเสือหล่อโลหะเนื้อทองผสม เรียกชื่อรุ่นว่า "รุ่นสร้างเขื่อน" ขนาดห้อยคอ ปัจจุบันพบเห็นน้อยมาก จากนั้นก็จัดสร้างรูปภาพที่มีตะกรุดดอกเล็กปิดอยู่ด้านหลัง และก็ตะกรุดสามกษัตริย์ ตะกรุดโทน เป็นต้น และเมื่อปี 2549 ท่านได้อนุญาตให้จัดสร้างเสือไม้แกะอย่างเป็นทางการครั้งแรก (ต้นปี 2549 ก็มีการแกะไม้พยุงออกมาแต่ก็ไม่ถือเป็นวาระ ศิลปะสวยงามพบเห็นน้อย)

............
(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก http://www.komchadluek.net/news/lifestyle/177711)




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เพลง: โอวาทธรรม

  ເນື້ອເພງ : ດຣສົມພົງສ໌ ທຳນອງ - ຮ້ອງໂດຍ : suno   คลิกฟังเพลงที่นี่ (Verse 1) แสงแห่งธรรม ส่องทางกลางใจ โอวาทปาฏิโมกข์ นำชัย สอนเราให้ทำความด...